วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การรักษาโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ รองช้ำ เจ็บส้นเท้า เพราะยืนนานเดินนาน

 

    โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) คือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้หญิง หรือผู้ที่มี น้ำหนักมาก ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย 

     ใครที่เสี่ยง…โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คนสูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง คนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น คนที่มีอาชีพยืนหรือเดินมาก ทำให้พังผืดผ่าเท้าตึงเครียด คนที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบนผิดปกติก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ 

     วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ 
     1. การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบการลดการเดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) 

     2. การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี 

     3. การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์ 

     4. การบริหาร การบริหารอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด การบริหาร เพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย ยืนหันหน้าเข้าข้างฝาผนัง แล้วยืนดันมือกับผนัง ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้นย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 20-30 วินาที ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อวันหรืออาจจะนั่งกับพื้นราบแล้วใช้ผ้าเช็ดตัวช่วยดึงปลายเท้าก็ได้ การบริหาร เพื่อยืดพังผืดฝ่าเท้า 

      การยืดพังผืดฝ่าเท้าทำได้โดยการนั่งไขว่ห้าง แล้วใช้มือดัดฝ่าเท้าขึ้นสุด จนรู้สึกดึงที่เอ็นฝ่าเท้า แล้วใช้นิ้วโป้งมืออีกข้างกดนวดตลอดแนวพังผืดผ่าเท้า นวดขึ้น-ลง หรือนวดเป็นวงกลม ให้นวดนานประมาณ 2-3 นาที ต่อครั้ง นวด 3-5 ครั้งต่อวัน หากมีอาการปวดให้ประคบน้ำแข็งหลังนวด 

     5.  การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสม ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี และการใส่เฝือกอ่อนจะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท่า อาจเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรกได้ดี 

     6.การรักษาด้วยความถื่ (Shockwave) เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้าให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตัวเอง ได้ผลการรักษาใกล้เคียงการผ่าตัด แต่เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การผ่าตัด
      หากรับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการไม่หายขาด จึงมีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนและนำหินปูที่เกาะพังผืดออก การฉีดยาลดอาการอักเสบ ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์เข้าบริเวณส้นเท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาดซึ่งยากต่อการรักษามาก 

     ระวัง!! ในบางกรณี การบาดเจ็บส้นเท้าอาจไม่ได้เกิดจากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียวบาง ครั้งการบาดเจ็บส้นเท้า อาจไม่ได้เกิดจากโรคพังผืดฝ่าเท้าอักเสบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากทำการบริหารแล้วยังมีอาการเจ็บอีก ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และประมาณ 90 % ของผู้ป่วยส่วนพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ มักจะดีขึ้นหลังจาก 2 เดือน หลังการรักษาที่เหมาะสม

ที่มา:  ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

การรักษาโรคเก๊าต์ด้วยการแพทย์แผนไทย

     


       โรคเก๊าท์ คือ โรคที่เกิดจากการที่ไตไม่สามารถขับกรดยูริคออกมาทางปัสสาวะได้ดีพอ จึงมีกรดยูริคตกค้างอยู่ในเลือดสูงและเกิดการตกผลึกเรียกว่า “ผลึกยูเรท”  โดยผลึกยูเรทนี้จะไปฝังตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า และบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบก็จะมีอาการปวดบวมแดงร้อน
 

         กรดยูริคเกิดจากร่างกายผลิตขึ้นเองประมาณร้อยละ 90 อีกประมาณร้อยละ 10 เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารเพียวรินสูง โดยอาหารที่มีสารเพียวรินสูงอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้น สำหรับอาหารที่มีสารเพียวรินสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีก แมลงทุกชนิด ของหมักดอง ขนมจีน ผลไม้ดอง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ยอดผักต่าง ๆ เช่น ชะอม หน่อไม้ ยอดมะพร้าว ยอดหวาย เป็นต้น
 

         โรคเก๊าท์ในทัศนะแพทย์แผนไทย เกิดจากการที่ไตเสื่อมสภาพไม่สามารถ ทำหน้าที่ตามปกติ ตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย เมื่อเริ่มเข้าสู่ปัจฉิมวัย (อายุ 32 ปี ขึ้นไป) ร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมลง (รวมถึงไตด้วย) ส่วนจะเสื่อมช้าหรือเสื่อมเร็วมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยและวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
 

สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็ว
       1. การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร ไตจะเสียพลังมากและอ่อนแอลงเร็วกว่าปกติ
       2. ทำงานหนักเกินกำลังเป็นประจำ เช่น ยกของหนัก นั่งขับรถนาน ๆ ใช้สมองครุ่นคิดเรื่องต่าง ๆ หนักมากเกินไป (เครียด)
          3. พักผ่อนน้อยไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูร่างกาย ถึงเวลานอนไม่ได้นอน ถึงเวลากินไม่ได้กิน
          4. เคยประสบอุบัติเหตุกระทบกระแทกและเกิดบาดเจ็บบริเวณไต
          5. มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมี ในการรักษาโรคยาวนาน เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดน้ำตาลในเลือด ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ เป็นต้น
          6. รับประทานอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนเป็นประจำ เช่น ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในพืชผักผลไม้ ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลิน สารโซเดียมที่ผสมอยู่ใน ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส ผงฟู อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสี กลิ่น และรสสังเคราะห์ เป็นต้น
         7. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นประจำ
         8. กรรมพันธุ์
 

     การจะรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาด จึงจำเป็นต้องทำการฟื้นฟูไต ให้กลับมาแข็งแรง และมีสมรรถภาพในการขับกรดยูริคได้ดีเหมือนเดิม การแพทย์แผนไทยมีกระบวนการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้
          1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุทำให้ไตเสื่อม
          2. ใช้ตำหรับยาสมุนไพรในการถ่ายเส้นถ่ายพิษในกระดูก (ยารุ)
          3. ใช้การประคบ อบ แช่ หรือพอกด้วยสมุนไพรบริเวณข้อเพื่อบรรเทาอาการปวด (ยาล้อม)
          4. ใช้ตำหรับยาสมุนไพรทีมีสรรพคุณในการขับกรดยูริคออกจากร่างกายควบคุมกรดยูริคในเลือดให้เป็นปกติ (ยารักษา)
           5. ใช้ตำหรับยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงไตเพื่อช่วยฟื้นฟูไตให้คืนสภาพปกติ (ยาตัดราก)
 

        ขณะทำการรักษาเมื่อไตเริ่มฟื้นฟูและเริ่มมีกำลังขึ้นมาก็จะทำการขับกรดยูริคที่สะสมอยู่ตามข้อต่อต่าง ๆ ออกจากร่างกาย ระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการเจ็บปวดตามข้อขึ้นมาเหมือนโรคกำลังกำเริบ ช่วงนี้ต้องอดทนเอาหน่อย อาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเป็นอยู่ประมาณไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ เมื่อกรดยูริคตามข้อลดลงจนเป็นปกติ โรคก็หายขาดได้ และเมื่อหายแล้วก็สามารถรับประทานอาหารได้ทุกประเภท แต่ก็ต้องบำรุงรักษาไตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นโรคเก๊าท์ก็อาจจะกลับมาเยือนอีกได้

ที่มา: วัลลภ เผ่าพนัส
แพทย์แผนไทย บ.ภ. พท.ว. พท.น.
ประธานสมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา