วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กรดไหลย้อน





               โรคฮิตที่เป็นกันโดยไม่รู้ตัว โรค GERD นี้เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายอย่างคือ
                     1. อาหารที่กินเข้าไป
                     2. น้ำย่อยหรือกรดน้ำดี
                     3. หูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร และ
                     4. ลมในก ระเพาะอาหารที่ดันขึ้น (ตัวนี้เราเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ) 
                ตัวแปรที่ 1 และ 4 สามารถจับคู่กันได้ เพราะอาหารที่กินเข้าไปอาจจะทำให้เกิดลม(แก๊ส) ในกระเพาะอาหาร ปกติแล้ว หอม กระเทียม อาหารที่ผสมมิ้นต์ เช่น สะระแหน่ ผักแพว และที่มีน้ำมันหอมระเหยเช่น ขิง ข่า ตะไคร้ อบเชย โป๊ยกั๊ก พริกไทย จะขับลมทำให้เรอ หรือผายลมทางทวารหนัก อาหารเหล่านี้ไม่น่าจะมี โทษเป็นเหตุให้หูรูดส่วนปลาย คลายตัว แต่อาหารเหล่านี้จะช่วยให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
                ตัวแปรที่ 2 น้ำย่อยหรือกรดน้ำดี ปกติตับจะสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอล หรือเรียกอีกชื่อว่า lipoprotein ซึ่งได้จาก lipid + protein ตัวแปรอันนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองเพราะมันเปลี่ยนแปลง กว่า ๓๐ ปีแล้วที่ร่างกาย คนไทยได้ ไขมัน (lipid) จากน้ำมันมะพร้าว กะทิ และน้ำมันหมู ซึ่งมีสัดส่วนของไขมันอิ่มตัวสูง โดย ธรรมชาติ ในขณะที่ปัจจุบันคนไทยร้อยละ ๘๐ได้รับประทานไขมันอิ่มตัวสูงด้วยการเติมไฮโดรเจน (Trans fat)ได้แก่ น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีทุกชนิด และร้อยละ ๒๐ บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งได้จาก น้ำมันพืชบีบเย็น (Cold press) ที่ฝรั่งนิยมใช้ทำน้ำสลัดได้แก่ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก- โอลีฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในคนไทยร้อยละ ๒๐ นี้ส่วนใหญ่จะปรุงอาหารด้วยความร้อนเช่น การทอด การผัดซึ่งจะทำให้แขนในโครงสร้างเคมีอีกข้างหนึ่งของน้ำมันบีบเย็นจับกับ ธาตุไฮโดรเจนซึ่งมีอยู่ในน้ำหรืออากาศ กลายเป็นไขมันอิ่มตัวสูง (Trans fat) ได้เช่นกัน 
               คนไข้ ชายคนหนึ่งเป็นโรคเก๊าท์เรื้อรังมานาน อาหารที่กินก็พิถีพิถันไม่กินสัตว์ปีก หน่อไม้ ที่มีกรดยูริคสูง แต่ก็ไม่เคยหายจากโรคนี้ จึงแนะนำให้เลิกกินน้ำมันพืชทุกชนิด แต่คนไข้ก็ยืนยันว่าทุกวันนี้กินแต่น้ำมันมะกอก โอลีฟเท่านั้น ข้าพเจ้าถามว่าได้นำน้ำมันไปทอดหรือผัดด้วยใช่มั้ย คนไข้ก็บอกว่าใช่ ซึ่งบางคนมักจะเจ็บคอ คออักเสบเพราะน้ำมัน พืชมีพิษ แต่การอักเสบของคนไข้รายนี้ไปอยู่ที่ข้อจึงทำให้เป็นโรคเก๊าท์ไม่หาย พอคนไข้ลองงดน้ำมันพืชดู ปรากฎว่าการตรวจเลือดครั้งหลังสุด กรดยูริคต่ำ ลง 
