วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิทยาศาสตร์ในคัมภีร์อติสาร


แนวคิดของคัมภีร์อติสาร

- โบราณเชื่อว่า การกินอาหารมีผลก่อโรคและรักษาโรค โดยใช้หลัก ทฤษฎีธาตุ การเสียสมดุลของธาตุ และการดำเนินไปของการกินอาหารไม่ถูกกับธาตุและไม่ถูกกับโรค และทำให้เกิดปัญหาอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนรุนแรง ถ้าเล็กน้อยหรือเริ่มต้น เรียก อชินนะ ถ้าหนักมาก เรียก อติสาร

- อติสารมี 2 ประเภท คือ อติสารโบราณกรรม 5 และอติสารปัจจุบันกรรม 6

- โบราณกรรม คือ โรคที่เรื้อรังมา ส่วนปัจจุบันกรรมคือ โรคที่เกิดใหม่ อติสารโบราณกรรมมีอาการหนักกว่าอติสารปัจจุบันกรรม สำหรับอาการสำคัญ คือ ระบบขับถ่ายผิดปกติ ทั้งสี กลิ่น จำนวนของอุจจาระและมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไข้ และอาการทางสมองและประสาท อันเนื่องมาจากขาดแร่ธาตุสำคัญ

- อติสารเป็นโบราณกรรม 5 คือ อมุธาตุอติสาร ปฉัณณธาตุอติสาร รัตตธาตุอติสาร มุศกายธาตุอติสาร กาฬธาตุอติสาร

- อติสารเป็นปัจจุบันกรรม 6 คือ อุทรวาตอติสาร สุนทรวาตอติสาร ปัสสยาวาตอติสาร กุจฉิยาวาตอติสาร โกฐฐาสยวาตอติสาร อุตราวาตอติสาร



คัมภีร์อติสารและความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน

- คัมภีร์อติสารมีประโยชน์ในการวิจัยค้นคว้ายารักษาโรคท้องเดินเรื้อรัง และโรคท้องเดินจากอาหารเป็นพิษ อชิณโรคหรือโรคที่เกิดจากการกินผิด 4 ประการ คือ เสมหะอชิณ ปิตตะอชิณ วาตะอชิณ และสันนิปาตะอชิณ

- อติสารเป็นโบราณกรรม 5 มีความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ
◦อมุธาตุอติสาร และปฉัณณธาตุอติสาร คือ อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งคนไทยสมัยก่อนเป็นกันมาก ปัจจุบันต้องผ่าตัดส่วนที่อักเสบทิ้ง
◦รัตตธาตุอติสาร คือ มะเร็งในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบ
◦มุศกายธาตุอติสาร คือ มะเร็งในลำไส้
◦กาฬธาตุอติสาร คือ อาการของโรคตับ ตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี

- อติสารเป็นปัจจุบันกรรม 6 มีความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ
◦อุทรวาตอติสาร เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของลำไส้ ปวดท้อง ท้องขึ้นประจำ
◦สุนทรวาตอติสาร เป็นโรคที่เกิดก้อนเนื้อในอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ม้ามโต หรือมีน้ำในช่องท้องที่ปัจจุบันเรียกว่า แอคไซดตีส
◦ปัสสยาวาตอติสาร เกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้เกิดท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยอาการทางสมองด้วย
◦โกฐฐสยาวาตอติสาร เกิดจากมีปัญหาในระบบการย่อยอาหาร ทำให้อาหารบูดเน่ามีลมมากในลำไส้
◦กุจฉิยาวาตอติสาร เป็นอาการปวดมวนท้อง ถ่ายแบบกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่
◦อุตราวาตอติสาร ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นบิด
 

รูปภาพ : วิทยาศาสตร์ในคัมภีร์อติสาร
 
      แนวคิดของคัมภีร์อติสาร
 
-          โบราณเชื่อว่า การกินอาหารมีผลก่อโรคและรักษาโรค โดยใช้หลัก ทฤษฎีธาตุ การเสียสมดุลของธาตุ และการดำเนินไปของการกินอาหารไม่ถูกกับธาตุและไม่ถูกกับโรค และทำให้เกิดปัญหาอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนรุนแรง ถ้าเล็กน้อยหรือเริ่มต้น เรียก อชินนะ ถ้าหนักมาก เรียก อติสาร
 
-          อติสารมี 2 ประเภท คือ อติสารโบราณกรรม 5 และอติสารปัจจุบันกรรม 6
 
-          โบราณกรรม คือ โรคที่เรื้อรังมา ส่วนปัจจุบันกรรมคือ โรคที่เกิดใหม่ อติสารโบราณกรรมมีอาการหนักกว่าอติสารปัจจุบันกรรม สำหรับอาการสำคัญ คือ ระบบขับถ่ายผิดปกติ ทั้งสี กลิ่น จำนวนของอุจจาระและมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไข้ และอาการทางสมองและประสาท อันเนื่องมาจากขาดแร่ธาตุสำคัญ
 
-          อติสารเป็นโบราณกรรม 5 คือ อมุธาตุอติสาร ปฉัณณธาตุอติสาร รัตตธาตุอติสาร มุศกายธาตุอติสาร กาฬธาตุอติสาร
 
-          อติสารเป็นปัจจุบันกรรม 6 คือ อุทรวาตอติสาร สุนทรวาตอติสาร ปัสสยาวาตอติสาร กุจฉิยาวาตอติสาร โกฐฐาสยวาตอติสาร อุตราวาตอติสาร
 
 
 
   คัมภีร์อติสารและความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน
 
-          คัมภีร์อติสารมีประโยชน์ในการวิจัยค้นคว้ายารักษาโรคท้องเดินเรื้อรัง และโรคท้องเดินจากอาหารเป็นพิษ อชิณโรคหรือโรคที่เกิดจากการกินผิด 4 ประการ คือ เสมหะอชิณ ปิตตะอชิณ วาตะอชิณ และสันนิปาตะอชิณ
 
-          อติสารเป็นโบราณกรรม 5 มีความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ
 ◦อมุธาตุอติสาร และปฉัณณธาตุอติสาร คือ อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งคนไทยสมัยก่อนเป็นกันมาก ปัจจุบันต้องผ่าตัดส่วนที่อักเสบทิ้ง
 ◦รัตตธาตุอติสาร คือ มะเร็งในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบ
 ◦มุศกายธาตุอติสาร คือ มะเร็งในลำไส้
 ◦กาฬธาตุอติสาร คือ อาการของโรคตับ ตับอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี
 
-          อติสารเป็นปัจจุบันกรรม 6 มีความสัมพันธ์กับการแพทย์แผนปัจจุบัน คือ
 ◦อุทรวาตอติสาร เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของลำไส้ ปวดท้อง ท้องขึ้นประจำ
 ◦สุนทรวาตอติสาร เป็นโรคที่เกิดก้อนเนื้อในอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ม้ามโต หรือมีน้ำในช่องท้องที่ปัจจุบันเรียกว่า แอคไซดตีส
 ◦ปัสสยาวาตอติสาร เกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้เกิดท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยอาการทางสมองด้วย
 ◦โกฐฐสยาวาตอติสาร เกิดจากมีปัญหาในระบบการย่อยอาหาร ทำให้อาหารบูดเน่ามีลมมากในลำไส้
 ◦กุจฉิยาวาตอติสาร เป็นอาการปวดมวนท้อง ถ่ายแบบกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่
 ◦อุตราวาตอติสาร ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นบิด 
 
ที่มา หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น