วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่

รูปภาพ : - หัวปลี ยำปลีกุ้งสด ยำปลีปลากระป๋อง ปลาช่อนยำปลี ทอดมันปลีกล้วย ห่อหมกปลีกล้วย แกงเลียงปลีปลาช่อนใส่ใบแมงลักและใบตำลึง แกงไก่ใส่ปลี ( แต่อย่าทานบ่อยนะคะ เพราะอาหารรสฝาดจะทำให้เด็กท้องผูกได้ค่ะ)

- ดอกแค ใช้ทำดอกแคชุบไข่ทอด ดอกแคชุบแป้งทอด แกงส้มดอกแค แกงส้มใส่ปลา หรือกินลวกจิ้มน้ำพริกคู่กับขมิ้นขาวและใบมะรุมอ่อน หรือยำดอกแคปลาหมึกกุ้งสด (ลวกยำหรือชุบแป้งทอดยำก็ได้ค่ะ)
 
- ฟักทอง ผัดฟักทองใส่ไข่ใส่หมู แกงเลียงฟักทอง ฟักทองนึ่งกินกับน้ำพริก บวดฟักทอง

- กะเพรา ผัดกะเพราหมู-ไก่-กุ้ง-ปลาหมึก ผัดกะเพราตับ กะเพราทอดกินปลาสามรส ทูน่า-แซลมอนผัดกะเพรา

-ขิง น้ำขิง ขิงผัดไก่-หมู ไข่หวานต้มน้ำขิง เต้าฮวยน้ำขิง ยำขิงไข่เค็ม

- ขมิ้นขาว ฝานบาง ๆ ทานสดจิ้มน้ำพริก(น้ำนมมาเยอะจริงๆค่ะ) หรือใส่ในยำ เช่น ยำไข่เค็ม ยำปลาดุกฟู แกงพะแนงหมู  

- กุยช่าย ใบและต้นสดใส่ในแกงเลียง ใช้ทั้งต้น ทำผัดผัก กุยช่ายผัดไข่ กุยช่ายผัดตับ กุยช่ายผัดเห็ด กุยช่ายผัดหมู กุยช่ายผัดไข่เค็ม ขนมกุยช่าย(นึ่งหรือทอด)

- มะละกอ รับประทานเป็นผลไม้ หรือใส่ในแกงส้ม  แกงส้มมะละกอปลา แกงจืดมะละกอหมูบะช่อ มะละกอผัดไข่ มะละกอสุก แกงอ่อมมะละกอใส่ผักชีลาว(ไก่) ส่วนรากใช้ต้มน้ำดื่มบำรุงน้ำนม

- ใบแปะตำปึง (ชื่ออื่น จินจิเหมาเยี่ย ผักพันปี ผักกระชับ Cockblur) ผัดน้ำมันหอย ใส่แกงเลียง ทานสดกับน้ำพริก ( ทานกับขมิ้น ใบมะรุมอ่อน ฟักทอง ดอกแค ถั่วพู ล้วนแต่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้ค่ะ) ทานสดๆ กับลาบ ส้มตำ หลน สาคูใส้หมูหรือเมี่ยง

- พริกไทย จะเป็นพริกไทยอ่อนผัดกับหมู ตับ ไก่ หรือกุ้งแล้วแต่ชอบ หรือเป็นพริกไทยผงแบบขวดๆใส่กับต้มเลือดหมูก็ได้ค่ะ

- เม็ดขนุนต้ม 

- ใบมะลิอ่อนสด 10-15 ใบต้มน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นน้ำชาใบมะลิ หรือจะใช้ชงน้ำขิงสำหรับดื่ม คุณแม่บางท่านเอาไปต้มเป็นแกงจืดทานก็หอมอร่อยดีค่ะ
 
- กานพลู ดอกตูมแห้ง 5-8 ดอก ชงน้ำเดือดสำหรับดื่มเฉพาะ หรือใช้เคี้ยว

- เขยตาย ใช้รากต้มน้ำดื่ม

- ชบาดอกแดง ใช้ดอกสด 10-15 ดอกใส่แกงเลียงรับประทานติดต่อกัน 5-6 มื้อ
 
- ไทรย้อยใบแหลม ใช้รากนำมาทำเป็นยาบำรุงน้ำนม
 
- นมวัว (สมุนไพร) ใช้รากต้มน้ำดื่ม

- นมนาง  ใช้เปลือกหรือราก ต้มน้ำดื่ม

- น้ำนมราชสีห์ ใช้ต้นสด 1 กำมือต้มน้ำดื่ม

- ผักกาดหอม ใช้เมล็ดตากแห้ง 5 กรัมชงน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น

- ผักโขมหนาม ใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำ 3 ถ้วยให้เหลือ 1 1/2 ถ้วย ดื่มเช้า-เย็น

- ผักชีลาว  ส่วนใบทำให้มีน้ำนมมาก ทานคู่กับลาบ-          ผักเป็ดแดง ใช้ทั้งต้น รับประทานเป็นผัก ช่วยขับน้ำนม

- มะรุม ใบอ่อนมีสรรพคุณในการขับน้ำนม

ข้อมูลจากแม่น้องแตงโม
ขอบคุณรูปจากพันทิบค่ะ

www.facebook.com/happybreastfeeding

อัลบัม บำรุงคุณแม่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.232993926840649.1073741828.212081905598518&type=1



- หัวปลี ยำปลีกุ้งสด ยำปลีปลากระป๋อง ปลาช่อนยำปลี ทอดมันปลีกล้วย ห่อหมกปลีกล้วย แกงเลียงปลีปลาช่อนใส่ใบแมงลักและใบตำลึง แกงไก่ใส่ปลี ( แต่อย่าทานบ่อยนะคะ เพราะอาหารรสฝาดจะทำให้เด็กท้องผูกได้ค่ะ)

- ดอกแค ใช้ทำดอกแคชุบไข่ทอด ดอกแคชุบแป้งทอด แกง ส้มดอกแค แกงส้มใส่ปลา หรือกินลวกจิ้มน้ำพริกคู่กับขมิ้นขาวและใบมะรุมอ่อน หรือยำดอกแคปลาหมึกกุ้งสด (ลวกยำหรือชุบแป้งทอดยำก็ได้ค่ะ)

- ฟักทอง ผัดฟักทองใส่ไข่ใส่หมู แกงเลียงฟักทอง ฟักทองนึ่งกินกับน้ำพริก บวดฟักทอง

- กะเพรา ผัดกะเพราหมู-ไก่-กุ้ง-ปลาหมึก ผัดกะเพราตับ กะเพราทอดกินปลาสามรส ทูน่า-แซลมอนผัดกะเพรา

-ขิง น้ำขิง ขิงผัดไก่-หมู ไข่หวานต้มน้ำขิง เต้าฮวยน้ำขิง ยำขิงไข่เค็ม

- ขมิ้นขาว ฝานบาง ๆ ทานสดจิ้มน้ำพริก(น้ำนมมาเยอะจริงๆค่ะ) หรือใส่ในยำ เช่น ยำไข่เค็ม ยำปลาดุกฟู แกงพะแนงหมู

