วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

6 วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อนในทัศนะแพทย์จีน







1. ไม่ควรดื่ม น้ำแข็ง หรือ ดื่มน้ำเย็นจัด
                ฤดูร้อน อากาศร้อน ต้องหาทางช่วยดับความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนกระทบร่างกายมากเกินไป เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่วิธีการให้ความเย็นแทนที่มากเกินไป เช่น กินน้ำแข็งอยู่ในที่ที่มีความเย็น กินแต่อาหารที่มีความเย็น ฯลฯ นับว่าไม่เหมาะสมโดยทั่วไปเรามักดื่มน้ำเย็นๆ น้ำใส่น้ำแข็ง น้ำชาแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง น้ำอัดลม ผลไม้แช่เย็น เช่นแตงโม สับปะรด ฯลฯ
ของเย็นๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร น้ำเย็นปริมาณมากจะไปเจือจางน้ำย่อย และ มีผลให้เลือดที่มาหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยลดน้อยลงทำให้สมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง ก่อให้เกิดโรคกระเพาะลำไส้อักเสบได้ง่าย คนที่เป็นโรคกระเพาะ และเป็นแผลอักเสบอยู่แล้ว ก็จะกำเริบได้ง่าย หรือคนที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
หากดื่มน้ำเย็น ก็จะยิ่งทำให้มีอาการไอ และ หอบมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ก็มีส่วนทำให้เกิดท้องร่วงท้องเสียอีกด้วย
 

2. เครื่องดื่มที่เหมาะสมในหน้าร้อน
                ในฤดูร้อน ที่เรามีการสูญเสียน้ำทางเหงื่อมาก การทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปที่ดี คือ การดื่มน้ำเปล่า (ที่สุกแล้ว) หรือ ถ้าจะเสริมปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เกลือ หรือสมุนไพรอื่นๆ ก็สามารถเลือกได้ตามความชอบและความเหมาะสม เช่นการดื่มชาร้อน น้ำเก๊กฮวย น้ำดอกสายน้ำผึ้ง น้ำใบไผ่ น้ำบ๊วย น้ำถั่ว ช่วยลดความร้อนของหัว ใจ (การไหลเวียนเลือด) ทำให้ตาสว่าง เพิ่มน้ำในร่างกาย บำรุงตับ บำรุงไต เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อย และดูดซึมอาหาร ขับปัสสาวะเสริมพลังร่างกาย

การเติมน้ำตาลและเกลือ (ในปริมาณที่พอเหมาะ) ในเครื่องดื่มต่างๆ จะช่วยเสริมพลังและ ป้องกันการสูญเสียเกลือโซเดียมของร่างกายได้ โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้ง หรือใช้แรงงานมาก
ตัวอย่าง เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพหน้าร้อน

- ใบบัว สด (บัว หลวง) ๒๐กรัม น้ำ ๑,๐๐๐ ซีซี นำมาต้ม เวลาดื่มเติมน้ำตาลเล็กน้อย จะช่วยขับร้อน ทำให้เย็น สร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย ขับความชื้น ลดไขมันในเลือด

- ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ อย่างละ ๕๐ กรัมต้มใส่น้ำตาล กินทั้งเปลือก มีสรรพคุณขับร้อน ทำให้เย็น ขับความชื้น บำรุงไต เพิ่มพลัง  
- ดอกเก๊กฮวย ๑๐ กรัมชาใบเขียว ๑๐ กรัมต้มใส่น้ำ๕๐๐ ซีซี กินแทนน้ำ ช่วยขับร้อน ทำให้ตาสว่าง เสริมสร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย ลดอักเสบ ขับพิษร้อน

- บ๊วยดำ ๑๐๐ กรัม น้ำ ๑,๐๐๐ ซีซี ต้มใส่น้ำตาลพอประมาณ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วดื่ม มีสรรพคุณสร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย หยุดไอ แก้ท้องเสีย

การดื่มน้ำชา หรือ อาหารสมุนไพรที่ร้อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการขับเหงื่อ กระจายความร้อน สังเกตได้ว่าหลังจากกินอาหารดังกล่าว จะทำให้รู้สึกสบาย สรรพคุณของสมุนไพร ก็เพื่อทำให้ภายในร่างกายไม่ร้อนเกินไป และ สร้างน้ำเพื่อไม่ให้เสียเหงื่อมากแต่ไม่ควรดื่มน้ำชาใส่น้ำแข็ง เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี


 3. ไม่ควรนอนให้ลม หรือ ความเย็นโกรก
ความร้อนจากลมแดด ทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับ ตากลม ในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิผิวของร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อ ไม่สามารถระบายออกได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส หรือ อาจทำให้เป็นหวัดได้ การใช้พัดลม หรือ เครื่องปรับอากาศไม่ควรให้กระทบโดยตรง กับร่างกายนานๆ โดยเฉพาะที่บริเวณท้อง หากโดนลมนานๆ จะทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได้ หรือ คนที่พลังพร่อง เมื่อโดนลมนานๆ จะทำให้เกิดความเย็น โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้า ทำให้การไหลเวียนเลือดน้อยลง คนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ เวลาออกจากห้อง ต้องระวังการปรับตัวกับอากาศที่ร้อนภายนอก เด็กที่ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า ต้องระวัง เพราะการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่รวดเร็ว จะทำให้ไม่สบายได้ง่าย
 

