วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557
การรักษา "โรคไทรอยด์" ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
โรคไทรอยด์
อาการโรค ”อิงปิ้ง” อธิบายว่าเกิดจาก การกินอาหารรสจัดทั้ง 5 รส (เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม บวกมันเข้าไปด้วย) ทำให้กระเพาะสะสมความร้อน
เสมหะร้อนหลอมรวมกัน หรือเกิดจากอารมณ์ปรวนแปรบ่อย ทำให้พลังชี่ตับอั้น เสมหะชื้นอุดกั้น ก่อให้เกิดอาการอย่างที่คุณเป็นขึ้นได้สาเหตุของต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ปกติการทำงานของต่อมไทรอยด์<อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมต้สมอง ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นให้ทำงานมาก แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ต่อมใต้สมองจะลดการหลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นทำให้ทำงานน้อยลง/>ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษคือผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมได้ ฮอร์โมนไทร็อกซีนที่มากเกิน>ก็จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ ให้ทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการต่างๆ เช่น มือสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน โมโหง่าย กินจุ น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ความดันสูง เป็นต้นมองแบบแพทย์จีน : ภาวะยินพร่อง ไฟกำเริบ ร่างกายผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษจะมีภาวะหยางมาก หรือมีไฟ ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ การกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ มากกว่าปกติ มีลักษณะไปทางหยาง เช่น หิวเก่ง ใจสั่น รู้สึกร้อน ความดันสูง หงุดหงิด ท้องเสีย เป็นต้น ความผิดปกติของร่างกายมีผลต<อระบบฮอร์โมนหลายชนิด หลายระบบ ตั้งแต่ระบบประสาทอัตโนมัติ ต่อมหมวกไต ระบบไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมเพศ ยังทำให้ระดับ C-AMP ในเลือดสูงขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงอีกด้วยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาวะกาเสียสมดุลแพทย์จีนเรียกว่า "ยินพร่อง" เป็นภาวะที่เซลล์แห้ง ขาดสารยิน (ขาดสารน้ำและของเหลวภายในเซลล์) ทำให้เกิดความร้อนภายในเซลล์ ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกระบบของร่างกาย ไม่ใช่เฉพาะตัวต่อมไทรอยด์เท่านั้นการแก้ปัญหาหรือมุ่งเน้นที่ตัวไทรอยด์อย่างเดียวจึงมีลักษณะจำเพาะเกินไป
การรักษาแผนปัจจุบันใช้กลุ่มยาต้านไทรอยด์ (antithyroid drug) เช่น เมทิมาโซล (methimazole) หรือโพรพีลไทโอยูราซิล (propylthiouracil) ถ้ารักษา 18-24 เดือนไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณากินน้ำแร่หรือการผ่าตัด การผ่าตัดยุ่งยากกว่า เพราะอาจมีโอกาสตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วย และอาจตัดถูกประสาทกล่องเสี>ยง (laryngeal nerve) ทำให้เสียงแหบ บางครั้งการกินน้ำแร่ง่ายกว่า แต่โอกาสเกิดต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำได้สูงมาก 1 ปีหลังจากการกินน้ำแร่ ผู้ป่วยเปลี่ยนจากโรคภาวะไทรอยด์เกิน (เป็นพิษ) กลายเป็นผู้ป่วยภาวะฮอร์โมนไทรอยด์พร่อง (ขาด) เปลี่ยนจากอาการขี้ร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ กลายเป็นคนหนาวง่าย เฉื่อยชา ง่วงนอนเก่ง ถ้ามองโดยภาพรวมเหมือนตาชั่งที่มี 2 ข้าง แต่เดิมน้ำหนักถ่วงมาก ข้างหนึ่งเกิดการเสียสมดุล พอรักษาจบกระบวนความ กลายเป็นตาชั่งเอียงมาอีกข้างหนึ่งความจริงเราต้องการตาชั่งให้มีความสมดุล ไม่ใช่ต้องการเอียงไปอีกข้า>งหนึ่ง การรักษาแบบนี้ถือว่ายังไม่ ใช่การรักษาในเชิงอุดมคติการปรับสมดุลยิน-หยาง โดยการบำรุงสารยินและระบายร้อนการปรับสมดุลยิน-หยางนั้น เป็นการสร้างเงื่อนไขและปรับสภาพของเซลล์ไม่ให้แห้งและลดภาวะไฟที่กำเริบ เป็นการปรับพื้นฐานเพื่อให้เซลล์เข้าสู่ภาวะสมดุลของยิน-หยาง และเมื่อใช้ร่วมกับการควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ที่สูงด้วยยาแผนปัจจุบัน การลดขนาดของยา และหยุดยาต้านไทรอยด์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงการใช้ยาต้านไทรอยด์ การใช้ยาต้านไทรอยด์ กล่าวได้ว่า เป็นการรักษาปรากฏการณ์ของฮ>อร์โมนไทรอยด์สูง จวื่อเปียว ส่วนการปรับยิน-หยางของเซลล์และระบบต่างๆ ของร่างกายไม่ให้แห้ง และไม่ให้เกิดไฟ รวมทั้งการขับความร้อนภายในเซลล์ เรียกว่า การรักษาธาตุแท้จวื่อเปิ่น <แผนปัจจุบันมักรักษาอาการรักษาปรากฏการณ์ ใช้วิธีการลด ทำลาย เมื่อพบความผิดปกติที่จุดใดจุดหนึ่ง และอธิบายสาเหตุของความผิดปกติไม่ได้ มักจะลงเอยว่าเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ตัวเอง หรือออโตอิมมูน (autoimmune) เวลาแก้ปัญหาปฏิกิริยาภูมิแพ้ ก็ใช้ยาไปกดภูมิคุ้มกันอีก (ไม่ใช่วิธีการไปปรับระบบภูมิแพ้) ซึ่งสร้างปัญหาและผลข้างเคียงของการรักษาจากยาให้กับผู้ป่วยอีกn การศึกษาวิจัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษและการรักษาปัจจุบันภาวะไทรอยด์เป็นพิษส่วนมากเมื่อวินิจฉัย ตามหลักการแยกภาวะโรคและร่างกาย หรือเปี้ยนเจิ้ง จัดเป็นภาวะยินพร่องไฟกำเริบภาวะไฟกำเริบ
1. ไฟของตับ หงุดหงิด โมโหง่าย ปวดชายโครง ประจำเดือนผิดปกติ มือสั่น
2. ไฟของหัวใจ ใจสั่น นอนไม่หลับ ปลายลิ้นแดง
3. ไฟของกระเพาะอาหาร หิวเก่ง กินจุ ตัวผอมแห้ง
1. หยินของหัวใจพร่อง ใจสั่น นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
2. ยินของตับพร่อง เวียนศีรษะ ตาแห้ง หงุดหงิด อาการสั่น