- กุยช่าย ใบและต้นสดใส่ในแกงเลียง ใช้ทั้งต้น ทำผัดผัก กุยช่ายผัดไข่ กุยช่ายผัดตับ กุยช่ายผัดเห็ด กุยช่ายผัดหมู กุยช่ายผัดไข่เค็ม ขนมกุยช่าย(นึ่งหรือทอด)

- มะละกอ รับประทานเป็นผลไม้ หรือใส่ในแกงส้ม แกงส้มมะละกอปลา แกงจืดมะละกอหมูบะช่อ มะละกอผัดไข่ มะละกอสุก แกงอ่อมมะละกอใส่ผักชีลาว(ไก่) ส่วนรากใช้ต้มน้ำดื่มบำรุงน้ำนม

- ใบแปะตำปึง (ชื่ออื่น จินจิเหมาเยี่ย ผักพันปี ผักกระชับ Cockblur) ผัดน้ำมันหอย ใส่แกงเลียง ทานสดกับน้ำพริก ( ทานกับขมิ้น ใบมะรุมอ่อน ฟักทอง ดอกแค ถั่วพู ล้วนแต่ช่วยเพิ่มน้ำนมได้ค่ะ) ทานสดๆ กับลาบ ส้มตำ หลน สาคูใส้หมูหรือเมี่ยง

- พริกไทย จะเป็นพริกไทยอ่อนผัดกับหมู ตับ ไก่ หรือกุ้งแล้วแต่ชอบ หรือเป็นพริกไทยผงแบบขวดๆใส่กับต้มเลือดหมูก็ได้ค่ะ

- เม็ดขนุนต้ม

- ใบมะลิอ่อนสด 10-15 ใบต้มน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นน้ำชาใบมะลิ หรือจะใช้ชงน้ำขิงสำหรับดื่ม คุณแม่บางท่านเอาไปต้มเป็นแกงจืดทานก็หอมอร่อยดีค่ะ

- กานพลู ดอกตูมแห้ง 5-8 ดอก ชงน้ำเดือดสำหรับดื่มเฉพาะ หรือใช้เคี้ยว

- เขยตาย ใช้รากต้มน้ำดื่ม

- ชบาดอกแดง ใช้ดอกสด 10-15 ดอกใส่แกงเลียงรับประทานติดต่อกัน 5-6 มื้อ

- ไทรย้อยใบแหลม ใช้รากนำมาทำเป็นยาบำรุงน้ำนม

- นมวัว (สมุนไพร) ใช้รากต้มน้ำดื่ม

- นมนาง ใช้เปลือกหรือราก ต้มน้ำดื่ม

- น้ำนมราชสีห์ ใช้ต้นสด 1 กำมือต้มน้ำดื่ม

- ผักกาดหอม ใช้เมล็ดตากแห้ง 5 กรัมชงน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น

- ผักโขมหนาม ใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำ 3 ถ้วยให้เหลือ 1 1/2 ถ้วย ดื่มเช้า-เย็น

- ผักชีลาว ส่วนใบทำให้มีน้ำนมมาก ทานคู่กับลาบ- ผักเป็ดแดง ใช้ทั้งต้น รับประทานเป็นผัก ช่วยขับน้ำนม

- มะรุม ใบอ่อนมีสรรพคุณในการขับน้ำนม

ข้อมูลจากแม่น้องแตงโม
ขอบคุณรูปจากพันทิบค่ะ



ที่มา: นมแม่ แบบแฮปปี้ (https://www.facebook.com/HappyBreastfeeding)

ตารางอึ



ตารางอึ รวบรวมภาพโดย Mrs. Tan


- รูปแรก "ขี้เทา" สีดำๆ ไม่ต้องตกใจ
         เราจะเห็นอึแบบนี้ช่วง 1-2 วันหลังคลอดค่ะ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาๆ เขียวๆ จนกลายเป็นสีเหลืองนะคะ



- ถัดมา "อึนมแม่" มีลักษณะนิ่มๆ เละๆ
         สีสรรเหลืองอ่อนไปจนเหลืองเข้ม บางครั้งเขียวๆ ได้ถ้าแม่ทานสาหร่าย ผักเขียวหรือวิตามิน
บางคนอึเหลวมาก อึเป็นน้ำจนก้นแดง เนื่องจากลูกดูดได้แต่นมส่วนหน้าเพราะเราเปลี่ยนข้างเร็วเกินไป แก้ไขได้ด้วยการให้ดูดเต้าละนานขึ้น อึจะข้นขึ้นเองค่ะ (ก้นแดงให้ทาบีแพนเทน วาสลีน ไม่ควรทาแป้งที่ก้นนะคะ)
         ถ้านมแม่เยอะมาก ดูดเต้าเดียวยังถ่ายบ่อย ก็สามารถปั๊มนมส่วนหน้ามาเก็บไว้ทานทีหลังได้ (อ่านต่อที่อึอาหารเสริม)
         ช่วง 1 เดือนขึ้นไป เด็กทานนมแม่ล้วนไม่จำเป็นต้องอึทุกวันค่ะ
อึนมแม่ อาจจะนิ่มๆ เหลวๆ หรือข้นๆ มีเม็ดเหมือนมะเขือ ไม่ผิดปกติค่ะ กลิ่นจะไม่รุนแรง

- ถัดมา "อึนมผสม" จะข้นและมีปริมาณมากขึ้น กลิ่นตุ่ยมากกว่าอึนมแม่ เพราะสารสังเคราะห์ในนมผสมถูกดูดซึมไปใช้ไม่หมด จึงเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ได้ กลิ่นจึงแรงกว่า
         ถ้าทานนมผสมควบคู่นมแม่ บางครั้งไม่อึอาจเป็นเพราะ
             1) นมแม่ดูดซึมได้ดี อึออกมาจะนิ่มค่ะ
             2) ท้องผูก อึไม่ออกจริงๆ งอแง ควรปรึกษาคุณหมอและพิจารณาเปลี่ยนนมหรือกู้น้ำนมให้ทานนมแม่ได้ก็ดีค่ะ

- "อึอาหารเสริม" ถ้าทานนมแม่+อาหารเสริม อึจะข้นและเหนียวขึ้นค่ะ
         บางคนเริ่มอาหารเสริมแล้วอึไม่ออก ให้ทาน"นมส่วนหน้า"ที่เคยเก็บไว้ รับรองว่าวันนั้นได้เห็นอึแน่นอนค่ะ
         ลด/งด พืชหัวๆ เช่นแครอท ฟักทอง มัน เพราะอึจะหนืดมาก
ให้ทานผักใบๆ ผลไม้กากนิ่มเช่นแก้วมังกร มะละกอ เนื้อลูกพรุน(แช่น้ำร้อนให้นิ่ม)
ส่วนมากทานอะไรก็จะออกมาแบบนั้นค่ะ กว่าระบบลำไส้ของน้องจะปรับตัวและดูดซึมได้มากขึ้นก็อีกหลายเดือน
         นี่เป็นสาเหตุทำไมป้อนอาหารเสริมเร็ว เด็กตัวอ้วน (ได้แป้ง) แต่กลับซีด ก็เพราะว่าเค้ายังไม่พร้อมที่จะดูดซึมอาหารที่ไม่ใช่นมแม่ ควรรอ 6 เดือนค่อยเริ่มป้อนนะคะ :)