4. การนอน การพักผ่อน
โดยธรรมชาติของฤดูร้อน กลางวันจะยาว กลางคืนจะสั้น (คนทั่ว ไปที่ไม่ได้นอนในห้องปรับอากาศที่ปรับอุณหภูมิ) กว่าอากาศจะเย็นสบาย ให้นอนหลับได้ก็มักจะดึก แล้วตอนเช้าตรู่ท้องฟ้าก็สว่างเร็ว ทำให้ต้องตื่นเช้ากว่าที่เคยเป็น หน้าร้อนเราจะนอนได้น้อยกว่าปกติ ขณะเดียวกันอุณหภูมิในตอนกลางวัน จะทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เหนื่อยง่าย(เพราะมีเลือดไหลเวียนมาที่ผิวกายมากกว่าปกติ แต่ไปเลี้ยงสมองหรือไป ที่ระบบการย่อยอาหารน้อยกว่าปกติ) ทำให้ไม่ค่อยสดชื่น สมองไม่ปลอดโปร่ง รู้สึกง่วงตลอด ในภาวะเช่นนี้ หลายคนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ อาจจะไม่ค่อยรู้สึกกับการเปลี่ยนของอากาศมากนัก
แต่สำหรับคนทั่ว ไป (โดยเฉพาะคนในชนบทหรือคนที่ต้องทำงานในที่กลางแจ้ง) การได้พักผ่อนนอนหลับ ในช่วงกลางวันบ้าง จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยเลย ผู้ที่ทำงานในที่ทำงาน จะนอนหลบกลางวันไม่สะดวก อาจใช้วิธีนั่ง พิงพนักตัวตรง หลบตา สงบนิ่งๆ ในช่วงกลางวันก็เป็นการพักผ่อนที่ดีแต่สำหรับผู้ที่สถานทีอำนวยที่จะนอนหลับ ช่วงกลางวันนั้น ท่าที่นอนควร เป็นท่านอนราบ หรือนอนตะแคง ห้ามนอนคว่ำ หรือ นอนฟุบบนโต๊ะทำงาน เพราะจะกดท้อง กดทรวงอก กระทบการหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อไม่คลายตัว จึงผ่อนคลายไม่เต็มที่


5. บุคคล ๓ ประเภทที่ต้องระวัง ให้มาก

5.1 คนสูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ (คนสูงอายุมักมีระบบย่อยไม่ดี และความร้อนในร่างกาย จะถดถอย เนื่องจากไตเสื่อมตามสภาพ),

5.2 คนที่มีสภาพของม้ามพร่อง (มีอาการการย่อยอาหาร และการดูดซึมไม่ดี ท้องอืดง่าย),

5.3 คนที่มีสภาพของไตหยางพร่อง (มีอาการขี้หนาว แขนขาเย็น ลิ้นบวม และสีซีดขาว) ผู้ที่มีลักษณะทั้ ๓ อย่างดังกล่าว เมื่อได้รับความร้อนจากแดดร้อน ถ้าดื่มน้ำเย็นหรือกนิ อาหารที่มีความเย็นมากเกนิ ไป จะทำให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ผิดปกติได้ และเกิดความชื้นสะสมในร่างกาย อาการที่แสดงออก คือ ท้องเสีย ติดเชื้อง่าย ขี้หนาว ปวดหัว ตัว
ร้อนแต่ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ปวดข้อ และปวดตามกล้ามเนื้อ มักตรวจ พบว่า มี ฝ้าสีขาวบนลิ้น คิดว่า ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ คงทำให้ทุกคนผ่านพ้นหน้าร้อนปีนี้และทุกๆ ปีไปอย่างสุขกาย สุขใจ ไร้ปัญหานะค่ะ
 

6. ลักษณะธรรมชาติของความร้อน (ร้อนแดด)

๑. มีลักษณะเป็นปัจจัยด้านหยาง (กระตุ้นการทำงานของร่างกาย) ดังนั้น เมื่อกระทบร่างกายจะแสดงออกไปทางด้านที่แกร่ง เช่น หัวใจเต้นแรงเร็ว หน้าแดง ร้อนหงุดหงิด

๒. มีลักษณะกระจายตัวขึ้นส่วนบนของร่าง กาย ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกาย เช่น ทำให้รูขุมขนเปิด มีการระบายเหงื่อ (ช่วยระบายความร้อน = แพทย์แผนตะวันตก) จึงทำให้คอแห้งกระหายน้ำ ปัสสาวะเข้ม ปริมาณน้อย การสูญเสียสารน้ำ จะทำให้สูญเสียพลังไปด้วยเพราะฉะนั้น ในคนที่ร่างกายอ่อนแอ (พลังพร่อง) อาจทำให้เป็นลมหมดสติได้

๓. มีลักษณะอมความชื้น บางครั้งในฤดูร้อน อาจจะมีฝนตกร่วมด้วย (โดยเฉพาะตอนปลายฤดูร้อนเข้าต้นฤดูฝน) ซึ่งความชื้นนี้ จะทำให้รู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณท้อง และทรวงอกเพราะไปกระทบระบบการย่อย และดูดซึมสารอาหารของ