3. ยินของไตพร่อง ร้อนฝ่ามือฝ่าเท้าและกลางหน้าอก หน้าแดง โดยเฉพาะหลังเที่ยง เอว เข่า เมื่อยอ่อนล้า ผมร่วง เสียงดังในหูการรักษาทางคลินิก
1. เสริมบำรุงยิน ระบายร้อน โดยวิธีการนี้ทำให้สามารถคุมระบบสมองใหญ่ ระบบต่อมใต้สมอง ระบบต่อมหมวกไต และมีผลต่อการควบคุมต่อมไทรอยด์ได้ดีขึ้น
2. เสริมพลังชี่ บำรุงยิน เป็นวิธีการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มเซลล์แมกโครฟา และปรับสมดุลของสารน้ำในเซลล์ควบคู่กันไป
สรุป
ทฤษฎียิน-หยางของแพทย์จีน มุ่งเน้นการแยกแยะ สรรพสิ่งเป็น 2 ด้านเสมอ สิ่งก่อโรค (เสียชี่ ) กับ ภูมิร่างกาย (เจิ้งชี่ )อาการของโรค กับ เหตุแห่งโรคร่างกายภายนอก กับ อวัยวะภายใน โรคใหม่ที่เพิ่งปรากฏ กับ โรคที่เป็นอยู่ก่อน สิ่งก่อโรค อาการของโรค สิ่งปรากฏภายนอกร่างกาย โรคที่เพิ่งปรากฏให้เห็น จัดเป็นปรากฏการณ์ บางทีเรียกว่า ปลายเหตุ ภูมิร่างกาย เหตุแห่งโรค โรคอวัยวะภายใน โรคที่เป็นอยู่ก่อน จัดเป็นธาตุแท้ บางทีเรียกว่า ต้นเหตุ
การรักษาโรคด้วยทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน มักจับเอาปรากฏการณ์เฉพาะส่วนมาวินิจฉัย ว่าเป็นโรคอะไร แล้วให้การรักษา ซึ่งจะได้ผลดีเฉพาะส่วน แต่ไม่ได้แก้ธาตุแท้และองค์รวมของปัญหาทั้งหมด การรักษาจึงมักเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อระบบต่างๆ
การรักษาโรคด้วยทัศนะแพทย์แผนจีนมักเน้นการปรับสมดุลพื้นฐานของร่างกาย เป็นการสร้างเงื่อนไข ไม่ให้เกิดโรคหรือทำให้โรคถ>ูกควบคุมด้วยภาวะเงื่อนไขทีเปลี่ยนแปลงไป เป็นการรักษาที่ธาตุแท้ และมีลักษณะองค์รวม ร่วมกับการรักษาอาการการแพทย์ในเชิงบูรณาการ คือการแก้ปัญหาทั้งปรากฏการณ์ทีพบ ที่การปรับสมดุลพื้นฐานของร่างกาย ซึ่งเป็นธาตุแท้ของการเกิดโรค โดยเลือกเอาข้อดีข้อเด่นของแต่ละศาสตร์มาร่วมกัน จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงและป้องกันจุดอ่อนของความโน้มเอียงการรักษาทางการแพทย์ที่สุดขั้ว
ที่มา: หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
"หมามุ่ย" ช่วยทำชีวิตสมรสดีขึ้น หลังวิจัยพบช่วยปลุกอารมณ์เซ็กซ์ ผู้ชายรู้สึกปึ๋งปั๋ง หญิงยิ้ม รู้สึกอกเต่งตึง อวัยวะรับสัมผัสเซ็กซ์กระชับขึ้น
เข้าใกล้ก็คัน เดินผ่านก็คัน มองเห็นก็ยังคัน อะไรเอ่ย... เกิดตามไร่ ก็ตัดทิ้ง เกิดในนาก็ตัดทิ้ง เกิดตามบ้านโค่นทิ้งทั้งเหง้า อะไรเอ่ย.....
"หมามุ่ย" ที่ไหนก็ตัดทิ้ง ถางทิ้งหมด แต่ที่นิ่ ไม่ทิ้งครับ เขาเอามทำอะไร ฮั่นแน่ รู้นะว่าคิดอะไรอยู่ อย่างเพิ่งอ่านผ่านไป ข่าวดีสำหรับท่านหญิงและท่านชาย ที่มีปัญหา เรื่อง.....ชีวิตคู่ มันไม่คึกมันไม่คัก
อ่านบทความนี้ดูครับ ...... น่าสนนะ ที่บ้านมีเยอะแยะหากต้องการเดียวจัดให้......
"หมามุ่ย" หรือหมากตำแย เป็นไม้เลื้อยที่คันแสนคัน.....
ชาวศรีสะเกษคอนเฟิร์ม “เม็ดหมามุ่ย” ช่วยทำชีวิตสมรสดีขึ้น หลังวิจัยพบช่วยปลุกอารมณ์เซ็กซ์ ผู้ชายรู้สึกปึ๋งปั๋ง ไม่เหนื่อยง่าย ส่วนฝ่ายหญิงยิ้ม รู้สึกอกเต่งตึง อวัยวะรับสัมผัสเซ็กซ์กระชับขึ้น
ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา
มีการนำเสนอผลงานวิจัยของข้าราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
จำนวนกว่า 800 ผลงาน โดยนางชนัดดา บัลลังค์
นักวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ
จ.ศรีสะเกษ ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง
“หมามุ่ย:สมุนไพรต่อความมั่นคงของชีวิตสมรส” ว่า
จากการศึกษาผลของสมุนไพรหมามุ่ยต่อความสุขของชีวิตสมรส
เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้สมุนไพรหมามุ่ยต่อชีวิตสมรส
กับชาวบ้านในตำบลโพธิ์ อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 6,217 คน
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสมัครใจจำนวน 40 คน เป็นชาย 20 คน และ หญิง 20 คน
ซึ่งก่อนการวิจัยให้ข้อมูลว่า
มีความรู้สึกถึงความมั่นคงต่อชีวิตสมรสในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
โดยใช้เม็ดหมามุ่ยคั่วสุกบดละเอียดให้ชงรับประทาน
และสอบถามความรู้สึกหลังการวิจัย พบว่า
ระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่อชีวิตสมรสก่อนการใช้หมามุ่ยอยู่ในระดับ
ปานกลาง แต่เมื่อได้ดื่มน้ำเม็ดหมามุ่ยคั่วบดละเอียดแล้ว
ความรู้สึกต่อชีวิตสมรสเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก
นางชนัดดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสมุนไพรหมามุ่ย พบว่า มีความพอใจคู่สมรส และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น โดยในผู้หญิงมีความรู้สึกว่าหน้าอกมีความเต่งตึง และอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรับสัมผัสทางเพศมีความกระชับมากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ดี ไม่เหนื่อยง่าย ขณะที่ เพศชายมีความรู้สึกว่า ระหว่างปฏิบัติการไม่เหนื่อยง่าย แถมยังกระฉับกระเฉง จำนวนครั้งที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า การใช้หมามุ่ยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้ใช้ต้องมีความรู้ทางด้าน สมุนไพรเพื่อความปลอดภัย
นางชนัดดา กล่าวด้วยว่า งานวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานการวิจัยมาจากฐานข้อมูลของกรมการปกครองที่พบว่า สถิติการหย่าร้างของคนไทยตั้งแต่ปี 2550-2552 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 100,420 คน ในปี 2550 เพิ่มเป็น 109,277 คน ในปี 2552 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดว่าน่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ชีวิต คู่ ชีวิตสมรสให้มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเพศสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคู่ของมนุษย์มาโดย ตลอด เนื่องจากเป็นความต้องการพื้นฐานในความสุขทางเพศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เหมาะสมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น การปลุกเร้าทางเพศต้องใช้เวลานานขึ้น และการแข็งตัวของอวัยวะเพศก็อาจแข็งตัวช้า