- "ท้องผูก" อึแข็งเป็นเม็ดๆ เป็นกระสุน/ขี้กระต่าย
         ถ้าทานนมแม่ล้วนจะไม่มีแบบนี้ค่ะ ส่วนมากเด็กจะท้องผูกช่วงที่ทานนมผสมล้วน หรืออาหารเสริมมากขึ้นและไม่ได้รับกากใยเพียงพอ
              1) ถ้าทานนมผสมล้วน ตรวจสอบว่าชงข้นเกินไปหรือเปล่า ถ้าชงตามสูตรแล้วยังท้องผูกก็ลองเปลี่ยนนมดูนะคะ (หรือทานนมแม่ ถ้าอยากกู้น้ำนมก็ทำได้ค่ะ)
              2) ทานอาหารเสริมแล้วไม่ถ่าย ให้เพิ่มผักใบๆ ให้จิบน้ำบ่อยขึ้น (6เดือน+)

- "อึมีมูก" มักมีกลิ่นเปรี้ยวๆ
         ทดสอบว่ามี "มูก" ด้วยการประกบผ้าอ้อมค่ะ ถ้าตอนแยกออกเห็นสสารที่ยืดได้ นั่นคือมูก
ถ้าอึแบบนี้ ถามตนเองก่อนเลยว่า ตอนท้องทานกลุ่มเสี่ยงอะไรมากๆ (นมวัว นมถั่ว ไข่ แป้งสาลี อาหารทะเล) และทุกวันนี้ยังทานอยู่ไหม?
         ถ้าตอบว่า "ยังทานอยู่" ให้คุณแม่งดกลุ่มเสี่ยงได้เลยค่ะ เพราะอึเป็นมูกเป็นสัญญาณของภูมิแพ้นะคะ รออีก 2-3 เดือนค่อยลองทานทีละอย่าง ถ้ามีมูกอีก แสดงว่ายังแพ้อยู่
ส่วนมากงดกลุ่มเสี่ยงครบๆ อึมูกๆ จะหายไป
         (อาการอื่นของภูมิแพ้คือ ผื่น ครืดคราด ไอ กรน มีน้ำมูกใส ท้องอืด งอแงถีบขา ถ้างดกลุ่มเสี่ยงอาการก็จะดีขึ้น)

- สุดท้าย "อึมีมูกเลือด"
อาจมีกลิ่นเปรี้ยวหรือคาว เกิดจากการอักเสบในลำไส้ค่ะ สาเหตุของการอักเสบได้แก่
      1) แบคทีเรีย ให้นำอึของลูกไปตรวจ ตักใส่กระปุกเล็กๆ ปิดฝาและแช่ตู้เย็นได้ 24 ชม.หรือจะไปรออึที่รพ. (จะอึไหม) ก็ต้องรอค่ะ ผลตรวจจะพบว่ามีเม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) และพบแบคทีเรียบางชนิด
 

     2) แพ้โปรตีนกลุ่มเสี่ยง โปรตีนที่ไม่ใช่โปรตีนนมแม่มีโมเลกุลใหญ่
         ร่างกายของลูกจะมองว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมค่ะ
         ให้ตรวจอึเหมือนกัน ผลตรวจจะพบว่ามีเม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) แต่ไม่พบแบคทีเรียค่ะ เพราะเค้าแพ้โปรตีนผ่านนมแม่ หรือโปรตีนกลุ่มเสี่ยงที่น้องทานโดยตรง
        *งดนานแค่ไหน แล้วแต่คนนะคะ ว่าเราโด๊ปนมเนยมามากขนาดไหน ทั้งช่วงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร
        ถ้าโด๊ปมามาก แม่ก็คงต้องงดนานหน่อยค่ะ แต่ถ้าอาการน้อยและไม่ได้โด๊ปมาก อาจงดแค่ 2-3 เดือน ลำไส้ลูกแข็งแรงขึ้น เค้าก็จะจัดการกับโปรตีนกลุ่มเสี่ยงได้ดีขึ้น อาการแพ้จะน้อยลงหรือหายไปค่ะ


ที่มา:  นมแม่ แบบแฮปปี้ (https://www.facebook.com/HappyBreastfeeding)

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กดจุดที่หน้า...ทะลุถึงภายใน




        
       ศาสตร์จีนโบราณมักให้ความสำคัญกับโหงวเฮ้งบนใบหน้า โหงวเฮ้งที่ว่านี้ไม่ใช่เพียงแต่ตำแหน่งของอวัยวะ ตา แก้ม ปาก จมูก คิ้ว เท่านั้น หากยังรวมถึงราศีหรือสภาพผิว สีสันบนในหน้า หรือจุด เม็ด รอยด่างดวงที่เกิดขึ้นอีกด้วยนั่นเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นสามารถบ่งบอกได้ ไปถึงภายใน ใครมีใบหน้าสดชื่นผ่องใส สุขภาพก็มักจะดีไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากใบหน้าหมองคล้ำก็จะสะท้อนถึงระบบต่างๆ ในร่างกายที่เริ่มแปรปรวนเมื่อรู้ความผิดปกติ ศาสตร์บรรพชนจึงรู้จักที่จะช่วย ปรับการทำงานให้อวัยวะภายในทำงานให้สมดุลด้วยวิธีการ กดจุดเพียงการใช้ปลายนิ้วและฝ่ามือ กด-ปล่อย กด-ปล่อยช้าๆ ไม่แรง แต่เป็นจังหวะเท่าๆ ไล่ไปตามจุดสำคัญต่างๆ บนใบหน้า เป็นการช่วยขับสารพิษที่คั่งค้าง กระตุ้นทำให้เกิดการไหลเวียนของระบบภายในได้ดีขึ้น มาดูกันว่าแต่ละจุดถ้าเกิดมีความผิดปกติเกิด ขึ้น เช่น สิว ผด ผื่น บวม แดง ลอก ระคายเคือง อักเสบ มีความหมายถึงอะไรกันบ้าง แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับทุกจุด ต้องดูด้วยว่าไม่ได้มีปัจจัยหรือสิ่งเร้าอื่นๆ ทั้งฝุ่น ควัน เจล สเปรย์ ยาย้อมผม หรือเครื่องสำอางนานาชนิด
 