               วิธีการพิสูจน์ว่าน้ำมันชนิดไหนกินไม่ได้ให้สังเกตจาก การล้างจานชามที่เปื้อนน้ำมันชนิดนั้น ถ้าหากต้อง ใช้น้ำยาล้างจานมากในการขจัดคราบไขมันก็ให้สงสัยไว้ก่อน แล้วค่อยพิสูจน์คราบฝังแน่นที่ติดอยู่ตาม กระทะ ผนังเตา ว่าสามารถล้างออกได้ง่ายหรือไม่ ถ้าต้องใช้น้ำส้มสายชู หรือ ส้มมะขามเปียกล้าง หรือน้ำยาพิเศษขจัดคราบก็มั่นใจได้เลยว่า น้ำมันชนิดนั้นกินไม่ได้ เพราะถ้ามันติดแน่นขนาดนี้ใน อุณหภูมิห้องได้ มันก็จะติดในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้ตีบตันเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ขณะเดียวกันมันก็สามารถทำให้เส้นเลือดฝอยไตตีบตัน ทำให้เกิดโรคไตชนิดต่างๆ ได้ เมื่อกรดน้ำดี(น้ำย่อย)ผิดปกติ ก็ย่อมทำให้การย่อยอาหารมีมลพิษในกระเพาะอาหารได้ แก๊สที่เกิดจากการ เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ในกระเพาะอาหาร ย่อมมากขึ้นและดันหูรูดปลายหลอดอาหารให้เปิดออกได้ ถ้าถามว่ากรดน้ำดีผิดปกติอย่างไร เชี่อว่าความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น เพราะอาหารที่กินส่วนใหญ่ มีน้ำมันพืชเป็นองค์ประกอบ(ไขมันคือ fatty acid) โดยปกติแล้วไขมันจะถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ในลำไส้เล็กตอนต้น ในขณะที่มันอยู่ในกระเพาะอาหารมันจะเสริมความเป็นกรดให้กับกรดน้ำดีซึ่งจะทำ ให้กระเพาะอาหาร เป็นแผลได้ เราจึงพบว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารมักชอบกินอาหารทอดเป็นประจำ และผู้ป่วยโรค มะเร็งกระเพาะอาหารก็เช่นกัน 
              ส่วนตัวแปรที่ 3 หูรูดคลาย หรือหย่อนนั้นไม่มีใครเห็น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามันต้องเปิด กรดจึงไหล ย้อนกลับได้ ในกระเพาะอาหารนั้นมีความเป็นกรดสูงเกินไป ทำให้เกิด ปฏิกริยาเคมี เป็นฟองฟูขึ้นเพราะแก๊สจนล้นกระเพาะอาหารตอนบน เลยขึ้นมาถึงหลอดอาหารที่คอ ผู้ป่วย จึงได้รสเปรี้ยว และบางทีรสขม จากกรดน้ำดี 

              วิธีแก้โรคนี้ทำได้ 2 ทางคือ 
                  1.แก้ที่ lipid และ 
                  2. แก้ที่ protein ซึ่งจะกลายเป็น คอเลสเตอรอลในร่างกายการแก้ที่ง่ายที่สุดคือ หยุดกินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี และน้ำมันพืชบีบเย็นที่นำไปทอด ผัด ส่วนการแก้ที่ protein ที่กินเข้าไปนั้นต้องถือ มังสะวิรัติ ถ้าใครไม่อยากเป็นมังสะวิรัติก็แก้เฉพาะงดกินน้ำมันพืช เพราะปกติแล้วเนื้อสัตว์ที่เรากินเข้าไปจะมีทั้งโปรตีนและไขมันในตัวมันแล้ว ดังนั้นตับก็สามารถสร้าง คอเลสเตอรอลได้ แม้ว่าเนื้อสัตว์จะปนเปื้อนเคมีต่างๆ แต่ก็ยังจำเป็นมากกว่าน้ำมันพืช

ที่มา:  หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น