วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สาเหตุของการเกิดนี่วและวิธีลดปัจจัยเสี่ยง

     นิ่วในไต คือ การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซี่ยมฟอสเฟต และยูเรต ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและการอักเสบ ในท่อไต ส่งผลให้เซลล์บุท่อไตถูกทำลาย ตำแหน่งที่ท่อไตถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึดและรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด

     ในคนปกติที่มีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะสูงเพียงพอ จะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ โดยสารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลงและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้ นอกจากสารยับยั้งนิ่วกลุ่มนี้แล้วโปรตีนในปัสสาวะหลายชนิด เช่น โปรตีนแทมฮอสฟอล และออสทีโอพอนติน ยังหน้าที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะและเมื่อเคลือบที่ผิวผลึกจะช่วยขับ ผลึกออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีหลายงานวิจัยระบุว่าความผิดปกติของการสังเคราะห์และการทำงานของ โปรตีนยับยั้งนิ่วเหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคนิ่วไต

อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
      อาการของโรคนิ่วนั้นเกิดจากการที่มีก้อนนิ่วไปอุดตันตามที่ต่างๆ ในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะขัดกระปริกระปรอย หากเป็นในระยะแรกร่างกายอาจขับก้อนนิ่วออกมาได้เองทางปัสสาวะ ซึ่งจะพบตะกอนเหมือนก้อนกรวดเล็กๆ ปนออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีการอุดตันที่มากขึ้น มีการเสียดสีและทำให้เกิดการบาดเจ็บมีเลือดออก ส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงขึ้นจากเลือดหรือบางกรณีมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ เนื่องจากมีเนื้อบางส่วนหลุดลอกออกมาด้วย การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดหลังขึ้นได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจะมีอาการไข้ร่วมด้วย หากปล่อยให้เป็นนิ่วไปนานๆ โดยมิได้รับการรักษาจะทำให้ไตบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่างและทำงานผิดปกติมากขึ้นและนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้นการรักษาโดยการผ่าตัดออกจะทำให้เสียเนื้อไตไป บางส่วนด้วย หรือหากเป็นมากๆ อาจต้องตัดไตข้างนั้นทิ้ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี

     สาเหตุของการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่า สภาวะต่อไปนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จากการศึกษาทาง ระบาดวิทยา พบว่าสาเหตุที่เกี่ยวข้องนั้นเกี่ยวข้องกับสาเหตุภายในร่างกายของผู้ป่วยเอง และ สภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วย

     ก.สาเหตุความผิดปกติที่เกี่ยวกับภายในตัวผู้ป่วยเอง
        1.กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยที่พ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้

        2.อายุและเพศ  นิ่วในไต พบใน ชายมากกว่าหญิงถึง 2 ต่อ1 พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็กนิ่วในกระเพาะปัสสาวะพบมากในชายมากกว่าหญิงถึง 7 ต่อ 1 พบมากในเด็กชายอายุน้อยกว่า 7 ปี และในผู้ใหญ่ในช่วงอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป

       3.ความผิดปกติในการทำงานของต่อม พาราไทรอยด์ ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calciumออกมามากกว่าปกติ

       4.มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือ เกิดขึ้นภายหลัง

        5.ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะอันเกิดจากมีสารต่างๆถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือ สูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในน้ำปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น

        6.ความเป็นกรด/ด่างของน้ำปัสสาวะ ปัสสาวะที่มีฤทธิ์เป็นกรดมากจะเกิดการตกผลึกของ กรด ยูริค,ซีสตีน, ส่วนปัสสาวะที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดการตกตะกอนของผลึกสารจำพวก Oxalate,Phosphate และ Carbonate

        7.การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

        8.วัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ

        9.ยาบางอย่างทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวก Phosphate ได้ง่าย

     ข.สาเหตุร่วมที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วย

       1.สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะมักอยู่ในบริเวณที่ราบสูง ประเทศไทยเรา พบมากในภาคอิสานและเหนือ