      *กะโหลกเหนือหน้าผาก   -ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ
      *แนวโคนผม    -ลำไส้ใหญ่
      *หน้าผาก    -ลำไส้เล็ก อวัยวะการย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ต่อมหมวกไต เหนือ*หว่างคิ้ว-ตับ กินอาหารรสจัด
      *กลางระหว่างคิ้ว    -ตับอ่อน
      *คิ้ว หรือขมับ    -การทำงานของตับ
      *สันจมูกตลอดแนว    -ตับและส่วนที่สัมพันธ์กับตับ
      *ปลายจมูก    -หัวใจ ระบบสืบพันธุ์ ความดันสูง
      *ดวงตาขวา    -ตับ ถุงน้ำดี ภูมิแพ้
      *ดวงตาซ้าย   -ม้าม ตับอ่อน ภูมิแพ้
      *ใต้ตา-ไต หู    -ไต ต่อมหมวกไต ฟันกราม
      *แก้มส่วนบน    -ปอด ไซนัส
      *แก้มส่วนล่าง    -เหงือก ฟัน ภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง
      *โหนกแก้ม    -ปอด การหายใจ
      *รอบปาก    -ระบบกระเพาะอาหาร ระบบขับถ่าย ลำไส้เล็ก ใหญ่ ใต้ปากเหนือคาง-ฮอร์โมนไม่สมดุล รังไข่
      *ปลายคาง    -กระเพาะอาหาร ลำไส้
      *คอ หน้าอก   -เครียด
เป็นปฐมบทที่ทำให้เราเรียนรู้ได้ว่า ร่างกายกำลัง เรียกร้องอะไร 
 
ที่มา:พัชรินทร์ อินมูล แพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200170280560537&set=a.1467213921133.2067537.1257108983&type=1&theater)
 

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กล้วยน้ำว้า


 
ส่วนที่ใช้ : หัวปลี เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ
 
สรรพคุณ :
 
         ราก         - แก้ขัดเบา
         ต้น          - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
         ใบ           - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
        ยางจากใบ  - ห้ามเลือด สมานแผล
         ผล          - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง

 
กล้วยน้ำว้าดิบ
       - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย

 
กล้วยน้ำว้าสุกงอม 
       - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
  

หัวปลี
       - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม

 
วิธีและปริมาณที่ใช้ :

 ขับน้ำนม 
       ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

แก้ท้องเดินท้องเสีย
         ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

 
สรรพคุณเด่น :

แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
       1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน

       2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด

       3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
 
 
ที่มา:  หมออาร์ต สมาคมแพทย์แผนไทยเชียงใหม่ (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=147413648753871&set=a.113349922160244.19641.100004557095385&type=1&theater)
 

รู้ทันโรค..... "โรคไตเสื่อมและไตวาย"

 






        ไตของคนเรามี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12เซนติเมตร
         - ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron )
         - หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข


ไตทำหน้าที่อะไร
      ๑. กำจัดของเสีย
      ๒. ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
      ๓. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
     ๔. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
     ๕. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
     ๖. ควบคุมความดันโลหิต
     ๗. สร้างฮอร์โมน


๑. กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน
          - เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
          - ขับยา และสารแปลกปลอมอื่น ๆ


 

๒. ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
         - สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ ฟอสเฟต โปรตีน


๓. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
         - ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
         - ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้

๔. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย

         - ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
         - แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป

๕. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย

        - ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
        - ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง
        - ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด

๖. ควบคุมความดันโลหิต

        - ความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ
เกลือแร่ รวมถึงสารบางชนิด
       - ผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
       - ถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตได้

๗. สร้างฮอร์โมน
      - ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
      - ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป


ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจากไต

- ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน ( erythropoietin)
            ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นผู้ป่วยจะมี อาการซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน หน้ามืด เหนื่อย ใจสั่น เป็นลมบ่อย

- วิตามินดี ชนิด calcitriol  

            ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซี่ยม ซึ่งการที่วิตามีนดี และแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก ทำให้ไม่แข็งแรง


ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ
     

        ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
               ๑. อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไต จะเริ่มเสื่อม
               ๒. ความดันโลหิตสูง
               ๓. โรคหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
               ๔. โรคหลอดเลือดสมอง
               ๕. โรคเบาหวาน
               ๖. โรคเก๊าท์
               ๗. โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ ช่น โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไตอักเสบ เอส-แอล –อี โรคไตเป็นถุงน้ำ นิ่ว เนื้องอก หลอดเลือดฝอยอักเสบ
               ๘. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
               ๙. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
               ๑๐.ใช้ยาแก้ปวด หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต....


         อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต

             ๑. หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
             ๒. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
             ๓. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
            ๔. ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
            ๕. ความดันโลหิตสูง
            ๖. ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
            ๗. ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
            ๘. เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
            ๙. ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท


อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม.....

ไตเริ่มเสื่อม มีอาการดังนี้
       - อาการบวม
       - ซีด
       - อ่อนเพลีย
       - เหนื่อยง่าย
       - ความดันโลหิตสูง


ไตวายเรื้อรัง มีอาการดังนี้
      - ซีดมากขึ้น
      - เบื่ออาหาร
      - คันตามตัว


อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม

       ๑. อาการบวมที่หน้า และหนังตา
       ๒. อาการบวมที่ขา
       ๓. อาการบวมที่เท้า
     ๔. ปัสสาวะเป็นเลือด


โรคไตวาย

- ไตวายเฉียบพลัน
          ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นวัน หรือสับดาห์ มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตสูง ถ้าพ้นอันตราย ไตมักจะเป็นปกติได้


- โรคไตวายเรื้อรัง
         เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบ แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด


สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง

        ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีสาเหตุจาก...

       ๑. อันดับหนึ่ง โรคเบาหวาน
       ๒. อันดับสอง ความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ เช่น โรค เอส- แอล – อี
       ๓. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่
             - โรคนิ่วในไต
             - โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ
             - โรคเก๊าส์
             - โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
             - โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน








 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=147
 

ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ตโดย...... Ayurvedic Association of Thailand

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคลมปลายปัตคาดข้อมือ

โรคลมปลายปัตคาดข้อมือ
 

 



สาเหตุ
1. เกิดจากการแข็งตัวของเลือด การคั่งการอั้นของเลือดที่บริเวณข้อมือ
2. อาจเกิดจากการมีพังผืดรัดข้อมือ
3. เกิดจากการทำงานใช้ข้อมือมา
4. เกิดจากความเสื่อมของกระดูกข้อมือ
ลักษณะอาการโรค
ปวดตึง และร้าวชา บริเวณข้อมือ,ฝ่ามือ,นิ้ว และนิ้วมือไม่มีกำลัง อาจปวดบวม บริเวณฝ่ามือ
และนิ้วมือร่วมด้วย
การตรวจวินิจฉัยโรค
1. ตรวจดูลักษณะทั่วๆไปเปรียบเทียบทั้ง 2 ข้างมีความเย็น,ร้อน,อ่อน,แข็ง บริเวณข้อมือและนิ้วมือ
2. กระดกข้อมือขึ้น-ลง
3. เขยื้อนข้อมือตรวจความฝืด
4. ทดสอบกำลังข้อมือโดนวิธีออกแรงบีบมือ
วิธีการรักษา
1. นวดพื้นฐานแขนด้านใน
2. นวดสัญญาณ 1-5 แขนด้านใน เน้น สัญญาณ 4,5 และสัญญาณแยกข้อมือ
3. นวดพื้นฐานแขนด้านนอก
คำแนะนำ
1.ประคบความร้อน เช้า-เย็น ประมาณ 10-15 นาที
2.ทำท่าบริหาร ดึงแขน เท้าแขน 3 จังหวะ
3.งดอาหารแสลง เช่น ข้าวเหนียว,หน่อไม้,เครื่องในสัตว์,เหล้า-เบียร์,และยาแก้ปวด
4.ห้าม บิด ดัด สลัดแขน ที่รุนแรง
5.ห้ามนอนทับข้อมือข้างที่เจ็บ และห้ามหิ้วของหนัก