เคล็ดไม่ลับเกี่ยวกับการนำน้ำผึ้ง




ารใช้ น้ำผึ้งเป็นอาหารและยา * ลดการอักเสบ หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกให้ล้างด้วยน้ำเบกกิ้งโซดา หรืออบเชย ชาเสจ ชาใบผักชี (ที่เย็นแล้ว) ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อทั้งสิ้น อาจใช้ชาดำธรรมดา น้ำมันหอม และน้ำมันกระเทียมช่วยล้างด้วยเพื่อห้ามเลือด จากนั้นทาน้ำผึ้งสะอาดบนแผล น้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็ว
* รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา ใช้ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งทาบริเวณกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง
* ต้านข้ออักเสบ ผสมน้ำส้มแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละ 2 ครั้ง
* แก้อาการท้องผูก กินกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มน้ำผึ้งหรือมันต้มสุกจิ้มน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกได้เช่นกัน
* แก้นอนไม่หลับ น้ำผึ้งเป็นยาระงับประสาทอ่อน ๆ ชงน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นหรือชาดอกไม้ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ ดื่มก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
* บำรุงเลือด เทน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว บีบน้ำมะนาว 1 ซึก ใส่เกลือนิดหน่อยเติมน้ำร้อน ดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
* บรรเทาอาการไอ บีบมะนาวฝานสด ๆ หนึ่งเสี้ยวเข้าปากให้ลงลำคอ และจิบน้ำผึ้งแท้ หนึ่งช้อนโต๊ะ อมไว้ หายไอดีมาก หรือ ส่วนผสม: น้ำผึ้ง 500 กรัม ขิงสด1.2 กิโลกรัม (1 ชั่ง)
วิธีทำ: คั้นขิงสดเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำผึ้งต้มจนแห้ง
วิธีกิน: กินครั้งละขนาดเท่าลูกอมจะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง

* บำบัดเบาหวาน ส่วนผสม: สาลี่หอมหรือสาลี่หิมะจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม
วิธีทำ: ปอกเปลือกสาลี่แล้วตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้งแล้วต้มจนเหนียว บรรจุใส่ขวด
วิธีกิน: ผสมน้ำกิน ช่วยแก้อาการไอและบำบัดโรคเบาหวานได้

* ลดความดันโลหิตสูง ส่วนผสม: น้ำผึ้งและงาดำ อย่างละ 50 กรัม
วิธีทำ: ตำงาดำให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำผึ้ง
วิธีกิน: ชงกับน้ำร้อนดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง

* ช่วยปรับสมดุลร่างกายและควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปวดข้อ เป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ หรือโรคอ้วน สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้มีการพิสูจน์และใช้กันมานานในอเมริกาและยุโรป โดยนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Honey) 3 ช้อนชา และน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ลไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Apple Cider Vinegar) 3 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังตื่นนอน และระหว่างมื้อเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและสดชื่น
* สำหรับผิวหน้าสดใส ผู้ที่มีปัญหาสิวเสี้ยนหรือต้องการบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ หลังจากล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นและเช็ดให้แห้งแล้ว นำกล้วยหอม 1/2 ลูก นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน แล้วนำมาทาบนหน้า ทิ้งไว้ซัก 10-15 นาที แล้วล้างออก น้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนจะมีเอ็นไซน์ ซึ่งทำให้หน้าคุณชุ่มชื่นและนุ่มนวลขึ้น
* เพื่อผมเงางาม หลังสระผมเสร็จนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนผสมกับน้ำมะกอกอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ นำมาชโลมผมแล้วทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผมคุณจะนิ่มและเงางามตามธรรมชาติปราศจากสารเคมีใด ๆ
* ปรับสมดุลของร่างกายให้ร่างกายแข็งแรง ให้นำน้ำผึ้ง3ช้อนชาผสมนมแพะ หรือนมสด ทานทุกเช้า - เย็นเป็นประจำเท่านี้โรคก็รุกลามยากแล้วค่ะ * รักษาโรคกระเพาะ ให้ชงน้ำผึ้ง ๓ช้อนชากับน้ำอุ่นทานก่อนอาหาร ๓เวลา เท่านี้ก็ช่วยได้เยอะแล้วค่ะ (ควรเป็นน้ำผึ้งแท้นะค่ะป้องกัน การเกิดน้ำตาลในเลือดค่ะ )
ที่มา: หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก
 
 
 

โกรธบ่อยโรคเพียบ

เวลาคนเราโกรธ จะแสดงอารมณ์ออกได้ 2 แบบ

1. โกรธแบบแสดงอารมณ์ หน้าตาแดงก่ำ อารมณ์รุนแรง เสียงดัง หายใจแรง เรียกว่า โกรธจัด โกรธแบบนี้ กลไกพลังของตับขึ้นด้านบนอย่างรุนแรง

2. โกรธแบบเก็บกด โกรธแบบไม่แสดงออก หรือเก็บกด โกรธนี้พลังไม่ถูกระบาย ทำให้พลังตับอุดกั้น
ฤดูกาลที่เกี่ยวข้องกับความโกรธ

อุบัติการณ์เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองแตก หัวใจขาดเลือดมักพบในฤดูใบไม้ผลิมาก (ปลายฝนต้นหนาว) เพราะเป็นช่วงที่พลังของธรรมชาติกำลังเกิด เช่นเดียวกับพลังตับ จึงต้องคุมอารมณ์โกรธ เพราะมีแนวโน้มจะถูกผลักดันให้พลังตับแกร่งเกินได้ง่าย คนสูงอายุในช่วงตรุษจีนจึงต้องทำจิตใจให้สบายผ่อนคลายในวันปีใหม่

ผลกระทบของอารมณ์โกรธแบบแสดงออกรุนแรง

1. ภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ (จ้งเฟิง)

อารมณ์โกรธ เกี่ยวข้องกับพลังตับ มีผลทำลายตับ พลังตับปกติก็มีลักษณะขึ้นสู่ด้านบนอยู่แล้ว เมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้พลังยิ่งย้อนขึ้นบนมากขึ้น เลือดก็จะถูกผลักดันสู่ด้านบนมากขึ้น ด้วย ทำให้เวลาโกรธ หน้าจะแดงก่ำ ตาแดง บางทีเกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ (คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง จัดเป็นคนที่ที่มีพลังตับแกร่งลอยอยู่ด้านบนมากอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีอารมณ์โกรธแบบรุนแรง ความดันโลหิตจะสูงขึ้นอีก เลือดจะถูกขับเคลื่อนไปสมองมากขึ้น เกิดหลอดเลือดสมองแตกหมดสติได้ง่าย)