นางชนัดดา กล่าวถึงวิธีการใช้หมามุ่ยว่า ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จะเป็นผู้ควบคุมการใช้หมามุ่ยคั่วสุขบดละเอียด คือ ในแต่ละวันจะใช้ผงหมามุ่ยที่บดแล้ว จำนวน 1 ช้อนชา โดยจะชงผสมกับน้ำให้กับกลุ่มตัวอย่างดื่ม ซึ่งจะเลือกให้ดื่มในช่วงเวลาเย็น ทั้งนี้ ในการทำการทดลอง จะใช้ระยะเวลาในการทดลองเป็นเวลา 45 วัน และจากผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองนั้น พบว่า ก่อนการใช้หมามุ่ยในกลุ่มทดลองนั้นผู้ใช้จะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศแข็งตัว ช้า แต่ภายหลังจากการใช้หมามุ่ยแล้วพบว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศเร็วและนานขึ้น
ที่มา: ค่ายเดินป่าเรียนรู้สมุนไพร ร่วมแชร์สุขภาพดีๆเพื่อพี่น้อง
นางชนัดดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสมุนไพรหมามุ่ย พบว่า มีความพอใจคู่สมรส และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น โดยในผู้หญิงมีความรู้สึกว่าหน้าอกมีความเต่งตึง และอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรับสัมผัสทางเพศมีความกระชับมากขึ้น การมีเพศสัมพันธ์ดี ไม่เหนื่อยง่าย ขณะที่ เพศชายมีความรู้สึกว่า ระหว่างปฏิบัติการไม่เหนื่อยง่าย แถมยังกระฉับกระเฉง จำนวนครั้งที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่า การใช้หมามุ่ยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้ใช้ต้องมีความรู้ทางด้าน สมุนไพรเพื่อความปลอดภัย
นางชนัดดา กล่าวด้วยว่า งานวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานการวิจัยมาจากฐานข้อมูลของกรมการปกครองที่พบว่า สถิติการหย่าร้างของคนไทยตั้งแต่ปี 2550-2552 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 100,420 คน ในปี 2550 เพิ่มเป็น 109,277 คน ในปี 2552 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดว่าน่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือหรือเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ชีวิต คู่ ชีวิตสมรสให้มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเพศสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตคู่ของมนุษย์มาโดย ตลอด เนื่องจากเป็นความต้องการพื้นฐานในความสุขทางเพศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เหมาะสมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น การปลุกเร้าทางเพศต้องใช้เวลานานขึ้น และการแข็งตัวของอวัยวะเพศก็อาจแข็งตัวช้า
นางชนัดดา กล่าวถึงวิธีการใช้หมามุ่ยว่า ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรวงทอง อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จะเป็นผู้ควบคุมการใช้หมามุ่ยคั่วสุขบดละเอียด คือ ในแต่ละวันจะใช้ผงหมามุ่ยที่บดแล้ว จำนวน 1 ช้อนชา โดยจะชงผสมกับน้ำให้กับกลุ่มตัวอย่างดื่ม ซึ่งจะเลือกให้ดื่มในช่วงเวลาเย็น ทั้งนี้ ในการทำการทดลอง จะใช้ระยะเวลาในการทดลองเป็นเวลา 45 วัน และจากผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองนั้น พบว่า ก่อนการใช้หมามุ่ยในกลุ่มทดลองนั้นผู้ใช้จะมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศแข็งตัว ช้า แต่ภายหลังจากการใช้หมามุ่ยแล้วพบว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศเร็วและนานขึ้น
ที่มา: ค่ายเดินป่าเรียนรู้สมุนไพร ร่วมแชร์สุขภาพดีๆเพื่อพี่น้อง
เผยอาหารแสลง : อาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วย 10 โรค
เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควร ปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น
- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า
- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม
- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ
- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม
- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย
- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะหยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว
- คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท้า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไห้ฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ
คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน” การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคลเงื่อนไขของเวลาและสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ
ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น
อาหารแสลงหรืออาหารต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง
๑. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็เกิดโทษ
๒. การกินอาหารชนิดเดียวกัน ซ้ำซาก ก็เกิดโทษ
๓. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะร่างกายในยามปกติ (ลักษณะธาตุของแต่ละบุคคล)
๔. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในขณะที่เป็นโรค
๕. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับยาสมุนไพรที่ใช้รักษาในขณะเป็นโรค
การกินอาหารมากไปหรือน้อยไปและการกินอาหารชนิดเดียวกันอย่างซ้ำซากได้กล่าว มาแล้วในครั้งก่อน ที่จะกล่าวต่อไป คือ หลักการหลีกเลี่ยงอาหารในขณะเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือภายหลังการฟื้นจากการเจ็บป่วย