โรคลมปลายปัตคาดข้อศอก
สาเหตุ
1. เกิดจากการแข็งตัวของเลือด การคั่งการอั้นของเลือดที่บริเวณข้อศอก
2. มีพังผืดรัดบริเวณข้อศอก
3. เกิดจากการทำงานใช้ข้อศอกมา
4. เกิดจาดอุบัติเหตุ บริเวณข้อศอกถูกกระทบกระแทก เช่น จากการเล่นกีฬา
5. เกิดจากความเสื่อมของกระดูกข้อศอก


ลักษณะอาการโรค
ปวดที่ข้อศอก ร้าวไปที่หัวไหล่ และปวดร้าวชาลงไปที่แขน ข้อมือ นิ้วมือ เวลากำมือ บิดมือ
คว่ำมือ จะเจ็บที่ข้อศอก
การตรวจวินิจฉัยโรค
1. หาจุดเจ็บ ดูลักษณะทั่วๆไป ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง บริเวณข้อศอก
2. กำมือ บิดมือ คว่ำมือ เจ็บข้อศอก
3. บิดแขนเข้า-ออก เจ็บร้าวข้อศอก
4. ทดสอบกำลังบีบมือ
วิธีการรักษา
1. นวดพื้นฐานแขนด้านใน
2. นวดสัญญาณ 1-5 แขนด้านใน เน้นสัญญาณ 2,3
3. นวดพื้นฐานแขนด้านนอก
4. นวดสัญญาณ 1-5 แขนด้านนอก เน้นสัญญาณ 3,4 เขยื้อนเอ็นพังผืดบริเวณข้อศอก
คำแนะนำ
1. ประคบความร้อน เช้า-เย็น 10-15 นาที
2. ทำท่าบริหาร ดึงแขน เท้าแขน 3 จังหวะ
3. งดอาการแสลง เช่น ข้าวเหนียว,หน่อไม้,เครื่องในสัตว์,เหล้า-เบียร์ และยาแก้ปวด
4. ห้ามบิด ดัด สลัดแขน
5. ห้ามนอนทับข้อศอกข้างที่เจ็บ และห้ามหิ้วของหนัก


ที่มา:  พัชรินทร์ อินมูล แพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200144520916562&set=a.1467213921133.2067537.1257108983&type=1&theater)

"นาฬิกาชีวิต"

คนเรามี "นาฬิกาชีวิต" อยู่ภายใน หากเราปรับวิถีชีวิตได้ใกล้เคียงกับนาฬิกาดังกล่าว สุขภาพก็จะดี ชีวิตจะยืนยาวค่ะ

We all have "Biological clock" inside. If we can live this healthy clock, we may live longer and healthier.




 



ที่มา:  Revize Clinic (รีไวซ์ คลินิก) (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=520713994655478&set=a.430603083666570.102240.430086857051526&type=1&theater)






























ที่มา: หมอชนาณัติ แสงอรุณ 'กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=506896842698802&set=a.394138797307941.95682.100001354730337&type=1&theater)

โรคลมปลายปัตคาดเส้นโค้งคอ



โรคลมปลายปัตคาดเส้นโค้งคอ
 



สาเหตุ
      1.เกิดจากท่าทางอิริยาบถไม่ถูกต้อง เช่น นั่งคอเอียง คอไม่ตรง
      2.ความเครียดของกล้ามเนื้อต้นคอ
      3.ความเสื่อมของกระดูกต้นคอ
 

ลักษณะอาการโรค
      คอแข็ง ทรงศีรษะไม่อยู่ กล้ามเนื้อต้นคอไม่มีกำลัง ก้ม-เงย หรือเอียงคอ มีอาการตึง ปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตากระตุก หูอื้อ อาจพบขัดยอกที่ข้อต่อหัวไหล่ หรือโรคหัวไหล่ติดร่วมด้วย ปวดชาต้นแขน ชาปลายนิ้ว
 

การตรวจวินิจฉัย
      1. ก้มหน้าคางชิดอกไม่ได้องศา
      2. หาตำแหน่งที่เจ็บ ดูกล้ามบ่า โค้งคอ แข็งเป็นลำ บวม
      3. สังเกตดูแนวกระดูกต้นคอและหัวดุมไหล่
      4. เงยหน้าไม่ได้องศา เนื่องจากกล้ามเนื้อคอเกร็ง ให้ตรวจกระดูกคอร่วมด้วย อาจพบร่วมกับโรคสัญญาณ 4,5 หลัง
      5. เอียงหูชิดไหล่ เพื่อดูองศาและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
 

วิธีการรักษา
      1. นวดพื้นฐานบ่าข้างที่เป็น
      2. นวดสัญญาณ 4,5 หลัง
      3. นวดเส้นโค้งคอ
      4. นวดหัวไหล่สัญญาณ 4
 

คำแนะนำ
      1.ประคบความร้อน เช้า-เย็น ประมาณ 10-15 นาที
      2.งดอาหารแสลง เช่น ข้าวเหนียว,หน่อไม้,เครื่องในสัตว์,เหล้า-เบียร์,และยาแก้ปวด
      3.ใช้ท่าบริหาร
           - ท่าดึงแขนชูแขน 3 จังหวะ
           - ท่า-เงยศีรษะ
           - ท่าเอียงหูชิดไหล่ซ้าย - ขวา
      4.หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวด
      5.ห้าม บิด ดัด สลัดคอ ที่รุนแรง


ที่มา:  พัชรินทร์ อินมูล แพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10200144514476401&set=a.1467213921133.2067537.1257108983&type=1&theater)

"มะเร้งลำไส้ใหญ่"

มาตรวจสอบกันว่า เพื่อนๆมีโอกาสเสี่ยงเป็น "มะเร้งลำไส้ใหญ่" หรือไม่รู้ก่อน ปลอดภัยกว่าค่ะ

 
























 ที่มา: การแพทย์แผนจีน (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=582708498439947&set=a.488656681178463.112740.173757302668404&type=1&theater)











ตำรายากลางบ้าน: ยาแก้โรคนิ่ว





ยาแก้โรคนิ่ว

ขนานที่ ๑ ท่านให้เอาต้นบานไม้รู้โรยทั้งห้า (เอาทั้งต้นตลอดถึงราก) ๑ ต้น,ยอดต้นอ้อ ๙ ยอด, สารส้ม หนัก ๑ บาท, ตัวยาทั้ง ๓ อย่างนี้นำมาใส่หม้อดินต้มกับน้ำ ๓ ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ ๑ ส่วน ใช้น้ำยารับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยชา มีสรรพคุณแก้โรคนิ่ว เมื่อเริ่มเป็นใหม่ๆ ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ
- พระบุญส่ง ฐิตธมฺโม วัดบางปลา สมุทรสาคร.