ตับ มีหน้าที่คล้ายแม่ทัพชอบบู๊ ชอบใช้ความรุนแรง ตับห้ามโกรธ เพราะถ้าโกรธก็จะรบราฆ่าฟัน จะมีผลเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ

2. โรคกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือด

อวัยวะตับ เมื่อมีพลังมากเกิน จะมีผลไปข่มยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร ปกติกระเพาะอาหารจะมีกลไกพลังลงล่าง เพื่อส่งผ่านอาหารที่ย่อยแล้วระดับหนึ่งไปย่อยต่อและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ถ้าพลังตับมาก การทำงานของกระเพาะอาหารจะเสียหน้าที่ ทำให้เกิดอาการเรอ สะอึก อาหารไม่ย่อย จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร

รายที่มีโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอยู่แล้ว อาจเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดได

3. กระทบม้าม ทำให้ท้องเสีย

บางครั้งการโกรธมาก ๆ ต่อมาจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้ง่ายต่อการถูกกระตุ้นทางอารมณ์ แพทย์จีนเรียกว่า "พลังตับข่มเกินม้าม"

คนที่ท้องเสียบ่อย ๆ เวลามีอารมณ์โกรธ ต้องควบคุมรักษาทางจิตอารมณ์ด้ว

การโกรธที่มากเกินไป บางครั้งจะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ควบคุมสติไม่ได้ ไม่อยู่กับโลกความเป็นจริง เป็นเพราะตับถูกกระทบกระเทือนมากเกินไป

อารมณ์โกรธแบบเก็บกด

เป็นอารมณ์โกรธ แต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ เพราะหลายเหตุผลทำให้เก็บกดทางอารมณ์ มีผลกระทบแบบสะสมเรื้อรัง ทำให้เลือดและพลังติดขัดไม่ไหลเวียน อวัยวะที่เส้นลมปราณตับไหลเวียนผ่านจะถูกกระทบ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เต้านม และตับ ทำให้เกิดโรคในระยะยาว

ผลกระทบของอารมณ์โกรธแบบเก็บกด

1. โกรธแบบเก็บกดทำให้เกิดมะเร็งตั

ถ้าการไหลเวียนของพลังและเลือดในอวัยวะตับติดขัด จะก่อให้เกิดการสะสมตัวเป็นก้อน เกิดตับแข็ง เกิดก้อนมะเร็ง แพทย์จีนเรียกว่าจื่อเจิ้ง

การเกิดมะเร็งในตับ นอกจากเกิดจากสาเหตุเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือจากภาวะตับแข็งจากพิษของอาหารที่กินเข้าไปสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในทัศนะแพทย์จีน อารมณ์โกรธแบบเก็บกดจะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

2. มีผลต่อความผิดปกติของประจำเดือ

ระบบสืบพันธุ์ของสตรี จัดว่าเป็นระบบอ่อนแอที่สุดของร่างกาย ถ้ามีปัจจัยก่อโรคต่าง ๆ เช่น ความเย็น ความอ่อนล้า ความเครียด ความเจ็บป่วยเรื้อรัง ฯลฯ จะทำให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน (ประจำเดือนเป็นหน้าต่างสุขภาพของสตรี)

เส้นลมปราณตับติดขัด มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงตามกำหนด ปวดประจำเดือน คัดหน้าอก (เกิดก้อนที่เต้านม) มีก้อนที่มดลูก ถ้าเกิดสะสมพลังอุดกั้นนาน ๆ จะเกิดไฟ ทำให้ประจำเดือนมีเลือดออกมากผิดปกติ

3. ทำให้ไอ หอบหืด

ปกติตับเป็นธาตุไม้ ถูกควบคุมด้วยปอด ซึ่งเป็นธาตุทอง กรณีพลังตับมากเกินไปจนเกิดไฟจะเกิดปรากฏการณ์ตับข่มกลับปอด

พื้นฐานอารมณ์เก็บกดทำให้บางครั้งเวลาเกิดไข้หวัด หรือขณะที่ไฟตับกำเริบอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้ง ไม่มีเสลด ไอ หอบได้ง่าย

แนวทางป้องกัน รักษาอารมณ์โกรธ

1. ใช้อารมณ์ควบคุมอารมณ์ เวลาโกรธพลังย้อนขึ้นบน ต้องทำให้ดีใจ ทำให้หัวเราะ เพราะดีใจทำให้พลังเคลื่อนตัวช้า ต้องหากุศโลบายให้หัวเราะ ทำให้ตกใจกลัว เพราะความกลัวทำให้พลังตกลงด้านล่าง เช่น เวลาคนสะอึก บางคนหลอกให้ตกใจ เพื่อดึงพลังลงล่าง ขณะคนกำลังโกรธ อาจสร้างเหตุการณ์ทำให้เขาตกใจกลัว อาการโกรธจะหายไป

2. กินผัก ผลไม้สีเขียว รสเปรี้ยว สีเขียวเป็นอวัยวะตับ ผักสีเขียว ถั่วงอก ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี ฯลฯ สามารถเข้าอวัยวะตับ รสเปรี้ยวจะดึงรั้งพลังตับไม่ให้มากเกินไป รสขมจะช่วยขับระบายความร้อนในตับได้

3. การตะโกนเสียงดัง ๆ ออกเสียง ชวี จะเป็นการระบายพลังตับออกสู่ภายนอก

"ความโกรธทำลายคนอื่นและทำลายตัวเองเสมอ"

credit : หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก ...