       2.สภาวะอากาศและฤดูกาล ในฤดูร้อนจะพบว่าผป.เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะมา รพ.กันมาก อาจเนื่องจากเสียเหงื่อมากทำให้ปัสสาวะเข้มข้นทำให้นิ่วโตเร็วขึ้นจึงเกิด อาการขึ้น แต่ในฤดูหนาวเสียเหงื่อน้อย ปัสสาวะเจือจาง และ ปัสสาวะมีจำนวนมาก

      3.ปริมาณน้ำดื่ม ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ถ้าดื่มน้ำน้อย และยังอาจเกี่ยวกับ เกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ำของแต่ละท้องถิ่น

      4.สภาพโภชนาการการบริโภคอาหารนานาชนิด และการดื่มน้ำเป็นผลให้มีการเพิ่ม/ลดของสารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของก้อนนิ่ว เช่น การกินอาหารเครื่องในสัตว์,ยอดผัก,สาหร่าย, จะทำให้เกิดกรดยูริคได้การกินอาหารจำพวกผักที่มีสาร ออกซาเลทสูง เช่น ผักโขม,ผักแผว, หน่อไม้,ชะพลู ก็จะมีโอกาสเกิดนิ่ว พวกออกซาเลท เด็กเล็กที่ขาดอาหารพวกโปรตีนจะเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะมากการขาด วิตามิน เอ หรือ ได้รับ วิตามินดี มากเกินไป ก็ทำให้เกิดนิ่วได้

     5.อาชีพ ผู้มีอาชีพเกษตรกร ทำงานกลางแจ้ง ก็จะมีการเสียเหงื่อมาก ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้น ก็อาจเกิดการตกผลึก ของสารละลายในน้ำ ปัสสาวะเกิดนิ่วขึ้นได้ผู้ที่มีรายได้ต่ำ ก็จะบริโภคอาหารแป้งและผักมากโปรตีนน้อย ทำให้เกิดนิ่วจำพวกออกซาเลทได้ง่ายผิดกันกับผู้ที่มีรายได้สูงมีการบริโภค อาหาร โปรตีน ,ไขมันมากกว่าปกติ ทำให้เกิด เป็นนิ่วพวกกรดยูริค และ นิ่วแคลเซี่ยมสูง
๕ อ.ของการเกิดโรคค่ะ

สาเหตุของการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่า สภาวะต่อไปนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จากการศึกษาทาง  ระบาดวิทยา พบว่าสาเหตุที่เกี่ยวข้องนั้นเกี่ยวข้องกับสาเหตุภายในร่างกายของผู้ป่วยเองและ สภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วย
ก.สาเหตุความผิดปกติที่เกี่ยวกับภายในตัวผู้ป่วยเอง

1.กรรมพันธ์ ผป.ที่พ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้

2.อายุและเพศ 
นิ่วในไต พบใน ชายมากกว่าหญิงถึง 2 ต่อ1 พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะพบมากในชายมากกว่าหญิงถึง 7 ต่อ 1
พบมากในเด็กชายอายุน้อยกว่า 7 ปี และในผู้ใหญ่ในช่วงอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป

3.ความผิดปกติในการทำงานของต่อม พาราทัยรอยด์ 
ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calciumออกมามากกว่าปกติ

4.มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือ เกิดขึ้นภายหลัง

5.ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ
อันเกิดจากมีสารต่างๆถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือ สูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในน้ำปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น

6.ความเป็นกรด/ด่างของน้ำปัสสาวะ ปัสสาวะที่มีฤทธิ์เป็นกรดมากจะเกิดการตกผลึกของ กรด ยูริค,ซีสตีน, ส่วนปัสสาวะที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดการตกตะกอนของผลึกสารจำพวก Oxalate,Phosphate และ Carbonate

7.การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

8.วัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ

9.ยาบางอย่าง
ทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวก Phosphate ได้ง่าย

ข.สาเหตุร่วมที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วย

1.สภาพภูมิศาสตร์
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะมักอยู่ในบริเวณที่ราบสูง ประเทศไทยเรา พบมากในภาคอิสานและเหนือ