ขนานที่ ๒ ท่านให้เอาแขนงสับปะรดลูกเขียว นำมาล้างน้ำให้สะอาดใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ใส่สารส้มลงผสมเล็กน้อย ใช้น้ำยารับประทานเป็นประจำ เวลาก่อนนอน หรือเวลาท้องว่าง มีสรรพคุณแก้โรคนิ่ว ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ
- พระใบฎีกาถาวร เขมรํสิโย วัดสุทธาวาส อ.ไชยา สุราษฎร์ธานี.

ขนานที่ ๓ ท่านให้เอาหัวขิงสด (เลือกเอาเฉพาะแง่งขิงที่มีลักษณะงอๆ คล้ายรูปเบ็ดตกปลา) มากพอสมควร นำมาล้างน้ำให้สะอาด ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ใช้น้ำยารับประทานต่างน้ำชา มีสรรพคุณแก้โรคนิ่วให้หายไป ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ
- พระครูชินานุวัฒน์ วัดอรัญญิกาวาส ประจวบคีรีขันธ์.

ขนานที่ ๔ ท่านให้เอาสารส้ม (ก้อนขนาดเมล็ดพุทรา) นำมายัดใส่ในผลแตงกวาทั้งลูก นำมาใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ใช้รับประทานทั้งเนื้อยาและน้ำยา มีสรรพคุณแก้โรคนิ่ว ได้ผลดีอย่างชะงัดนักแลฯ
- พระสามารถ วัดกลางเหนือ สมุทรสงคราม.

ขนานที่ ๕ ท่านให้เอาหัวน้ำส้มสายชู ๑ ขวด เทใส่โถหรือใส่โหลใส่เบี้ยจั่น ๓ ตัว ลงแช่ในน้ำส้มสายชูนั้น แช่ไว้ ๑ คืน ใช้น้ำยารับประทาน ๑ ถ้วยชา เพียงครั้งเดียวเท่านั้น มีสรรพคุณแก้โรคนิ่วให้หายไปอย่างชะงัดนักแลฯ เมื่อหายโรคแล้ว ให้ใส่บาตรพระสงฆ์ พร้อมกับถวายกล้วย ๑ หวี และอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรด้วย
- พระอธิการเตี้ยม เตชวโร วัดพญาญาติ อ.บางปะอิน อยุธยา.

ขนานที่ ๖ ท่านให้เอามะพร้าวไฟ (มะพร้าวอ่อนสีเหลือง) ๑ ลูก นำมาตัดหัวออกแล้วใส่สารส้ม (พอสมควร) ลงในผลมะพร้าวอ่อนนั้น นำไปตั้งไฟเผาให้สุก ให้ผู้ป่วยรับประทานมะพร้าวนั้นทั้งเนื้อและน้ำให้หมดลูก มีสรรพคุณทำให้ก้อนนิ่วละลายออกมาพร้อมกับน้ำปัสสาวะ เคยใช้รักษาได้ผลดีมาแล้วฯ
- เจ้าอธิการเสริม สุภทฺโท วัดมัชฌิมภูมิ อ.สว่างดินแดง สกลนคร.

ขนานที่ ๗ ท่านให้เอาหัวจุกสับปะรด (ชนิดเปรี้ยว) ๓ หัวจุก (โดยปอกเอากาบออกเสียจนเหลือแต่แกน) นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ หัวจุกละ ๓ ชิ้น กับถั่วเขียวดิบ ๑ ลิตรเล็ก ล้างน้ำให้สะอาด นำตัวยาทั้ง ๒ อย่างนี้ใส่หม้อดินต้มกับน้ำพอสมควร ต้มเคี่ยวให้ถั่วเขียวแตกเละแล้ว ยกลง ใส่น้ำตาลทรายแดง กับ สารส้มอย่างละเท่านิ้วหัวแม่มือ ลงผสมในหม้อยานั้น ต้มเคี่ยวให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง ใช้น้ำยารับประทานต่างน้ำ เมื่อน้ำยาหมดแล้ว ให้ปรุงยาต้มซ้ำอีก รับประทานเพียง ๓ หม้อ ประมาณ ๑๕ วันเท่านั้น โรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งมีอาการแน่นหน้าอก จุกเสียด หรือโรคนิ่วในไต ซึ่งมีอาการปวดบั้นเอว ปวดสันหลัง และถ่ายปัสสาวะน้อยลง หรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีอาการจะถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก มีอาการปวดร้าวบริเวณหัวเหน่า จะพลันหายไป มีสรรพคุณชะงัดนักแลฯ
- พระอธิการทองดี ฐานธมฺโม วัดโพธิ์บ้านอ้อย อ.ปากเกร็ด นนทบุรี.

ข้อมูลจาก : textbook.samunpri.com

โดย.... Ayurvedic Association of Thailand

สมุนไพรฤทธิ์เย็นสำหรับทำน้ำครอโรฟิลล์

 

แพทย์ทางเลือกวิถีธรรม (ยา ๙ เม็ด)
       ยาเม็ดที่ ๑ การรับประทานน้ำสมุนไพรปรับสมดุล
ชนิดของสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่หาง่ายใกล้ตัว ใช้ทำน้ำคลอโรฟิลล์สด เหมาะสำหรับผู้มีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน นอกจากใบย่านาง ใบเตย แล้วยังมี เสลดพังพอนตัวเมีย หญ้าปักกิ่ง หญ้าม้า ฮว่านหง็อก ผักบุ้ง หมาน้อย หรือกรุงเขม น้ำนมราชสีห์ ผักปราบใบมน ผักปราบใบแหลม

  
ที่มา: หมอเขียว แฟนคลับ (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=379468165448550&set=a.358700210858679.86119.100001561095782&type=3&theater)

สาระน่ารู้เพื่อสุขภาพดี : น้ำตาลตัวร้ายผสมในเครื่องดื่มดับกระหาย








ที่มา:  หมอชนาณัติ แสงอรุณ 'กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=494462683942218&set=a.394138797307941.95682.100001354730337&type=1&theater)

"เปิดตำนาน” การรักษาโรคในสมัยพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎก

"เปิดตำนาน” การรักษาโรคในสมัยพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎก

 








@ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกใบนี้ ถึงกระนั้นก็ดี การรักษาโรคเพื่อมิให้ต้องมีอันเจ็บป่วยหรือทุกข์ทรมานก่อนเวลาอันควร ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนสติให้มนุษย์เร่งทำความดี ทำบุญกุศล ให้มากก่อนที่จะสิ้นอายุขัยของตัวเอง

พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 157 "อินทรียวรรคที่ 1" พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า:

"โรค 2 อย่างนี้ คือ 1. โรคทางกาย 2 โรคทางใจ ชนทั้งหลายให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางกายตลอด 1 ปีมีปรากฏอยู่ ตลอด 10 ปี มีปรากฏอยู่ ตลอด 50 ปี มีปรากฏอยู่ แม้ตลอดยิ่งกว่า 100 ปี ก็ยังมีปรากฏได้ แต่เหล่าชนใดให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางใจ แม้สักครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้น"

