มีตอนหนึ่งในพระคัมภีร์เล่มนี้ที่กล่าวถึงลักษณะของร่างกาย (เทหะลักษณะ) 3 ประการ คือ
1. กิสเทหะ คือลักษณะผอม คำว่า กิส แปลว่า ผอม บาง
2. ถุละเทหะ คือลักษณะอ้วน คำว่า ถุละ แปลว่า ไม่ดี ก็ได้ พูดง่ายๆ ว่า ความอ้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดี
3. มัชฌิมเทหะ คือลักษณะปานกลาง ไม่อ้วน ไม่ผอม
ดังที่กล่าวแล้วว่า ตำราแพทย์แผนไทยถือว่าความอ้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดี และเป็นโรคอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
ดังพระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า “คนอ้วนพึงกระทำให้ผอม” โดยบอกยาสมุนไพรไว้ 6 ตำรับ คือ
ตำรับที่ 1 ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้แห้ง 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงละเอียด
วิธีรับประทาน ครั้งละ 1 ช้อนชา (ถ้าน้ำหนักมากก็ใช้เพิ่มขึ้นได้ตามส่วน) ละลายน้ำผึ้งแท้ ถ้าจะให้ได้ผล รับประทานวันละ 4 เวลา ก่อนอาหารและก่อนนอน
ตำรับที่ 2 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย หัวแห้วหมู และบอระเพ็ด เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บนเป็นผงละเอียด
วิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 3 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 5 ชนิด ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ขิงแห้ง เกลือเยาวกะสา (หรือเกลือโปตัสเซียมคาร์บอเนตที่ไม่บริสุทธิ์) ผงเหล็กที่เผาไฟจนร้อนแดง มะขามป้อม ทั้งหมดเอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผง วิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 4 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 7 ชนิด ได้แก่
1. สมอไทย 1 ส่วน
2. สมอพิเภก 1 ส่วน
3. มะขามป้อม 1 ส่วน
4. แก่นประดู่ 3 ส่วน
5. เจตมูลเพลิงแดง 3 ส่วน
6. แก่นขี้เหล็ก 3 ส่วน
7. ขมิ้นชัน 3 ส่วน
วิธีปรุง นำสมุนไพรทั้งหมดใส่น้ำพอท่วมยา ต้มน้ำ 3 ส่วน เอา 1 ส่วน
วิธีรับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ แทรกน้ำผึ้งเล็กน้อย กินวันละ 4 เวลา ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทานยาตำรับนี้ประมาณ 1 เดือน ท่านว่าจะทำให้ “กายอ้วนกลับผอมเป็นปกติดีแล” และมิใช่ทำให้ผอมแห้งแรงน้อยแต่ “มีคุณมากเกิดกำลังดังช้างสาร”
ตำรับที่ 5 ชื่อว่า โสภะนิยะคณะ หมายถึงยาที่ทำให้ผอมและงาม (โสภะ แปลว่า งาม) ประกอบด้วยสมุนไพร 6 ชนิด ได้แก่ หัวแห้วหมู โกฐกระดูก ว่านน้ำ ขมิ้นชัน เจตมูลเพลิง ขิง ทั้งหมดเอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงละเอียดวิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 6 ชื่อ ตรีกฏุก ท่านว่ามีสรรพคุณ “แก้ถุลภาพ ทำให้ผอมแน่น” คือช่วยลดความอ้วน (ถุลภาพ) และทำให้ผอมอย่างมีเนื้อมีหนังไม่ใช่ผอมแห้ง ยาตำรับนี้ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ขิงแห้ง พริกไทยดำ ดีปลี เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงวิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับยาลดความอ้วนทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ยายกเมฆหรือยาผีบอก แต่มีอยู่ในพระคัมภีร์เล่มหนึ่งของแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ส่วนประกอบของยาแต่ละตำรับก็สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาสมุนไพรไทยทั่วไป แต่ต้องเลือกสมุนไพรที่ใหม่และมีคุณภาพดี และต้องรับประทานยาตามขนาดที่บอกไว้ในระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จึงจะเห็นผล