อาหารกับโรค
๑.คนที่เป็นไข้หวัดไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารที่เย็นมาก หรืออาหารทอด อาหารมัน ซึ่งล้วนแต่ทำให้ย่อยยาก ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือน “อาหารเชื้อเพลิง” หรือการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ
๒. คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือระบบการย่อยไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในร่างกายทำให้โรคหายยาก แนะนำให้กินอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง กินอาหารตามเวลา และเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย
๓. คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัว (ตามภาวะความเสื่อมของร่างกาย) ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ตับ สมอง ถั่ว น้ำมันหมู ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ น้ำมันเนย รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกาย(ความชื้นมีผลให้ เกิดความหนืดของการไหลเวียนต่อร่างกายทุกระบบความร้อนทำให้ภาวะร่างกาย ถูกกระตุ้นทำให้ความดันสูง) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด (ฤทธิ์กระตุ้น) หรืออาหารหวานมาก เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน ฯลฯ (คุณสมบัติร้อน) เราคงได้ยินบ่อยๆว่า มีคนที่เป็นโรคความดันสูง แล้วไปกินทุเรียนร่วมกับเหล้า แล้วหมดสติ เสียชีวิต จากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว
๔. คนที่เป็นโรคตับหรือโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอดๆ มันๆ อาหารหวานจัด เพราะแผนแพทย์จีนถือว่าตับ ถุงน้ำดี มีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของการรับสารอาหารเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย ให้เกิดเลือด พลัง การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนความชื้น ทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้เกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง
๕. คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะรสเค็มทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า เป็นภาระต่อหัวใจในการทำงานหนักเพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อาหารที่มีรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนทำให้ต้องสูญพลังงานมาก และหัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้น โดยสรุปคือ ต้องลดการทำงานของหัวใจและไต โดยไม่เพิ่มปัจจัยต่างๆที่เป็นโทษเข้าไป
๖. คนที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารประเภทแป้งที่มีแคลอรีสูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ฯลฯ แนะนำอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด ฯลฯ
๗. คนที่นอนหลับไม่สนิท ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกชา กาแฟ หรือการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน เพราอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน หรือทำให้หลับไม่สนิท
๘. คนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภท กระเทียม หอม ขิงสด พริกไทย พริก ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้มีความร้อนในตัวสะสมมาก ทำให้ท้องผูก ทำให้เส้นเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ
๙. คนที่มีอาการลมพิษ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคหอบหืด ควรเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ ผลิตภัณฑ์นมหรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ รวมทั้งรสเผ็ด เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้มีอาการผื่น ผิวหนังกำเริบ
๑๐. คนที่เป็นสิว หรือมีการอักเสบของต่อมไขมัน ควรงดอาหารเผ็ดและอาหารมัน เพราะทำให้สะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด (ควบคุมผิวหนัง ขนตามร่างกาย) ทำให้เกิดสิว
หลักการทั่วไป ต้องหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ สุกๆ มีคุณสมบัติที่เย็นมาก ขณะเดียวกันอาหารที่ผ่านกระบวนการมาก อาหารที่ย่อยยาก อาหารทอดมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงภาวะเจ็บป่วยหรือขณะพักฟื้น เป็นภาวะระบบการย่อยดูดซึม (กระเพาะอาหารและม้าม) ทำงานไม่ดี การได้อาหารที่เย็นหรือย่อยยากจะทำให้การย่อย การดูดซึมมีปัญหามากขึ้น ทำให้ขาดสารอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกาย และต้องสูญเสียพลังเพิ่มขึ้นในการทำงานของระบบย่อย อาหารเผ็ด เหล้า และบุหรี่ มีฤทธิ์กระตุ้นและเพิ่มความร้อนในร่างกายทำให้มีการใช้พลังงานมากโดยไม่จำ เป็น
อาหารแสลงในทัศนะแพทย์แผนจีนคืออาหารที่ไม่เย็น (ยิน) หรืออาหารที่ไม่ร้อน (หยาง) จนเกินไป กล่าวคือต้องไม่ดิบ (ต้องทำให้สุก) และต้องไม่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดคุณสมบัติร้อนมากเกินไป (ทอด ย่าง ปิ้ง เจียว ผัด) เพราะสุดขั้วทั้งสองด้านก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
อาหารดิบ ไม่สุก :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก ทำให้เสียสมรรถภาพการย่อยดูดซึมอาหารตกค้าง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ขาดสารอาหาร
อาหารร้อนเกินไป :
ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก มีความร้อนความชื้นสะสม เกิดความร้อนใน ร่างกายมากเกินไป ไปกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นๆ เช่น กระทบปอด ลำไส้ ทำให้ท้องผูก เจ็บคอ ปากเป็นแผล กระทบตับ ทำให้ความดันสูง ตาแฉะ อารมณ์หงุดหงิด กระทบไต ทำให้ปวดเมื่อยเอว ผมร่วง ฯลฯ
อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด
จะได้สารและพลังจากธรรมชาติมากที่สุดอย่างไรก็ตามความเห็นในทางการแพทย์แผน ปัจจุบัน แนะนำให้กินผักสด ผลไม้สด ซึ่งไม่น่าขัดแย้งกัน เพราะเทคนิคการทำอาหารของจีน ต้องไม่ให้ดิบ และสุกเกินไป เพื่อดูดซับสารและพลังจากธรรมชาติให้มากที่สุด ดิบเกินไปจะทำให้เกิดพิษจากอาหาร สุกเกินไปทำให้เสียคุณค่าอาหารทางธรรมชาติ การเลือกกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและมีการปรุงแต่งที่มากเกินไป จะทำให้อาหารฮ่องเต้กลายเป็นอาหารชั้นเลวในแง่หลักโภชนาการ
การเลือกอาหารให้สอดคล้องเหมาะสมไม่ใช่สูตรตายตัวแต่ต้องยืดหยุ่นพลิกแพลง และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล เวลา (เช่น ภาวะปกติ ภาวะป่วยไข้ กลางวัน กลางคืน ฤดูกาล) และสถานที่ (ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม) เพื่อให้เป็นธรรมชาติและยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ
ข้อมูล: facebook นิตยสารหมอชาวบ้าน
ที่มา : www.sanook.com
สาเหตุ และ อาการของโรคเบาหวานในแบบแพทย์แผนจีน
เรื่องของเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin)
ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ผลก็คือ น้ำตาลไม่สามารถเผาผลาญไปใช้เป็นพลังงาน
มีการคั่งค้างของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ น้ำตาลที่คั่งอยู่ในเลือดมากๆ
ก็จะถูกกรองที่ไต มาพร้อมปัสสาวะ ดูดกลับไม่หมด ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน
มีมดขึ้น เรียกว่าเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน มีปัสสาวะบ่อยและมาก
เนื่องจากมีน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ (ไตดูดกลับไม่หมด)
ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำมาก กระหายน้ำ และเนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน
(เพราะขาดอินซูลินที่จะสลายน้ำตาลเป็นพลังงาน) ทำให้ผู้ป่วยหิวเก่ง
ขณะเดียวกันก็จะซูบผอม
เพราะร่างกายจะสลายไขมันและกล้ามเนื้อไปเป็นพลังงานแทน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการบันทึกในตำราแพทย์จีนมาช้านาน เรียกเป็นภาษาจีน ว่า เซียวเข่อ คำว่า เซียว หมายถึง สูญเสีย หรือสลายอาหาร สูญเสียน้ำและสูญเสียพลัง (ร่างกายซูบผอม) คำว่า เข่อ หมายถึง กระหายน้ำ ดื่มมาก ดื่มแล้วไม่หายกระหาย รวมความแล้ว โรคเซียวเข่อ หมายถึง ดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม และปัสสาวะมีรสหวาน เนื่องจากอาการดื่มมาก เป็นอาการที่อยู่ส่วนบนเกี่ยวข้องกับปอด ซางเจียว ช่องไฟธาตุส่วนบน อาการกินมากเป็นอาการที่อยู่ส่วนกลางเกี่ยวข้องกับม้าม จงเจียว ช่องไฟธาตุส่วนกลาง และอาการปัสสาวะบ่อยเกี่ยวข้องกับไต เซี่ยเจียว ช่องไฟธาตุส่วนล่าง ผู้ป่วยในแต่ละรายมีความรุนแรงของโรคในแต่ละอวัยวะไม่เหมือนกัน
สาเหตุของโรคเบาหวานในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนต่างกันไหม
•ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน โรคเบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ ๓.๕ ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในคนอายุหลัง ๔๕ ปีขึ้นไป
•คนอ้วนและหญิงมีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้มาก
•เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม มักมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นโรคนี้
•คนอ้วนหรือกินหวานมากๆ จนอ้วน มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย
•การกินยาคุมกำเนิด ยาจำพวกสตีรอยด์ ทำให้เป็นโรคนี้ได้
•นอกจากนี้ยังเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบจากการดื่มเหล้า มะเร็งตับอ่อน อุบัติเหตุทำให้ตับอ่อนได้รับบาดเจ็บ
สรุป เป็นผลจากกรรมพันธุ์ และภาวะต่างๆ ที่ทำให้การทำงานของตับอ่อนผลิตอินซูลินลดน้อยลง หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
ในทรรศนะแพทย์แผนจีน
สาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน คือ ภาวะร่างกายพื้นฐานมีภาวะยินพร่อง มีปัจจัยร่วม ได้แก่
• การดื่ม การกินไม่ถูกหลัก ทำให้เกิดการสะสมความร้อน สูญเสียสารน้ำ สาเหตุหลักเกิดจากการกินอาหารหวาน อาหารไขมันเป็นเวลานาน รวมทั้งการดื่มสุรา ทำให้กระเพาะอาหารและม้ามทำงานผิดปกติ เกิดความร้อนสะสม เกิดความแห้ง สารน้ำในร่างกายถูกทำลาย
•จิต อารมณ์ขาดสมดุล ความอุดกั้นทางอารมณ์ทำให้เกิดไฟ ทำให้เกิดการทำลายยิน การที่จิต อารมณ์ได้รับการกระตุ้นยาวนาน ทำให้กลไกพลังผิดปกติ พลังถูกปิดกั้น ไม่กระจายตัวตามปกติ นำไปสู่ไฟที่สะสมในร่างกาย เกิดไฟร้อนของระบบปอดและกระเพาะอาหาร ทำให้สูญเสียยินและสารน้ำ
•เพศสัมพันธ์ที่มากเกินควร เกิดการสูญเสียจิงของไต และทำให้ไตพร่อง แพทย์แผนจีนถือว่า การมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินควร ทำให้สูญเสียยินและจิง เมื่อร่างกายขาดยินจะเกิดไฟจากภาวะพร่อง ทำให้เสียยินกระทบถึงปอดและกระเพาะอาหาร เกิดไตพร่อง ปอดแห้ง และกระเพาะอาหารร้อน ซึ่งเป็นอาการของเบาหวาน
การแบ่งชนิดของโรคเบาหวานตามแพทย์แผนจีน และการดำเนินของโรคเป็นอย่างไร
•ภาวะยินพร่อง เป็นเนื้อแท้ของโรค
•ภาวะแห้งร้อน เป็นปรากฏการณ์อาการที่แสดงออก
•เซียวเข่อ แบ่งเป็นส่วนบน (ปอดแห้ง) ส่วนกลาง (กระเพาะอาหารร้อน) ส่วนล่าง (ไตพร่อง) มีอาการหนักเบาของส่วนทั้ง ๓ ต่างกัน
•ถ้าอาการดื่มมากเป็นอาการหลัก กินมาก ปัสสาวะมากเป็นอาการรอง เรียกว่า ซ่างเซียว
•ถ้าอาการกินมากเป็นอาการหลัก ดื่มมาก ปัสสาวะมากเป็นอาการรอง เรียกว่า จงเซียว
•ถ้าอาการปัสสาวะมากเป็นอาการหลัก ดื่มมาก กินมากเป็นอาการรอง เรียกว่า เซี่ยเซียว