แม้พระพุทธเจ้าจะไม่มีโรคทางใจใดๆ แต่ก็ยังมีโรคทางกายเกิดขึ้น เพราะทรงเคยไปสร้าง "วิบากกรรมอันเป็นบาป" เอาไว้ในอดีต จึงต้องรับผลกำรรมเจ็บป่ายทางกายได้อีก เช่นการปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 32 ข้อ 392 "พุทธปทาน" ว่า

ถูกไฟไหม้ผิวหนัง เพราะในอดีตชาติเคยฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ต้องปวดศีรษะ เพราะเคยเห็นผู้คนพากันฆ่าปลา แล้วเกิดความยินดีพอใจ เจ็บปวดหลังเพราะเคยทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บ เป็นโรคบิดท้องร่วง เพราะเคยลงมือถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีแต่ทำให้เขาถึงแก่ความตาย

พระพุทธองค์ตรัสถึงคนไข้ในโลกนี้ ว่ามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ดังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อ 461 "คิลานสูตร" ดังนี้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ 3 จำพวก คือ

1. คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะ (อาหาร) ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัช (ยา)ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐาก (คนดูแลหรือหมอ) ที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธ (เจ็บป่วย) นั้นได้เลย

2. คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐานที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้

3. คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐานที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย

ก็เพราะคนไข้จำพวกสุดท้ายนี้เอง เราจึงอนุญาตคิลานภัต(อาหารรักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานเภสัช (ยารักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานุปัฏฐาก (หมอหรือผู้ดูแลพยาบาลคนไข้)เอาไว้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยคนไข้เช่นนี้ ถึงคนไข้อื่นก็ควรได้รับการบำรุงด้วย

ในพระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 87 "ปุตตสูตร" ทรงกล่าวถึงเหตุที่ทำให้คนเราต้องเจ็บป่วย มีอยู่ 8 ประการด้วยกันคือ

1. ดี (อวัยวะภายใน) เป็นสมุฏฐาน 2. เสมหะ (เมือกจากลำคอหรือลำไส้) เป็นสมุฏฐาน 3. ลม (ภายในกาย) เป็นสมุฏฐาน 4. ประชุมกันเกิดขึ้น 5. ฤดูแปรปรวน 6. การบริหารไม่สม่ำเสมอ 7.การบาดเจ็บ 8.เกิดจากผลกรรม (บาป)

ในพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 584 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคมากเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ท่อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคมาก"

ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 585 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคน้อยเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วย ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคน้อย"

ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 582 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุสั้นเอาไว้ว่า "การเป็นผู้มักทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วงไป เป็นคนเหี้ยมโหดมีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต หากเข้าตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุสั้น"

ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 583 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุยืนเอาไว้ว่า "การเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) วางอาชญา (โทษภัย) วางศาสตรา (ของมีคม) ได้ มีความละอาย (ที่จะทำบาป) เข้าถึงความเอ็นดู ช่วยเหลือด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูต (วิญญาณที่แสวงหาที่เกิด)อยู่ หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุขคติในโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุยืน"

นอจากนี้ยังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 94 "มหาปรินิพพานสูตร" ได้กล่าวถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 เอาไว้ว่า:

เมื่อคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาที่บ้านเวฬุวคาม ทรงประชวรหนัก เกิดทุกข์ทรมานอย่างรุนแรงใกล้จะปรินิพพาน ทรงมีสติสัมปชัญญะ อดทนอดกลั้น ไม่พรั่นพรึ่ง แล้วทรงพระดำริว่า

"การที่เราจะไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก (ผู้คอยดูแลรับใช้) ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้วปรินิพพานนั้นเสีย เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ถ้ากระไรเราพึงใช้ความเพียร (อิทธิบาท 4) ขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตร่างกายให้อยู่เถิด"

แล้วทรงใช้ความเพียรนั้น ขับไล่ความเจ็บป่วยไป ทรงหายประชวร หายจากความเป็นไข้ในเวลานั้นเอง

ต่อมาเสด็จไปยังปาวาสเจดีย์กับพระอานนท์ แล้วตรัสแสดงถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 ให้แก่พระอานนท์ว่า:

"ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท 4 (1. ฉันทะ คือความยินดี 2. วิริยะ คือ ความเพียร 3. จิตตะคือความตั้งใจจริง 4. วิมังสาคือความพิจารณาไตร่ตรอง) อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้วปรารถนาดีแล้ว ผุ้นั้นเมื่อตั้งใจมีชีวิตอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป (ชั่วอายุของคนซึ่งในขณะนั้นประมาณ 100 ปี) หรือเกินกว่ากัปก็ได้"

พระตถาคตตรัสแล้ว แต่พระอานนท์ไม่อาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงงอนพระผู้มีพระภาค ให้ทรงใช้อิทธิบาท 4 ดำรงอยู่ต่อไปให้ถึง 100 ปี ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ปรินิพพาน เมื่อทรงมีอายุได้ 80 ปี นั่นเอง

ในพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ได้กล่าวถึงการรับประทานอาหารเอาไว้ว่า

"เราฉันอาหาร ณ ที่นั่งแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่ รู้สึกว่า 1.มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก

ในพระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 87 "มหาขันธกะ" พระพุทธเจ้าทรงถือว่าน้ำมูตร หรือ น้ำมูตรเน่า ซึ่งก็คือน้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต้องเป็นนิสสัย 1 ใน 4 ของภิกษุ โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนนิสสัยเอาไว้ว่า

"เธอจงอาศัยน้ำมูตรเน่า (ปัสสาวะสด หรือปัสสาวะที่ผสมของดองอื่น) เธอพึงทำความอุตสาหะในสิ่งนี้ตลอดชีวิต ส่วนอดิเรกลาภอื่นคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เธอจะปฏิเสธเสียก็ได้"

อีกทั้งปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 532 "มหาธรรมสมาทานสูตร" ยังได้กล่าวถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับน้ำมูตร (ปัสสาวะ)ว่า

เรากล่าวข้อที่ถือเอารับเอาปฏิบัติ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก (ผลต่อไป) เปรียบเสมือน... มีน้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยาอยู่ ได้มีผู้ที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเขา จึงมีคนบอกแก่เขาว่า

ท่านผู้เจริญ น้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยานี้ ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิด น้ำมูตรเน่าจะไม่ชอบใจแก่ท่าน ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส แต่ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วจะมีความสุข ผู้เป็นโรคผมเหลืองฟังแล้ว ก็พิจารณาน้ำมูตรเน่านั้นแล้วจึงดื่มมิได้วาง เขาก็ไม่ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรสของน้ำมูตรเน่าระคนยา แต่ครั้นดื่มแล้วก็มีสุขในเวลาต่อมา

ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 78 "ขุททกวัตถุขันธกะ" หมอชีวกโกมาภัจจ์ ได้มาทำกิจจำเป็นอย่างหนึ่งที่นครเวสารี เห็นภิกษุทั้งหลายอาพาธกันเป็นจำนวนมากเพราะ อุบาสก อุบาสิกา ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้ถวายภัตตาหารที่ตกแต่งอย่างประณีตแต่กลับมีพิษและมีโทษมาก จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อของให้ทรงอนุญาตสถานที่จงกรมและเรือนไฟ (ยุคนี้น่าจะเทียบได้กับการอบตัว) โดยได้กล่าวว่า

"พระพุทธเจ้าข้า บัดนนี้ภิกษุทั้งหลายมีร่างกายสั่งสมโทษไว้มาก มีอาพาธมาก ข้าพระพุทธเจ้าขึงขอประทานพระวโรกาส ขอให้พระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงอนุญาต ที่จงกรมและเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ได้ ภิกษุทั้งหลายจะมีอาพาธน้อยพระพุทธเจ้าข้า"

พระผู้มีพระภาคได้ทรงฟังคำแนะนำวิธีระบายพิษออกจากร่างกายและวิธีป้องกันรักษาโรคแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายตั้งเรือนไฟแล้วมีที่จงกรมได้

ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 135 "จีวระขันธกะ" ได้กล่าวถึงการระบายพิษออกจากร่างกายด้วยยาถ่ายเอาไว้ว่า

"ดูก่อนอานนท์ กายของเราตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษเราต้องการจะฉันยาถ่าย"

พระอานนท์จึงไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แจ้งเรื่องให้ทราบ หมอชีวกขอให้พระพุทธเจ้าทรงทำร่างกายให้ชุ่มชื่นมีกำลังก่อน สัก 2-3 วัน จากนั้นจึงถวายพระโอสถถ่าย (ยาถ่าย) ที่ทำอย่างประณีตคือ อบก้านอุบล (ดอกบัว) ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงสูดดมก้านอุบลทีละก้าน ซึ่ง 1 ก้าน จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 10 ครั้ง เมื่อรวม 3 ก้าน จึงทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง ในการระบายพิษที่หมักหมมออกจากร่างกาย แต่ก่อนที่จะทรงถ่ายครั้งที่ 30 นั้น หมอชีวกให้พระผู้มีพระภาคสรงพระกายด้วยน้ำอุ่น แล้วจึงถ่ายล้างท้องได้ครบ 30 ครั้ง

เมื่อทรงระบายพิษออกครบ 30 ครั้งแล้ว หมอชีวกได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า "พระพุทธเจ้า ขณะนี้พระผู้มีพระภาคยังทรงมีพระกายอ่อนเพลีย ไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าจะทรงมีพระกายเป็นปกติพระเจ้าข้า" ซึ่งต่อมาไม่กี่วัน พระกายของพระผู้มีพระภาคก็เป็นปกติแล้ว

ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 44 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "ภิกษุป่วยเป็นพรรดึก (อุจจาระคั่งค้างแข็งเป็นก้อนในลำไส้ใหญ่ ทำให้ท้องผูก) ทรงอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส

ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 45 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า พระสารีบุตรป่วยเป็นไข้ตัวร้อน รักษาให้หายได้ด้วยรากบัวและเง่าบัว

ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 188 "ขุททกวัตถุขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระสารีบุตรป่วยเป็นลมเสียดท้อง รักษาให้หายได้ด้วยกระเทียม

ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 134 "จีวรขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระเจ้าปัชโชต ราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรเป็นโรคผอมเหลือง หมอชีวกรักษาหายด้วยการหุงเนยใสให้เสวย

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนในการรักษาโรคในสมัยพุทธกาลที่บัญญัติเอาไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฎกเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเอาไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 287-290 "มาคัณฑิยสูตร" เกี่ยวข้อกับความไม่มีโรค และการนิพพานว่า

ร่างกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร (กิเลส) เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ดังนั้นเธอจึงจะละความกำหนัดได้ ละความพอใจในรูปกายได้ ละความพอใจในเวทนา (ความรู้สึก) ได้ ละความพอใจในสัญญา (ความจำ)ได้ ละความพอใจในสังขาร (ความคิดปรุงแต่งได้) ละความพอใจในวิญญาณ(ความรู้)ได้"



ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ถ้าเธอพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้



ที่มา:หมอชนาณัติ แสงอรุณ 'กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=494066630648490&set=a.394138797307941.95682.100001354730337&type=1)

หัวเราะ 5555ๆ สุขใจห่างใกลโรค

          
 
           สาระน่ารู้เพื่อสุขภาพดี : หัวเราะ 5555ๆ สุขใจห่างใกลโรค
           ไม่ต้องเขินอายหรือกลัวใครจะว่าเอาถ้าเรา “หัวเราะ” เหมือนคนบ้า เพราะมีการศึกษามาแล้วว่าการหัวเราะนั้นดีต่อสุขภาพและหัวใจของคุณ โดยเฉพาะทำให้คุณห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

          จากการวิจัยโดยศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เมืองบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่สามารถหัวเราะกับปัญหาความสับสน และความยุ่งเหยิงทั้งปวง ในชีวิตประจำวันได้ง่าย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าคนที่หัวเราะไม่ออก ถึง 40 % เลยทีเดียว

           Michael Miller ผู้อำนวยการศูนย์การป้องกันหทัยวิทยา แห่งศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ระบุว่า การหัวเราะนั้นมีผลดีต่อหัวใจ ในการศึกษาครั้งนั้น เขาและคณะได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยมีอาการหัวใจวายหรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้หัวเราะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

          นอกจากนั้นการหัวเราะยังช่วยป้องกันการอักเสบของหลอดเลือด ลดปัญหาเกล็ดเลือดแข็งตัว และรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ เสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคและลดฮอร์โมนความเครียดที่ร่างกายมักจะหลั่งออกมา เมื่อเกิดความเครียดหรือวิตกกังวล รวมถึงการหัวเราะอย่างเต็มที่จะทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และช่วยลดความดันโลหิต

         ดังนั้น ลองปรับพฤติกรรมดูใหม่ หากคุณเป็นคนที่จริงจังกับชีวิตเกิน ไปจนลืมที่จะหัวเราะ ซึ่งรู้ไหมว่า การหัวเราะอย่างต่อเนื่อง 15-20 นาที เท่ากับ การออกกำลังกายหัวใจได้ประมาณ 3-5 นาที เมื่ออ่านจบแล้วลองทบทวนตัวเองว่า วันนี้คุณหัวเราะแล้วหรือยัง ??

@ คำแนะนำ - ผู้ใหญ่ควรหัวเราะให้ได้ 17 ครั้ง ต่อวัน ส่วนเด็กๆ ควรหัวเราะให้ได้ 400 ครั้ง ต่อวัน
 
ที่มา:  หมอชนาณัติ แสงอรุณ 'กรรมการวิชาชีพแพทย์แผนไทย  (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=494466197275200&set=a.394138797307941.95682.100001354730337&type=1&theater)

อาการ 10 อย่างที่บอกร่างกายไม่สบาย






ที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=507935505937335&set=a.235963799801175.62345.100001626708814&type=1&theater