ที่มา:บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
2. ถุละเทหะ คือลักษณะอ้วน คำว่า ถุละ แปลว่า ไม่ดี ก็ได้ พูดง่ายๆ ว่า ความอ้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดี
3. มัชฌิมเทหะ คือลักษณะปานกลาง ไม่อ้วน ไม่ผอม
ดังที่กล่าวแล้วว่า ตำราแพทย์แผนไทยถือว่าความอ้วนเป็นลักษณะที่ไม่ดี และเป็นโรคอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
ดังพระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า “คนอ้วนพึงกระทำให้ผอม” โดยบอกยาสมุนไพรไว้ 6 ตำรับ คือ
ตำรับที่ 1 ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้แห้ง 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงละเอียด
วิธีรับประทาน ครั้งละ 1 ช้อนชา (ถ้าน้ำหนักมากก็ใช้เพิ่มขึ้นได้ตามส่วน) ละลายน้ำผึ้งแท้ ถ้าจะให้ได้ผล รับประทานวันละ 4 เวลา ก่อนอาหารและก่อนนอน
ตำรับที่ 2 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย หัวแห้วหมู และบอระเพ็ด เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บนเป็นผงละเอียด
วิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 3 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 5 ชนิด ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ขิงแห้ง เกลือเยาวกะสา (หรือเกลือโปตัสเซียมคาร์บอเนตที่ไม่บริสุทธิ์) ผงเหล็กที่เผาไฟจนร้อนแดง มะขามป้อม ทั้งหมดเอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผง วิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 4 ประกอบด้วยสมุนไพรแห้ง 7 ชนิด ได้แก่
1. สมอไทย 1 ส่วน
2. สมอพิเภก 1 ส่วน
3. มะขามป้อม 1 ส่วน
4. แก่นประดู่ 3 ส่วน
5. เจตมูลเพลิงแดง 3 ส่วน
6. แก่นขี้เหล็ก 3 ส่วน
7. ขมิ้นชัน 3 ส่วน
วิธีปรุง นำสมุนไพรทั้งหมดใส่น้ำพอท่วมยา ต้มน้ำ 3 ส่วน เอา 1 ส่วน
วิธีรับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ แทรกน้ำผึ้งเล็กน้อย กินวันละ 4 เวลา ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทานยาตำรับนี้ประมาณ 1 เดือน ท่านว่าจะทำให้ “กายอ้วนกลับผอมเป็นปกติดีแล” และมิใช่ทำให้ผอมแห้งแรงน้อยแต่ “มีคุณมากเกิดกำลังดังช้างสาร”
ตำรับที่ 5 ชื่อว่า โสภะนิยะคณะ หมายถึงยาที่ทำให้ผอมและงาม (โสภะ แปลว่า งาม) ประกอบด้วยสมุนไพร 6 ชนิด ได้แก่ หัวแห้วหมู โกฐกระดูก ว่านน้ำ ขมิ้นชัน เจตมูลเพลิง ขิง ทั้งหมดเอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงละเอียดวิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับที่ 6 ชื่อ ตรีกฏุก ท่านว่ามีสรรพคุณ “แก้ถุลภาพ ทำให้ผอมแน่น” คือช่วยลดความอ้วน (ถุลภาพ) และทำให้ผอมอย่างมีเนื้อมีหนังไม่ใช่ผอมแห้ง ยาตำรับนี้ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ขิงแห้ง พริกไทยดำ ดีปลี เอามาอย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงวิธีรับประทาน เหมือนในตำรับที่ 1
ตำรับยาลดความอ้วนทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ยายกเมฆหรือยาผีบอก แต่มีอยู่ในพระคัมภีร์เล่มหนึ่งของแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ส่วนประกอบของยาแต่ละตำรับก็สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาสมุนไพรไทยทั่วไป แต่ต้องเลือกสมุนไพรที่ใหม่และมีคุณภาพดี และต้องรับประทานยาตามขนาดที่บอกไว้ในระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จึงจะเห็นผล
ที่มา:บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น