•อาการระยะแรกของโรคเบาหวานจะมีลักษณะแห้งร้อน ระยะต่อมาของโรคของยินพร่องร่วมกับแห้งร้อน ระยะสุดท้ายของโรค คือ ยินพร่องเป็นหลัก แล้วทำให้หยางพร่องร่วมด้วย
ตามหลักแพทย์แผนจีน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปอด กระเพาะอาหารและไตอย่างไร มีอาการอื่นๆ ที่ตามมาอย่างไร
โรคเบาหวาน หรือเซียวเข่อ มีสาเหตุพื้นฐานจากยินพร่อง สารน้ำร่างกายถูกทำลาย ทำให้เกิดความแห้งร้อนของอวัยวะภายในจั้งฝู่ โดยเฉพาะปอด กระเพาะอาหารและไต (สำคัญที่สุด คือ ไต) ตามหลักสรีระของศาสตร์แพทย์แผนจีน ปอดเป็นอัวยวะส่วนบนที่มีหน้าที่ปรับและควบคุมน้ำของร่างกาย ถ้าปอดร้อนและแห้ง น้ำจะถูกส่งผ่านโดยตรงไปที่ไต ทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก ขณะเดียวกันน้ำก็ไม่สามารถกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ
• กระเพาะอาหารเป็นทะเลของน้ำและอาหาร (เป็นที่เก็บรวบรวมอาหารและน้ำที่กินเข้าไปสำหรับย่อยสลาย) ถ้ากระเพาะอาหารแห้งและร้อนไฟกระเพาะอาหารจะแกร่ง การย่อยเร็ว หิวเก่ง อุจจาระแห้ง
•ไต มีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำของร่างกาย และมีหน้าที่เก็บสารจิง ถ้าไตขาดสารยินเกิดไฟจากภาวะพร่อง เกิดความร้อนแห้งของไต ทำให้ไตสูญเสียการดูดน้ำกลับเพื่อส่งไปที่ปอด เกิดปัสสาวะมากและบ่อย มีการไหลออกของสารอาหารทำให้มีปัสสาวะรสหวาน
• ปอดแห้งมีผลต่อการกระจายน้ำไปยังกระเพาะอาหารและไต กระเพาะอาหารแห้งและร้อน มีผลกระทบต่อปอดและไต และไตพร่อง ไตแห้งร้อน ก็มีผลต่อปอดแห้ง และกระเพาะอาหารร้อน
• ไตแห้ง ตับก็แห้ง ตับขาดการหล่อเลี้ยง ไฟตับมาก ทำให้เกิดปัญหาของตา (ตับเปิดทวารที่ตา) เช่น ต้อกระจก ทำให้เกิดปัญหาของหู (ไตเปิดทวารที่หู) เช่น หูหนวก หูมีเสียงดัง
แพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคเบาหวานอย่างไร
หลักการรักษาโรคเบาหวาน : ต้องเสริมยิน สร้างสารน้ำ และทำให้ชุ่มชื้นขจัดแห้ง ขับร้อน ขับพิษ เป็นหลัก เวลารักษาต้องคำนึงถึงปอด กระเพาะอาหาร และไตควบคู่กัน
•รักษา "ซ่างเซียว" เบาหวานส่วนบน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ร่วมกับขับร้อนของกระเพาะอาหาร
•รักษา "จงเซียว" เบาหวานส่วนกลาง ให้ขับร้อนของกระเพาะอาหาร เสริมบำรุงไต
•รักษา "เซี่ยเซียว" เบาหวานส่วนล่าง ให้บำรุงไต และเสริมการบำรุงปอด
•ถ้ามีพลังและยินพร่อง ต้องเสริมพลังและบำรุงยิน
•ถ้ามียินและหยางพร่อง ต้องบำรุงยินและหยางคู่กัน
•ถ้ามีเลือด เสมหะอุดกัน ต้องสลายการอุดกันกระจายเลือด
ชนิดของโรคเบาหวาน แบ่งเป็นประเภทๆ ใหญ่ ๓ แบบ
๑. โรคเบาหวานส่วนบน (ซ่างเซียว) ปอดร้อนขาดสารน้ำ
อาการ : คอแห้ง กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ร่วมกับน้ำหนักลด ซูบผอม ปัสสาวะบ่อยและมาก
การตรวจ : ขอบลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝ้าเหลืองขาว ชีพจรแรง เต็ม เร็ว
๒. โรคเบาหวานส่วนกลาง (จงเซียว) กระเพาะอาหารร้อนแกร่ง
อาการ : กินมาก หิวง่าย อุจจาระแห้ง ร่วมกับร่างกายซูบผอม
การตรวจ : ฝ้าเหลืองแห้ง ชีพจรลื่น แรง
ตำรับยา : อวี้หนี่วเจียน
๓. โรคเบาหวานส่วนล่าง (เซี่ยเซียว)
๓.๑ ไตยินพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย ปริมาณมาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และร้อนบริเวณหน้าอก
การตรวจ : ลิ้นแดง ชีพจรจม เล็ก เร็ว
๓.๒ ไตยิน ไตหยางพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย (ดื่ม ๑ ส่วน ปัสสาวะ ๒ ส่วน) กลัวเย็น กลัวหนาว ร่วมกับปัสสาวะขุ่นขาว ใบหน้าดำคล้ำ ใบหูแห้ง เอว เข่าปวดเมื่อย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การตรวจ : ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก ไม่มีแรง
สรุป
โรคเบาหวาน ในศัพท์แพทย์แผนจีน มีชื่อว่า "เซียวเข่อ" มีอาการดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม สาเหตุพื้นฐานเกิดจากยินพร่อง ร่วมกับวิถีการดำเนินชีวิตไม่ได้สมดุล โดยเฉพาะจากอาหารการกิน อารมณ์ ความเครียด และมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินไป ผลที่ตามมาคือ ยินพร่องมีความร้อนแห้งในอวัยวะภายใน ตามด้วยการพร่องของยินและพลัง และท้ายสุดคือ การเสียทั้งไตยิน ไตหยางของร่างกาย ภาวะแห้งร้อนและยินพร่อง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการแสดงออกมากมาย รวมทั้งเกิดเสมหะและเลือดอุดกั้น มีอาการแทรกซ้อนมากมาย เช่น ที่ตา (ต้อกระจก) ที่หู (หูอื้อ) หูมีเสียง ที่ปลายมือปลายเท้า หัวใจ ไตเสื่อม ไตวาย แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เป็นต้น
โรคเบาหวานแสดงออกของโรคมี ๓ ตำแหน่ง เกี่ยวข้องกับปอด กระเพาะอาหาร และไต จึงต้องแบ่งโรคเบาหวานเป็น ๓ ช่วงบน คือ ช่วงบน ช่วงกลาง และช่วงล่าง มีอาการร้อนแห้ง เป็นปรากฏการณ์ แต่ธาตุแท้คือ ยินพร่อง
หลักการรักษา คือ บำรุงยินทำให้เกิดสารน้ำ เสริมความชุ่มชื้น ขจัดความแห้ง และขับความร้อน ปรับเปลี่ยนยาให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายแต่ละบุคคล ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้การรักษาดีขึ้น ขณะเดียวกันต้องระวังภาวะเบาหวานรุนแรงจนทำให้หยางแยกตัวจากยิน จนเกิดภาวะหมดสติ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการควบคุมอาการด้วยยาแผนปัจจุบันค่อนข้างคุมได้รวดเร็ว เพราะทำให้กระตุ้นการสร้างอินซูลินมากขึ้น หรือใช้ฉีดอินซูลินเข้าทดแทน แต่ในแพทย์แผนจีนมุ่งเน้นการปรับสมดุลของร่างกายเป็นหลัก เพื่อให้อวัยวะจั้งฝู่ทำงานปกติ เกิดสมดุลและสามารถสร้างอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้สามารถลดยาเบาหวานทางแพทย์แผนปัจจุบันลงได้ แต่ในรายที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย จำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทน เพราะการปรับสมดุลเพื่อให้ตับอ่อนที่ไม่ทำงานสร้างอินซูลินยังเป็นเรื่องที่ คาดหวังได้ยากให้ทำงานปกติ
หลักการรักษาโรคเบาหวานที่ดีที่สุด คือ แบบผสมผสาน ระยะแรกต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วยยาแผนปัจจุบัน แล้วให้ยาสมุนไพรร่วมกับในการปรับสมดุลร่างกายและร่วมกับการควบคุมปัจจัย อาหาร อารมณ์ เพศสัมพันธ์ให้สมดุล ตรวจเช็กน้ำตาลในเลือดควบคู่กันไป ถ้าระดับน้ำตาลและสภาพร่างกายดีขึ้น (ตรวจแบบแพทย์แผนจีนและอาการแสดงออกดีขึ้น) ก็อาจพิจารณาลดยารักษาโรคเบาหวานลงตามความเห็นของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาควบคุมน้ำตาลทันที ในขณะที่ร่างกายยังไม่สามารถสร้างสมดุล หรือการทำงานของตับอ่อนยังไม่ดีขึ้น ผลการรักษาได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่โดยภาพรวม ควรรักษาโรค (ควบคุมน้ำตาล=แผนปัจจุบัน) และรักษาคน (ปรับสมดุล=แพทย์แผนจีน) ควบคู่ไปด้วยกัน
ที่มา:หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก
โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการบันทึกในตำราแพทย์จีนมาช้านาน เรียกเป็นภาษาจีน ว่า เซียวเข่อ คำว่า เซียว หมายถึง สูญเสีย หรือสลายอาหาร สูญเสียน้ำและสูญเสียพลัง (ร่างกายซูบผอม) คำว่า เข่อ หมายถึง กระหายน้ำ ดื่มมาก ดื่มแล้วไม่หายกระหาย รวมความแล้ว โรคเซียวเข่อ หมายถึง ดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม และปัสสาวะมีรสหวาน เนื่องจากอาการดื่มมาก เป็นอาการที่อยู่ส่วนบนเกี่ยวข้องกับปอด ซางเจียว ช่องไฟธาตุส่วนบน อาการกินมากเป็นอาการที่อยู่ส่วนกลางเกี่ยวข้องกับม้าม จงเจียว ช่องไฟธาตุส่วนกลาง และอาการปัสสาวะบ่อยเกี่ยวข้องกับไต เซี่ยเจียว ช่องไฟธาตุส่วนล่าง ผู้ป่วยในแต่ละรายมีความรุนแรงของโรคในแต่ละอวัยวะไม่เหมือนกัน
•ในทรรศนะแพทย์แผนปัจจุบัน โรคเบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ ๓.๕ ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในคนอายุหลัง ๔๕ ปีขึ้นไป
•คนอ้วนและหญิงมีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้มาก
•เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม มักมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นโรคนี้
•คนอ้วนหรือกินหวานมากๆ จนอ้วน มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย
•การกินยาคุมกำเนิด ยาจำพวกสตีรอยด์ ทำให้เป็นโรคนี้ได้
•นอกจากนี้ยังเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบจากการดื่มเหล้า มะเร็งตับอ่อน อุบัติเหตุทำให้ตับอ่อนได้รับบาดเจ็บ
สรุป เป็นผลจากกรรมพันธุ์ และภาวะต่างๆ ที่ทำให้การทำงานของตับอ่อนผลิตอินซูลินลดน้อยลง หรือไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
ในทรรศนะแพทย์แผนจีน
สาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน คือ ภาวะร่างกายพื้นฐานมีภาวะยินพร่อง มีปัจจัยร่วม ได้แก่
• การดื่ม การกินไม่ถูกหลัก ทำให้เกิดการสะสมความร้อน สูญเสียสารน้ำ สาเหตุหลักเกิดจากการกินอาหารหวาน อาหารไขมันเป็นเวลานาน รวมทั้งการดื่มสุรา ทำให้กระเพาะอาหารและม้ามทำงานผิดปกติ เกิดความร้อนสะสม เกิดความแห้ง สารน้ำในร่างกายถูกทำลาย
•จิต อารมณ์ขาดสมดุล ความอุดกั้นทางอารมณ์ทำให้เกิดไฟ ทำให้เกิดการทำลายยิน การที่จิต อารมณ์ได้รับการกระตุ้นยาวนาน ทำให้กลไกพลังผิดปกติ พลังถูกปิดกั้น ไม่กระจายตัวตามปกติ นำไปสู่ไฟที่สะสมในร่างกาย เกิดไฟร้อนของระบบปอดและกระเพาะอาหาร ทำให้สูญเสียยินและสารน้ำ
•เพศสัมพันธ์ที่มากเกินควร เกิดการสูญเสียจิงของไต และทำให้ไตพร่อง แพทย์แผนจีนถือว่า การมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินควร ทำให้สูญเสียยินและจิง เมื่อร่างกายขาดยินจะเกิดไฟจากภาวะพร่อง ทำให้เสียยินกระทบถึงปอดและกระเพาะอาหาร เกิดไตพร่อง ปอดแห้ง และกระเพาะอาหารร้อน ซึ่งเป็นอาการของเบาหวาน
การแบ่งชนิดของโรคเบาหวานตามแพทย์แผนจีน และการดำเนินของโรคเป็นอย่างไร
•ภาวะยินพร่อง เป็นเนื้อแท้ของโรค
•ภาวะแห้งร้อน เป็นปรากฏการณ์อาการที่แสดงออก
•เซียวเข่อ แบ่งเป็นส่วนบน (ปอดแห้ง) ส่วนกลาง (กระเพาะอาหารร้อน) ส่วนล่าง (ไตพร่อง) มีอาการหนักเบาของส่วนทั้ง ๓ ต่างกัน
•ถ้าอาการดื่มมากเป็นอาการหลัก กินมาก ปัสสาวะมากเป็นอาการรอง เรียกว่า ซ่างเซียว
•ถ้าอาการกินมากเป็นอาการหลัก ดื่มมาก ปัสสาวะมากเป็นอาการรอง เรียกว่า จงเซียว
•ถ้าอาการปัสสาวะมากเป็นอาการหลัก ดื่มมาก กินมากเป็นอาการรอง เรียกว่า เซี่ยเซียว
•อาการระยะแรกของโรคเบาหวานจะมีลักษณะแห้งร้อน ระยะต่อมาของโรคของยินพร่องร่วมกับแห้งร้อน ระยะสุดท้ายของโรค คือ ยินพร่องเป็นหลัก แล้วทำให้หยางพร่องร่วมด้วย
ตามหลักแพทย์แผนจีน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปอด กระเพาะอาหารและไตอย่างไร มีอาการอื่นๆ ที่ตามมาอย่างไร
โรคเบาหวาน หรือเซียวเข่อ มีสาเหตุพื้นฐานจากยินพร่อง สารน้ำร่างกายถูกทำลาย ทำให้เกิดความแห้งร้อนของอวัยวะภายในจั้งฝู่ โดยเฉพาะปอด กระเพาะอาหารและไต (สำคัญที่สุด คือ ไต) ตามหลักสรีระของศาสตร์แพทย์แผนจีน ปอดเป็นอัวยวะส่วนบนที่มีหน้าที่ปรับและควบคุมน้ำของร่างกาย ถ้าปอดร้อนและแห้ง น้ำจะถูกส่งผ่านโดยตรงไปที่ไต ทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก ขณะเดียวกันน้ำก็ไม่สามารถกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ
• กระเพาะอาหารเป็นทะเลของน้ำและอาหาร (เป็นที่เก็บรวบรวมอาหารและน้ำที่กินเข้าไปสำหรับย่อยสลาย) ถ้ากระเพาะอาหารแห้งและร้อนไฟกระเพาะอาหารจะแกร่ง การย่อยเร็ว หิวเก่ง อุจจาระแห้ง