เนื้องอกในมดลูก




 

ภัยเงียบสำหรับสตรี ระวัง! เธออาจจะมาโดยเราไม่รู้ตัว เนื้องอกในมดลูก ความเสี่ยงสำหรับผู้หญิง (Lisa)

50% ของผู้หญิงไม่รู้ว่าตัวเองมีเนื้องอกที่มดลูก ถ้าเนื้องอกโตขึ้นก็จะไปเบียดอวัยวะใกล้เคียง บางคนอาจปวดท้องขณะมีประจำเดือนหรืออาจไม่มีอาการก็ได้
ลักษณะของซีสต์ หรือเนื้องอกในมดลูกเป็นอย่างไร

ในมดลูกจะไม่ค่อยมีซีสต์ เพราะองค์ประกอบส่วนใหญ่ของมดลูกเป็นกล้ามเนื้อ ซีสต์มีองค์ประกอบเป็นของเหลว และมักเกิดในอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่ ท่อรังไข่ หรือปากมดลูก ที่ผิดปกติในมดลูกมักเป็นเนื้องอกมากกว่า

ทั้งนี้ เนื้องอกของมดลูกมีชนิดธรรมดา และชนิดที่เป็นมะเร็ง โดยเนื้องอกส่นใหญ่เกิดจากชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก ที่นี้เรามักพบเจอเนื้องอกธรมดาทั่วไปมากกว่า ซึ่งก็มีเนื้องอก 2 แบบใหญ่ ๆ คือ เกิดจากกล้ามเนื้อโดยตรง หรือเกิดจากมีเนื้ออย่างอื่น (เช่น เนื้อเมนส์) แทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อ แล้วทำให้มันโตขึ้นมา โดยอาจโตแบบกระจาย โตทั้งลูกเท่า ๆ กัน หรือแทรกแบบจุด ๆ แล้วจึงรวมกันเป็นก้อน อาจปูดด้านซ็าน ด้านขวา ด้านบน หรือด้านล่างของมดลูก เป็นต้น

หรืออีกชนิดหนึ่ง คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แทรกเข้ามาในมดลูก หรือมีหลายเม็ดเกาะกันเป็นกลุ่มจนใหญ่ขึ้น ชนิดนี้เป็นเนื้องอกชนิดเยื่อบุมดลูกแทรกเข้ามา คือ งอกผิดที่

อาการที่บ่งบอกว่ามีเนื้องอกในมดลูก

อาการของเนื้องอกในมดลูกก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก คือ ถ้ามันโตขึ้นมา เช่น โตเหมือนคนท้องสามเดือนก็จะคลำได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าใหญ่ไม่มากก็อาจคลำไม่พบและไม่มีอาการ แต่ถ้าเนื้องอกเข้าไปในโพรงมดลูกก็จะมีปัญหา คือ ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจปวดท้องหรือไม่ปวดก็ได้ การปวดของเนื้องอกส่วนใหญ่ชนิดที่ไมโอมา (Myoma) จะปวดก็ต่อเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในเนื้องอกซึ่งพบบ่อยคือ

1.เริ่มมีการย่อยสลายตัว เพราะมีขนาดใหญ่มาก เลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงทำให้เนื้องอกขาดเลือด ก็จะเริ่มปวด

2.เนื้องอกกดเบียดอวัยวะอื่น เช่น กดกระเพาะปัสสาวะ กดลำไส้ใหญ่ที่อยู่ข้าง ๆ ก็จะทำให้เกิดการปวดแบบหน่วง ๆ เหมือนมีก้อนหนัก ๆ ในท้อง และทำให้ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก หรือประจำเดือนมามาก บางคนไม่รู้สาเหตุก็ไปรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะเนื้องอกไปกดทับท่อปัสสาวะ จึงทำให้จุได้น้อยลง แล้วก็เกิดการอักเสบได้ง่าน เนื่องจากมีเชื้อโรคคั่งอยู่ เป็น ๆ หาย ๆ เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ต้นคอ คือ 50% ของผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูกไม่มีอาการ มักตรวจพบเวลาตรวจภายใน หรืออัลตราซาวนด์

ถ้าไม่ได้อัลตราซาวนด์ แต่ตรวจภายในจะเจอไหม

ขึ้นอยู่กับขนาดและขึ้นอยู่กับสุภาพสตรีเท่านั้น คือ คนโสดจะไม่ค่อยไปตรวจภายใน จึงทำให้ได้ข้อมูลน้อย ดังนั้น ควรทำประกอบกันสองอย่าง หรือหากจำเป็นก็ทำอัลตราซาวนด์อย่างเดียว

แพทย์วินิจฉัยคนไข้อย่างไร ว่าเป็นเนื้องอกในมดลูก

ถ้าเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา ประมาณ 50% ของผู้มีเนื้องอกในมดลูกจะไม่มีอาการ หรือบางคนมีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือเนื้องอกไปกดอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจภายในและอัลตราซาวนด์

วิธีรักษาเนื้องอก ต้องมีการพิจารณาอย่างไร

พิจารณาจากอายุ ความต้องการมีบุตร และความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก แล้วก็พิจารณาจากตัวโรค ที่สำคัญคือ ต้องดูอาการ ขนาด และอัตราการโตของเนื้องอก หรือพิจารณาจากอายุ เช่น วัย 45 ปีขึ้นไป ตรวจพบเนื้องอกโดยดูจากตัวโรค แล้วจำเป็นต้องผ่าตัด แพทย์มักแนะนำให้ตัดมดลูก เพราะการรักษาแบบไม่ตัดมดลูกทิ้ง ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะมีเนื้องอกหลงเหลืออยู่