2.สภาวะอากาศและฤดูกาล
ในฤดูร้อนจะพบว่าผป.เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะมา รพ.กันมาก อาจเนื่องจากเสียเหงื่อมากทำให้ปัสสาวะเข้มข้นทำให้นิ่วโตเร็วขึ้นจึงเกิดอาการขึ้น แต่ในฤดูหนาวเสียเหงื่อน้อย ปัสสาวะเจือจาง และ ปัสสาวะมีจำนวนมาก

3.ปริมาณน้ำดื่ม
ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ถ้าดื่มน้ำน้อย และยังอาจเกี่ยวกับ เกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ำของแต่ละท้องถิ่น

4.สภาพโภชนาการ
การบริโภคอาหารนานาชนิด และการดื่มน้ำเป็นผลให้มีการเพิ่ม/ลดของสารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของก้อนนิ่ว เช่น การกินอาหารเครื่องในสัตว์,ยอดผัก,สาหร่าย, จะทำให้เกิดกรดยูริคได้
การกินอาหารจำพวกผักที่มีสาร ออกซาเลทสูง เช่น ผักโขม,ผักแผว, หน่อไม้,ชะพลู ก็จะมีโอกาสเกิดนิ่ว พวกออกซาเลท เด็กเล็กที่ขาดอาหารพวกโปรตีนจะเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะมาก
การขาด วิตามิน เอ หรือ ได้รับ วิตามินดี มากเกินไป ก็ทำให้เกิดนิ่วได้

5.อาชีพ
ผู้มีอาชีพเกษตรกร ทำงานกลางแจ้ง ก็จะมีการเสียเหงื่อมาก ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้น ก็อาจเกิดการตกผลึก ของสารละลายในน้ำ ปัสสาวะเกิดนิ่วขึ้นได้
ผู้ที่มีรายได้ต่ำ ก็จะบริโภคอาหารแป้งและผักมากโปรตีนน้อย ทำให้เกิดนิ่วจำพวกออกซาเลทได้ง่าย
ผิดกันกับผู้ที่มีรายได้สูงมีการบริโภค อาหาร โปรตีน ,ไขมันมากกว่าปกติ ทำให้เกิด เป็นนิ่วพวกกรดยูริค และ นิ่วแคลเซี่ยมสูง

     
     การที่ผู้ป่วยดูแลตนเองทั้งร่างกาย จิตใจ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของ การเกิดนี่ว ทำให้ไม่มีโรคนี่วหรือเป็นซ้ำน้อยลง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ค่ะ

      1. ควรดื่มน้ำปริมาณมาก ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน หรือให้ได้ปริมาตรของปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดโอกาสการก่อผลึกนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

      2. บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม

        2.1 อาหารจำพวกผักและผลไม้ เป็นแหล่งของสารยับยั้งการเกิดนิ่ว และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยให้ปริมาณของซิเทรต โพแทสเซียม และความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น และยังลดการทำลายของเซลล์เยื่อบุท่อไต จึงสามารถยับยั้งการเกิดนิ่วได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีไฟเบอร์ช่วยลดแคลเซียมในปัสสาวะและยังช่วยลดไขมันใน เลือดได้อีกด้วย

       2.2 ไขมันจากพืชและไขมันจากปลา สามารถลดปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะได้ดีกว่าไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์อื่นๆ ลดโอกาสการเกิดนิ่วซ้ำ

       2.3. ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวานและเค็มมาก และอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ หนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน โดยปกติในผู้ใหญ่ไม่ควรได้รับโปรตีนจากสัตว์เกิน 150 กรัมต่อวัน การบริโภคอาหารโปรตีนสูงจะทำให้เพิ่มสารก่อนิ่วและเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วสูง มาก

       2.4 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง ได้แก่ งา ผักโขม ถั่วต่างๆ เช่นถั่วลิสง ชอกโกแลต และชา เป็นต้น ในผู้ป่วยชนิดแคลเซียมออกซาเลต หากจำเป็นต้องบริโภคควรรับประทานควบคู่ไปกับแคลเซียมหรือดื่มนมจะช่วยลด ปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะ

       2.5 เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ปัจจุบันพบว่าการลดอาหารที่มีแคลเซียมในผู้ป่วยโรคนิ่ว นอกจากจะทำให้สมดุลของแคลเซียมเปลี่ยนแปลง ยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกในอนาคตและยังทำให้ปริมาณสารออกซาเลตใน ปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากแคลเซียมจะไปจับและยับยั้งการดูดซึมออกซาเลตทางลำไส้จึงช่วยลด ระดับออกซาเลตในปัสสาวะได้ ภาวะปกติร่างกายควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1000 มิลลิกรัมต่อวัน

      3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นเวลาอย่างน้อย 10-20 นาทีทุกวัน เช่น การเดินจะช่วยทำให้นิ่วขนาดเล็กหลุดได้ การเดินสมาธิ โยคะ ไทเก๊ก ทำให้การทำงานของร่างกายดีขึ้นและลดความเครียด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดก้อนนิ่ว

นอกเหนือจากการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ร่วมกับการลดความเครียดสามารถช่วยป้องกันการเกิดนิ่วไตซ้ำได้

อาหารเสริม วิตามิน กินอะไรช่วยหยุดนิ่วในไต

      ในทางการแพทย์มีการใช้ยาหลากหลายเพื่อรักษาโรคนิ่ว อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและมีผลข้างเคียง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะลดโอกาสการเกิดนิ่ว คือการควบคุมอาหารดังที่กล่าวข้างต้น มีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคนิ่ว ดังต่อไปนี้

      1. การดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำมะนาวเข้มข้น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระและซิเทรตที่ดีมาก สามารถยับยั้งการก่อนิ่วและลดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไตได้ดี

     2. ควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยให้มีดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) อยู่ในระดับปกติ โดยให้มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 23.5 kg/m2

     3. ผู้ที่มีภาวะออกซาเลตในปัสสาวะสูง ควรได้รับ แมกนีเซียมและวิตามินบี 6 เสริม เพื่อช่วยลดการสร้างของออกซาเลตในตับ

     4.ไม่ควรรับประทานวิตามินซีมากกว่า 500 มก.ต่อ วัน เพราะจะไปเพิ่มออกซาเลตในปัสสาวะและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่ว

     5. การคลายเครียดด้วยการบริหารร่างกาย แบบโยคะ หรือใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อลดความเครียด เช่น การสร้างจินตภาพ เพื่อผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงงดสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเครียดของร่างกายที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไต

     6. หลังออกกำลังกาย หรือทำงานหนักในที่มีอากาศร้อน สูญเสียเหงื่อมาก จะต้องดื่มน้ำชดเชยให้เพียงพอ หรือควรดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวันประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดการอิ่มตัวของสารก่อนิ่วและการตกผลึกในปัสสาวะ

การป้องกันมิให้เป็นนิ่วซ้ำอีก

      มีวิธีง่าย ๆ คือ ควรรู้จักหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นต้นเหตุของการเกิดนิ่ว โดยมีหลักดังนี้
      1. นิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ควรลดอาหารที่มีปริมาณแคลเซียม และออกซาเลตสูงพร้อม ๆ กัน และลดอาหารเค็มจัดหรือวิตามินซีเกินความจำเป็น (ปกติร่างกายต้องการวิตามิน ซี วันละ 400-500 มิลลิกรัม ไม่ควรให้เกินวันละ 1 กรัม เพราะวิตามิน ซี ทำให้มีการดูดซึมของแคลเซียมและมีการสร้างออกซาเลตสูง)

      2. นิ่วชนิดกรดยูริกและเกลือยูริก โดยเฉพาอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดสูง หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ ควรเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เพราะตับจะเปลี่ยนสารนี้ ให้เป็นกรดยูริก และขับออกทางปัสสาวะ จึงควรงดอาหารที่มีพิวรีนสูง และไม่ควรกินอาหารที่มีพิวรีนปานกลางมากเกินไป

ที่มา:  หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น