ชื่ออื่น ๆ : นีโซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),ไอยู่มั้ว (จีน)
ชื่อสามัญ : Sesame
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesamum indicum Linn.
วงศ์ : PEDALIACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นจะตั้งตรงถึงยอด และมีความสูงประมาณ 3 - 4 ฟุต
ใบ : ลักษณะของใบคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีสีเขียวและมีขนปกคลุมอยู่เล็กน้อย
ดอก : ออกดอกเดี่ยว มีสีขาวอมม่วง จะแตกดอกออกรอบ ๆ ลำต้นแล้วก็บิดมาอยู่ในแนวเดียวกัน ด้านหนึ่ง ดอกงามน่าดูมาก
ผล : ลักษณะของผลงาคล้ายกับผลโคโก้ ซึ่งมีขนาดโตเท่ากับนิ้วก้อย และเมื่อผลแก่เราจะถอนต้น ออกมาตากแห้ง ผลก็จะแตกเมล็ดที่อยู่ภายในผลมีจำนวนมาก
ประโยชน์ของงา
งาเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 และไบโอติน โคลีน ไอโนสิตอล กรดพาราอะมิโนแบนโซอิค ซึ่งจะช่วยบำรุงประสาทให้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ในงายังมีกรดไขมันไลโนลีอิกอยู่มากและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต รวมถึงความสามารถในการเก็บความชุ่มชื้นของผิวหนัง
ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเกิดจากระบบประสาท เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา ปวดเส้นตามตัว แขน ขา เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือเมื่อยสายตา ควรหันมารับประทานงาเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วงายังเป็นอาหารต้านมะเร็งและช่วยชะลอความแก่อีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า งามีแคลเซียมมากกว่าพืชผักชนิดอื่นถึง 20 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักอื่น ๆ 20 เท่า ซึ่งธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นแร่ธาตุที่สำคัญมาก ๆ ในการเสริมสร้างกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงรากผม ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดบางชนิด
ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเกิดจากระบบประสาท เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา ปวดเส้นตามตัว แขน ขา เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือเมื่อยสายตา ควรหันมารับประทานงาเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วงายังเป็นอาหารต้านมะเร็งและช่วยชะลอความแก่อีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า งามีแคลเซียมมากกว่าพืชผักชนิดอื่นถึง 20 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักอื่น ๆ 20 เท่า ซึ่งธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นแร่ธาตุที่สำคัญมาก ๆ ในการเสริมสร้างกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงรากผม ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดบางชนิด
สรรพคุณทางยา
หากปัสสาวะ อุจจาระขัด ใช้เมล็ดงา 20-25 กรัม แช่ในน้ำเดือด หรือต้มรับประทานขณะท้องว่าง
ถ้าความดันโลหิตสูงให้ใช้ เมล็ดงา น้ำส้ม ซีอิ๊วและน้ำผึ้งอย่างละ 30 กรัม ผสมกับไข่ขาว 1 ฟอง คนให้เข้ากันแล้วต้มด้วยไฟอ่อน ๆ จนสุก รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นประจำ
ถ้าไอแห้ง ไม่มีเสมหะ ให้นำเมล็ดงา 250 กรัม น้ำตาลทรายแดง 50 กรัม บดรวมกันรับประทานครั้งละ 15-20 กรัม จากนั้นนำผงที่ได้เติมน้ำเดือดไว้สัก 2-3 นาที ดื่มขณะยังอุ่น ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
หากต้องการกระตุ้นการงอกของเส้นผมก็สามารถใช้น้ำมันงา โดยไปเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตรอบ ๆ รูขุมขนบนหนังศีรษะ เพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงผิวพรรณ และต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเส้นผม ป้องกันการแก่ตัวและยืดอายุเซลล์ผิวหนังอีกด้วย
และใช้น้ำมันงา ดิบนวดตัวในตอนเช้าก่อนอาบน้ำ ช่วยปรับระบบประสาทและระดับฮอร์โมนให้ เข้าสู่สภาวะสมดุล ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายความตึงเครียด ขจัดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก ทำให้กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวย่น ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ เนื่องจากน้ำมันงาดิบสามารถซึมผ่านผนังได้ทุกชั้น.
และใช้น้ำมันงา ดิบนวดตัวในตอนเช้าก่อนอาบน้ำ ช่วยปรับระบบประสาทและระดับฮอร์โมนให้ เข้าสู่สภาวะสมดุล ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายความตึงเครียด ขจัดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก ทำให้กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวย่น ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ เนื่องจากน้ำมันงาดิบสามารถซึมผ่านผนังได้ทุกชั้น.