นอกจากนี้ แพทย์บางคนจะแนะนำให้ตัดรังไข่ด้วย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่อันตรายมากถึงขั้นเสียชีวิต แต่ข้อเสียก็คือ ทำให้เข้าสู่วัยทองเร็ว หงุดหงิด ไม่สบาย กระดูกพรุนเร็วขึ้น และอาจต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ฉะนั้นการตัดรังไข่ออก ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ในกรณีที่ปกติ แต่ถ้าผ่ามดลูกแล้ว เจอรังไข่เป็นซีสต์ หรืออื่น ๆ ก็ควรเอาออกไปด้วย

แล้วถ้าหากผู้หญิงต้องการมีบุตร

กรณีที่ต้องการมีบุตรก็ตัดเฉพาะเนื้องอกออกได้ คือ ในคนอายุ 35 ปี ก็ต้องดูขนาดของเนื้องอกในการปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงขณะที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อเนื้องอกมีขนาด 5-6 ซม. เพราะอาจแท้งง่าย หรือคลอดยาก เนื่องจากมดลูกไปขวาง ซึ่งอาจต้องผ่าตัดคลอด หรืออาจคลอดก่อนกำหนด เพราะเนื้องอกอาจไปกระตุ้น เบียดพื้นที่มดลูกจากทารกอยู่ไม่ได้ คือ ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างในการมีลูก โดยเฉพาะตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก ถ้าเนื้องอกมีขนาด 1 ซม.มีประจำเดือนมาก ปวดท้องมากเวลามีประจำเดือนก็อาจกินยา

แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยารักษาเนื้องงอกช่วยได้แค่ชะลอ เป็นยาที่ประกอบด้วยโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีในรูปยาฉีดหรือกิน หรืออีกแบบหนึ่งคือ จำลองวัยทอง แต่ถ้าหยุดยาก้อนเนื้องอกก็จะโตได้อีก ถ้าเนื้องอกมีขนาดเล็กประมาณ 2-3 ซม. ก็ต้องตรวจทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง ถ้ามีขนาดเล็ก และไม่มีอาการก็ไม่ต้องทำอะไรกับมัน

อะไรเป็นสาเหตุให้เนื้องอกในมดลูกโตขึ้น

องค์ประกอบที่ทำให้เนื้องอกโต ส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ บางคนอาจมีฮอร์โมนปกติ แต่เนื้อมดลูกมีความไวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรืออาจเกิดจากฮอร์โมน หรืออาหารที่มีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลงให้เกิดเอสโตรเจนมากขึ้น เช่น อาหารแคลอรีสูง (ฟาสต์ฟู้ด) น้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง

เนื้องอกทำให้เป็นมะเร็งรังไข่ได้ไหม

ส่วนใหญ่ตัวมดลูกเองจะไม่กระตุ้นที่รังไข่ แต่ถ้าเป็นมะเร็งที่มดลูก ก็อาจลามไปที่รังไข่ได้ เนื่องจากฮอร์โมนจากรังไข่ส่งมาถึงตัวมดลูก ทำให้มันทำงานผิดปกติ แต่ถ้าปราศจากรังไข่ มดลูกก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย คือ มดลูกจะเหี่ยว ฉะนั้นการตัดมดลูกออก เก็บรังไข่ไว้ ก็ยังมีการสร้างฮอร์โมนต่อไป ผิวหนังของคนเราก็จะไม่เหี่ยว

  


เนื้องอกในมดลูกอันตรายแค่ไหน

อัตราการโตขึ้นของเนื้องอกก็สำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งชี้มะเร็ง โดยทั่วไปเ


นื้องอกจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งน้อย คือ ประมาณ 1% แต่ถ้าโตเร็วและมีเลือดออกมาผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจ ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่ามีเนื้องอกก็อย่ารอให้มีอาการ ควรไปพบแพทย์ตรวจเป็นระยะ เพื่อดูว่าโตขึ้นหรือไม่ เพราะเนื้องอกก็อาจกลายได้ อาจการที่กลายเป็นมะเร็งคือ ก้อนเนื้อโตเร็วผิดปกติ

ที่มา: หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก

เกณฑ์ในการพิจารณาว่าควรเข้าคอร์สล้างพิษตับหรือไม่?


 เกณฑ์ในการพิจารณาว่าควรเข้าคอร์สล้างพิษตับหรือไม่? ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้
      1. เลิกเชื่อตามกูเกิ้ลหรือเขาว่า
      2. อย่าคิดเอาเองแล้วสรุปเอง
      3. มีผลการวัดค่าตับหรือไม่?
      4. หากมีและเกินค่ามาตราฐาน ควร ปรึกษาแพทย์
      5. ตับทำหน้าที่ล้างของเสียอยู่แล้ว หากตับทำหน้าทีื่ไม่สมบูรณ์ แสดงว่าตับหย่อนประสิทธิภาพลง ควรไปหาหมอ ไม่ใช่ไปล้างเองได้
      6. แพทย์แผนไทยแต่โบราณมา ไม่มีวิธีนี้ ไม่ใช่แผนไทย ควรหรือไม่ที่หมอแผนไทยจะไปแนะนำคนไข้ให้ทำ หรือตื่นไปตามกระแส
      7. ความไม่เชื่อตามหลักของพระพุทธองค์ใช้ได้ดีกับเรื่องนี้ ควรไปหาอ่าน
      8. รังมดแดงกับต้นมะม่วงอยู่ด้วยกันมานานหลายปี อยู่ๆมีคนไปกระทุ้งรังมดแเดง จนแตก คราวนี้มดแดงกระจายไปทั้งต้นมะม่วง เป็นอุทาหรณ์ของเนื่องนี้
ใช้ปัญญาพิจารณาเอง หากไม่ทราบควรถามผู้รู้ ยึดหลักพระพุทธเจ้าท่านไว้


ที่มา:  Komson Dinnakorn Na Ayuddhaya (แพทย์ไทย)