•ไต มีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำของร่างกาย และมีหน้าที่เก็บสารจิง ถ้าไตขาดสารยินเกิดไฟจากภาวะพร่อง เกิดความร้อนแห้งของไต ทำให้ไตสูญเสียการดูดน้ำกลับเพื่อส่งไปที่ปอด เกิดปัสสาวะมากและบ่อย มีการไหลออกของสารอาหารทำให้มีปัสสาวะรสหวาน
• ปอดแห้งมีผลต่อการกระจายน้ำไปยังกระเพาะอาหารและไต กระเพาะอาหารแห้งและร้อน มีผลกระทบต่อปอดและไต และไตพร่อง ไตแห้งร้อน ก็มีผลต่อปอดแห้ง และกระเพาะอาหารร้อน
• ไตแห้ง ตับก็แห้ง ตับขาดการหล่อเลี้ยง ไฟตับมาก ทำให้เกิดปัญหาของตา (ตับเปิดทวารที่ตา) เช่น ต้อกระจก ทำให้เกิดปัญหาของหู (ไตเปิดทวารที่หู) เช่น หูหนวก หูมีเสียงดัง
แพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคเบาหวานอย่างไร
หลักการรักษาโรคเบาหวาน : ต้องเสริมยิน สร้างสารน้ำ และทำให้ชุ่มชื้นขจัดแห้ง ขับร้อน ขับพิษ เป็นหลัก เวลารักษาต้องคำนึงถึงปอด กระเพาะอาหาร และไตควบคู่กัน
•รักษา "ซ่างเซียว" เบาหวานส่วนบน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ร่วมกับขับร้อนของกระเพาะอาหาร
•รักษา "จงเซียว" เบาหวานส่วนกลาง ให้ขับร้อนของกระเพาะอาหาร เสริมบำรุงไต
•รักษา "เซี่ยเซียว" เบาหวานส่วนล่าง ให้บำรุงไต และเสริมการบำรุงปอด
•ถ้ามีพลังและยินพร่อง ต้องเสริมพลังและบำรุงยิน
•ถ้ามียินและหยางพร่อง ต้องบำรุงยินและหยางคู่กัน
•ถ้ามีเลือด เสมหะอุดกัน ต้องสลายการอุดกันกระจายเลือด
ชนิดของโรคเบาหวาน แบ่งเป็นประเภทๆ ใหญ่ ๓ แบบ
๑. โรคเบาหวานส่วนบน (ซ่างเซียว) ปอดร้อนขาดสารน้ำ
อาการ : คอแห้ง กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ร่วมกับน้ำหนักลด ซูบผอม ปัสสาวะบ่อยและมาก
การตรวจ : ขอบลิ้น ปลายลิ้นแดง ฝ้าเหลืองขาว ชีพจรแรง เต็ม เร็ว
๒. โรคเบาหวานส่วนกลาง (จงเซียว) กระเพาะอาหารร้อนแกร่ง
อาการ : กินมาก หิวง่าย อุจจาระแห้ง ร่วมกับร่างกายซูบผอม
การตรวจ : ฝ้าเหลืองแห้ง ชีพจรลื่น แรง
ตำรับยา : อวี้หนี่วเจียน
๓. โรคเบาหวานส่วนล่าง (เซี่ยเซียว)
๓.๑ ไตยินพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย ปริมาณมาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และร้อนบริเวณหน้าอก
การตรวจ : ลิ้นแดง ชีพจรจม เล็ก เร็ว
๓.๒ ไตยิน ไตหยางพร่อง
อาการ : ปัสสาวะบ่อย (ดื่ม ๑ ส่วน ปัสสาวะ ๒ ส่วน) กลัวเย็น กลัวหนาว ร่วมกับปัสสาวะขุ่นขาว ใบหน้าดำคล้ำ ใบหูแห้ง เอว เข่าปวดเมื่อย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
การตรวจ : ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก ไม่มีแรง
สรุป
โรคเบาหวาน ในศัพท์แพทย์แผนจีน มีชื่อว่า "เซียวเข่อ" มีอาการดื่มมาก กินมาก ปัสสาวะมาก ซูบผอม สาเหตุพื้นฐานเกิดจากยินพร่อง ร่วมกับวิถีการดำเนินชีวิตไม่ได้สมดุล โดยเฉพาะจากอาหารการกิน อารมณ์ ความเครียด และมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินไป ผลที่ตามมาคือ ยินพร่องมีความร้อนแห้งในอวัยวะภายใน ตามด้วยการพร่องของยินและพลัง และท้ายสุดคือ การเสียทั้งไตยิน ไตหยางของร่างกาย ภาวะแห้งร้อนและยินพร่อง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการแสดงออกมากมาย รวมทั้งเกิดเสมหะและเลือดอุดกั้น มีอาการแทรกซ้อนมากมาย เช่น ที่ตา (ต้อกระจก) ที่หู (หูอื้อ) หูมีเสียง ที่ปลายมือปลายเท้า หัวใจ ไตเสื่อม ไตวาย แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง เป็นต้น
โรคเบาหวานแสดงออกของโรคมี ๓ ตำแหน่ง เกี่ยวข้องกับปอด กระเพาะอาหาร และไต จึงต้องแบ่งโรคเบาหวานเป็น ๓ ช่วงบน คือ ช่วงบน ช่วงกลาง และช่วงล่าง มีอาการร้อนแห้ง เป็นปรากฏการณ์ แต่ธาตุแท้คือ ยินพร่อง
หลักการรักษา คือ บำรุงยินทำให้เกิดสารน้ำ เสริมความชุ่มชื้น ขจัดความแห้ง และขับความร้อน ปรับเปลี่ยนยาให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายแต่ละบุคคล ร่วมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อให้การรักษาดีขึ้น ขณะเดียวกันต้องระวังภาวะเบาหวานรุนแรงจนทำให้หยางแยกตัวจากยิน จนเกิดภาวะหมดสติ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการควบคุมอาการด้วยยาแผนปัจจุบันค่อนข้างคุมได้รวดเร็ว เพราะทำให้กระตุ้นการสร้างอินซูลินมากขึ้น หรือใช้ฉีดอินซูลินเข้าทดแทน แต่ในแพทย์แผนจีนมุ่งเน้นการปรับสมดุลของร่างกายเป็นหลัก เพื่อให้อวัยวะจั้งฝู่ทำงานปกติ เกิดสมดุลและสามารถสร้างอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้สามารถลดยาเบาหวานทางแพทย์แผนปัจจุบันลงได้ แต่ในรายที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย จำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทน เพราะการปรับสมดุลเพื่อให้ตับอ่อนที่ไม่ทำงานสร้างอินซูลินยังเป็นเรื่องที่ คาดหวังได้ยากให้ทำงานปกติ
หลักการรักษาโรคเบาหวานที่ดีที่สุด คือ แบบผสมผสาน ระยะแรกต้องควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วยยาแผนปัจจุบัน แล้วให้ยาสมุนไพรร่วมกับในการปรับสมดุลร่างกายและร่วมกับการควบคุมปัจจัย อาหาร อารมณ์ เพศสัมพันธ์ให้สมดุล ตรวจเช็กน้ำตาลในเลือดควบคู่กันไป ถ้าระดับน้ำตาลและสภาพร่างกายดีขึ้น (ตรวจแบบแพทย์แผนจีนและอาการแสดงออกดีขึ้น) ก็อาจพิจารณาลดยารักษาโรคเบาหวานลงตามความเห็นของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาควบคุมน้ำตาลทันที ในขณะที่ร่างกายยังไม่สามารถสร้างสมดุล หรือการทำงานของตับอ่อนยังไม่ดีขึ้น ผลการรักษาได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่โดยภาพรวม ควรรักษาโรค (ควบคุมน้ำตาล=แผนปัจจุบัน) และรักษาคน (ปรับสมดุล=แพทย์แผนจีน) ควบคู่ไปด้วยกัน
ที่มา:หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)