วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

น้ำสมุนไพรกับการแพทย์แผนไทย

          
            อาหารและ น้ำดื่มเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ 
           อาหารและน้ำดื่มนอกจากจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงแล้ว ในส่วนประกอบของอาหารไทย ยังมีสมุนไพรที่เป็นเครื่องปรุงช่วยรักษาโรค และ อาการบางอย่างได้ 
         ในหลักการการแพทย์แผนไทย กล่าวว่าร่างกายของมนุษย์จะแข็งแรงได้ต้องมีภาวะที่สมดุลของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ 
        ด้วยเหตุผลที่ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มีการแปรเปลี่ยนของสภาวะอากาศหลายลักษณะ ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อความสมดุลย์ของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย และส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่อาศัยธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ประโยชน์ในการปรับสมดุลย์ของร่างกาย เช่น การบริโภคอาหาร หรือน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ซึ่งมีคุณลักษณะของธาตุทั้ง 4 ทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติได้
 
         การดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย สามารถกระทำได้โดยการดื่มตามเวลาใน 1 วัน ที่ธาตุในร่างกายของคนเราเปลี่ยนแปลงไป (กาลสมุฎฐาน) โดยมีการแบ่งเวลาดังนี้


      เวลา 06.00 – 10.00 น. และเวลา 18.00 – 22.00 น.
                    ร่างกายมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ น้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายและปรับสมดุลของธาตุน้ำ น้ำสมุนไพรที่บำรุงร่างกายและปรับสมดุลของธาตุน้ำได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว ฯลฯ

      เวลา 10.00 – 14.00 น. และ 22.00 – 02.00 น.

                    ร่างกายมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ น้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายและปรับสมดุลของธาตุไฟได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสขม เช่น น้ำบัวบก น้ำลูกเดือย ฯลฯ

      เวลา 14.00 – 18.00 น. และเวลา 02.00 – 06.00 น.
                   ร่างกายมักจะเจ็บป่วยด้วยธาตุลม น้ำสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายและปรับสมดุลของธาตุลม ได้แก่ น้ำสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน ได้แก่ น้ำขิง น้ำตะไคร้ ฯลฯ
            
  ในกรณีการเจ็บป่วยด้วย ธาตุดินนั้น  ไม่ได้ขึ้นกับกาลเวลา แต่จะเกิดผลของการผิดปกติของธาตุอื่น ๆ ดังนั้นการดื่มน้ำสมุนไพรหรือน้ำผลไม้เพื่อบำรุงธาตุดินนั้นจึงสามารถกระทำ ในเวลาใดก็ได้
ที่มา:  https://www.facebook.com/photo.php?fbid=368748156570498 set=a.231872970258018.44487.100003059499917&type=1&theater

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น