ไตกำเริบ/ไตหย่อน/ไตพิการ กับการแพทย์แผนไทย

ตับ/ไต/ไส้/พุง คำกล่าวโดยทั่วๆไปแต่แฝงไว้เป็นนัยยะสำคัญ แพทย์ไทยกล่าวไว้ว่า "ตับ,ไต,ไส้,พุง,ม้าม,ปอด"
นั้นสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน อีกหนึ่งคำกล่าว "เป็นกระษัย ไตพิการ" แพทย์ไทยกล่าวไว้เช่นกันว่า ไตพิการเกิดแต่กระษัย คือความเสื่อมไป
โรคทางไต จะเกิดขึ้นได้ ภาวะกระษัยคือความเสื่อมต้องนำมาก่อนเสมอ เช่น เป็นเบาหวานก่อนโรคไตตามมา ความดันโลหิตสูงเสียก่อนโรตไตตามมา หรือเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วโรคไตก็ตามมาเช่นกัน
อาหารเป็นเหตุใหญ่ของโรคไต แพทย์แผนไทยใช้คำว่า "กินอาหารผิดสำแดง" หวาน/มัน/เค็ม/ของหมักดอง แสลงกับไต เพราะไตตับต้องทำงานหนักเพื่อขับส่วนเกินออก กระษัยจึงเกิดขึ้นก่อน ไตกำเริบ/หย่อน/พิการ จะ
ตามมาในที่สุด ลดละเลิก หวานมันเค็มและของหมักดอง ห่วงตับไตให้มากกว่าความอร่อยลิ้น
หวาน/มัน/เค็ม ส่วนใหญ่มาจาก อุตสาหกรรมการผลิตอาหารทั้งสิ้น ด้วยวัตถุดิบ สารให้ความหวาน ความเค็ม
สารปรุงแต่งกลิ่น/รส สารกันบูด สิ่งเหล่านี้เป็นพิษภัยต่อตับไตทั้งสิ้น นอกจากนั้น น้ำปลา/น้ำปลาร้า/ซ๊อสปรุงรส/
ผงก้อนปรุงรส/อาหารกึ่งสำเร็จรูป/เครื่องดื่มอุตสาหกรรม/น้ำอัดลมทุกชนิด ก็เช่นกัน ลดละเลิกให้หมด
เมื่อลดละเลิกได้แล้ว จึงล้างทำความสะอาดไตกัน หมอไทยให้น้ำกระสายยาขับปัสสาวะเข้าไปทำความสะอาดระบบไตและทางเดินปัสสาวะ จากนั้นจึงให้น้ำกระสายยาและยา เพื่อบำรุงไต
น้ำกระสายยาขับปัสสาวะ
ตะไคร้ต้น/รากหญ้าคา/ก้านต้นมะละกอ/แกนสัปปะรด/หญ้าหนวดแมว/ลำอ้อยแดง/ขลู่
นำทั้งหมดเท่าที่หาได้ต้มน้ำดื่ม(ห้ามเคี่ยว) ให้ดื่มต่างน้ำ ช่วงแรกจะถ่ายปัสสาวะเป็นสีเข้ม แล้วจะค่อยๆ
อ่อนลง จนเป็นสีเหลืองใสปกติ
น้ำกระสายยาบำรุงไต
ผลหม่อน/หนวดและซังข้าวโพด/รากเตยหอม/ดอกบานไม่รู้โรยสีขาว/หญ้าใต้ใบทั้งต้น/ลูกเดือย/ใบข่อย
ทำเช่นเดียวกับน้ำกระสายยาขับปัสสาวะ
ให้ดื่มน้ำกระสายยาขับปัสสาวะก่อน 1 สัปดาห์ ต่อด้วยน้ำกระสายยาบำรุงไตอีก 1 สัปดาห์
แต่หากป่วยด้วยโรคทางไตแล้วให้พบแพทย์เพื่อรักษา ไม่ใช่ไปต้มน้ำกระสายดื่มเองแล้วคิดว่าจะหายได้ ป่วยคือพิการ ต้องพบแพทย์ แต่แค่กำเริบหรือหย่อน น้ำกระสายยาพอบรรเทาได้
แถมด้วยของหวานบำรุงไตสัก 1 ขนาน
ส่วนประกอบ ซัง/หนวด/เมล็ดข้าวโพด,ใบเตยหอม,ลูกเดือย,ข้าวเหนียวดำ/น้ำอ้อย/น้ำตาลทรายแดง/เกลือ
วิธีทำ นำซัง/หนวดข้าวโพด ต้มรวมกับใบเตยหอม แล้วกรอง ขึ้นไฟใหม่ ใส่ลูกเดือย,เมล็ดข้าวโพด,
ข้าวเหนียวดำ พอสุกเติมน้ำอ้อยสด,น้ำตาลทรายแดง ตัดรสด้วยเกลือแต่น้อย

สำคัญที่สุดคือต้องงดอาหาร/เครื่องดื่ม/ขนมขบเคี้ยวที่ทำเป็นอุตสาหกรรม/ของหมักดองเช่น ปลาร้า/น้ำปลา/หน่อไม้ดอง/ผักดอง/เต้าเจี้ยว/งดของดิบของคาวทุกชนิด/ ใครไม่เคยต้องล้างไต คงไม่รู้หรอกว่ามันทรมานขนาดไหน เข้าภาษิต ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา ลดละเลิกทันที รักไตตับให้มากเข้าไว้ ท่องคำนี้ก่อนเอาเข้าปาก ไตพัง ไตพัง ไตพัง หากยังไม่ทำหรือทำไม่ได้ สุดท้ายคงต้องไปนอนล้างไตสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เสียเวลา/เสียงาน/เสียเงิน และเสียชีวิตในที่สุดด้วยภาวะไตวาย


