วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เม็ดบัว

 
          เม็ดบัว หนึ่งในสุดยอดธัญพืช เม็ดบัว ภาษาจีนเรียกว่า เก่าซิก ,หน่อยซิก หรือ หน่อยผ่องจื้อ เป็นธัญพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง ทานได้ทั้งสดและแห้ง มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบมากกว่าข้าว 3 เท่า 
           นอกจากนี้ เม็ดบัว ยังเป็นแหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับถั่วเหลือง และยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินอีกหลายชนิด เช่น วิตามินเอ ,วิตามินซี, วิตามินอี , เกลือแร่ และฟอสฟอรัส วิตามินเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบำรุงประสาท บำรุงไต บำรุงสมอง
           เม็ดบัว สรรพคุณทางยาในการรักษา อาการท้องร่วง ,บิดเรื้อรัง ,สตรีประจำเดือนมามาก , น้ำอสุจิเคลื่อน(น้ำกามออกไม่รู้ตัว) 
           และยังมีการวิจัยพบว่า เม็ดบัวมีสารแอนติออกซิแดนต์ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะและผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ
         ส่วนดีบัว(ต้นอ่อนที่อยู่ในเม็บัวมีรสขม) ยังช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ , ช่วยขยายหลอดเลือด ,แก้กระหาย, อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น 
          เม็ดบัวมีประโยชน์ทางยาสูงมาก แพทย์แผนไทย แนะนำว่า ช่วยบำรุงกำลัง แก้โรคข้อต่างๆ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ส่วนแพทย์แผนจีนบอกว่า ช่วยบำรุงไต ม้าม หัวใจ และตับซึ่งตรงกับงานวิจัยในต่างประเทศที่ระบุว่า

         “สารแอนติออกซิแดนต์จะช่วยปกป้อ
งและบำรุงตับ โดยเฉพาะตับที่ต้องขับสารแอฟลาท็อกซิน(Aflatoxin) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับออกจากร่างกาย การกินเม็ดบัวจึงสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้”
 

เม็ดบัวไทย-จีน ความเหมือนที่แตกต่าง

          การเลือกกิน เม็ดบัวส่วนใหญ่ที่เราเห็นทั่วไ
ป จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนซึ่งจะมีเมล็ดขนาดใหญ่ ผ่านการกะเทาะเปลือก ดึงดีบัว(ต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียวเข้ม)ออก และอบแห้งแล้ว

         ส่วนเม็ดบัวไทยนั้นไม่ค่อยพบวาง
จำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากมีเมล็ดเล็ก จึงไม่เป็นที่นิยม แต่จากผลการวิจัยของ อาจารย์ปริญดา ที่ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ในเม็ดบัวไทยและจีนพบว่า เม็ดบัวไทยมีปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์สูงกว่าเม็ดบัวจีน 5-6 เท่า

         อาจารย์ปริญดาจึงแนะนำว่า ถ้าต้องการให้ร่างกายได้รับสารแ
อนติออกซิแดนต์ปริมาณสูงควรเลือกกินเม็ดบัวไทยดีกว่า โดยเฉพาะเม็ดบัวไทยสด

         วิธีกินคือ ลอกเปลือกออกจากเมล็ด โดยไม่ดึงเยื่อหุ้มเมล็ดและดีบั
วออก กินสดๆทั้งเมล็ด จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านมะเร็งซึ่งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด และดีบัวในปริมาณสูง

        ส่วนชนิดอบแห้งนั้น เรานำมาทำอาหารคาวหวานได้หลากหล
าย ที่คุ้นเคยกันดี คือ น้ำอาร์ซี เม็ดบัวต้มน้ำตาลทรายแดง ผสมในเต้าฮวย หรือเต้าทึง ข้าวอบใบบัว  ข้าวผัดเม็ดบัว , สังขยาเม็ดบัว , เม็ดบัวเชื่อม ,ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เป็นต้น 
 
 ส่วนเคล็ดลับการเลือกซื้อให้ได้ของสดใหม่ คุณภาพดี  มีดังนี้
 
ชนิดอบแห้ง
         1. ควรเลือกเมล็ดที่มีสีเหลืองนวล ถ้ามีสีเหลืองเข้ม แสดงว่าเป็นเม็ดบัวเก่าที่เก็บไ
ว้นานแล้ว เมล็ดไม่แตกหัก และไม่มีฝุ่นละอองปนเปื้อน
          2. ขั้วเมล็ดไม่ดำคล้ำ เพราะจะเป็นเมล็ดที่เก็บไว้นานแ
ล้ว
          3. ไม่มีกลิ่นสาบหรือเหม็นหื่น


ชนิดฝักสด          
            เลือกฝักที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน จะได้เม็ดบัวที่มีเนื้อกรอบ หวานกำลังดี 
          
วิธีปรุงเม็ดบัว

      - นึ่งเม็ดบัวจนสุก นำไปตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง ทานครั้งละ 15 กรัม วันละ 3 ครั้ง เพื่อรักษาอาการท้องเสียเรื้อรั
      - ดื่มน้ำชาที่ต้มจากดีบัวและเก๊กฮวย ช่วยบำรุงสายตา บำรุงสุขภาพ และลดความดันโลหิต

      - นำเม็ดบัว ลำไยแห้ง น้ำตาลกรวด และกุ้ยฮวย ตุ๋นรวมกันด้วยไฟอ่อนๆ ทานบำรุงร่างกาย หัวใจ เลือด และม้าม

      - เนื้อเป็ดนึ่งกับเนื้อขาหน้าหมู ดอกบัวสด ลิ้นจี่ แฮมสุก ทานเป็นอาหารบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร
             ถ้านำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยแห้งจะทำให้สรรพคุณทางยาของเม็ดบัวเพิ่มมากขึ้น
 
ข้อควรระวังการใช้เม็ดบัว
         ผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไม่ควรทานไม่ควรปรุงอาหารที่มีเม็ดบัวในภ
าชนะที่ทำจากเหล็ก เพราะจะทำให้เม็ดบัวกลายเป็นสีด
 
ที่มา: 1.  https://www.facebook.com/photo.php?fbid=368743823237598&set=pcb.368743943237586&type=1&theater
      2. ชมรมคนชอบฟัง สถานีวิทยุจราจรเพื่อสังคม (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=350714995038536&set=a.105245846252120.10354.100003001162661&type=1&theater)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น