ที่มา:  Komson Dinnakorn Na Ayuddhaya

เบา(ปัสสาวะ) หวาน = ปัสสาวะหวาน

รส หวาน แผนไทยกล่าวว่า ซาบเนื้อ บำรุงเนื้อ ซึ่งไม่ได้หมายเพียงกายเนื้อ แต่ยังหมายรวมถึง พลังงานให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ หมอไทยกล่าวว่า เบาหวานเกิดแต่พัทธะปิตตะหย่อน ทำให้เสมหะโลหิตังกำเริบ คือระบบของตับบางส่วนทำหน้าที่ได้น้อยลง เกิดตะกันแทรกเข้าระบบโลหิต ทำให้เลือดข้นหนืดดั่งน้ำเชื่อม หัวใจจึงทำงานหนัก เหนื่อยเพลียง่าย ปัสสาวะบ่อยด้วยเหตุที่ไตจะขับน้ำตาลออก จึงหิวน้ำบ่อย เบาบ่อย และเบาหวาน ร่างกายผ่ายผอมลง เพราะเนื้อไม่บังเกิด จากเหตุที่ระบบตับหย่อนลง หมอไทยกล่าวอีกว่า น้ำตาลมา น้ำมันตาม ลมเกิด ไตพินาศ หมายว่าเมื่อระบบตับหย่อน น้ำตาลมากเมื่อใด ไขมันจะเกิดตาม ความดันโลหิตจะสูง ท้ายสุดไตวาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หมอไทยเรียก ชาติสัมพันธ์ตระกูล เดี๋ยวนี้เรียก กรรมพันธ์ คือการสืบสายโลหิต หากมี
เบาหวาน ที่ปู่ ย่า ตาหรือยาย จะเกิดที่พ่อ หรือแม่ และตกทอดต่อมาที่ลูก นั่นคือเหตุแรกของเบาหวาน กินรสผิดสำแดง หวาน,มัน,เค็ม มากๆ นั่นคือเหตุที่สอง ด้วยอายุที่มากขึ้น เกิดกระษัย ความเสื่อมไป นั่นคือเหตุที่สาม ใช้ชีวิตด้วยความกลัดกลุ้ม หิวไม่กิน กินไม่หิว กินไม่เลือก เหล้ายาปลาปิ้ง สูบยา เที่ยวเตร่ ทำงานมาก ทำงานหนัก นั่นคือเหตุที่สี่ และไม่ว่าเหตุเกิดแต่ที่ใดก็ตาม หมอไทยแก้ที่ตับเสมอ เพราะตับเป็นสมุหฐานเหตุต้นของเบาหวาน
เพราะเมื่อระบบตับเข้าสู่ภาวะปกติ ตับก็จะกลับมาทำหน้าที่ รุ,ล้าง,สร้าง,เสริม,เก็บ ได้ดั่งเดิม เมื่อน้ำตาลถอย น้ำมันก็จะลด ลมจะไม่เกิด ไตจึงสมบูรณ์ หากเป็นเบาหวานแล้วควรพบแพทย์
ซึ่งหมอไทยมีวิธีการรักษาเบาหวานดังนี้
รุ ตะกันน้ำตาลในโลหิต รุระบบทางเดินอาหาร รุตะกันในตับไต รุน้ำเหลืองเสีย
ล้อม บำรุงหัวใจ ล้อมเลือดให้ใส ล้อมกำเดาไม่ให้กำเริบ ล้อมลมสูงลงล่าง
รักษา ระบบตับให้ทำงาน ระบบไตให้สมบูรณ์
บำรุง เลือดเนื้อให้กลับมาบริบูรณ์ดังเดิม
วางอาหาร เพื่อไม่ให้เบาหวานเกิดอีกต่อไป

โบราณนอกจากจะมียารักษาแล้ว ยังมีน้ำกระสายยาเพื่อลดน้ำตาลในเลือดดังต่อไปนี้
อบเชยเทศ/กานพลู/หนวดข้าวโพด/เมล็ดทับทิม/กลีบดอกบัว/ทองพันชั่ง/พญายา
ทั้งหมดนำต้มห้ามเคี่ยว ใช้ดื่มต่างน้ำ ทำให้ระดับน้ำตาลลดลง

พืชผักผลไม้ลดน้ำตาลที่หมอไทยให้ผู้ป่วยเบาหวานทาน
หัวปลี/ดอกกระเจี๊ยบ/ผักกระชับ/ยอดข้าวโพด/ผักกาดน้ำ/ผักโขมหิน/ผักเป็ดแดง/มะระขี้นก/ผักเบี้ยใหญ่/
ผักเชียงดา/ลูกหว้า/กล้วยน้ำหว้า/ทับทิม/ฝรั่งขี้นกดิบ/มะละกอ เป็นต้น

ใบไม้ลดน้ำตาลได้
ใบกรดน้ำ/ใบกระเพรา/ใบขนุน/ใบชา/ใบชะพลู/ทองหลางใบมน/ใบน้ำเต้า/ใบประดู่/ใบปอ/ใบคะน้า/ใบฟักข้าว
นำต้มห้ามเคี่ยว ใช้ดื่มต่างน้ำ

ทั้งหมดลดแค่น้ำตาลไม่ใช่รักษาเบาหวานที่ต้นเหตุ และใช้ร่วมกับการรักษาทางยา หรือสำหรับผู้ไม่ป่วยใช้ดื่ม
กินเพื่อไม่ให้เกิดเป็นเบาหวาน แต่ก็ไม่ควรกินดื่มตลอด กินบ้างหยุดบ้าง ทางที่ดีที่สุดคือหยุดหวาน มัน เค็ม ตรง
จุดที่สุดแล้ว และหากสงสัยว่าจะเป็นไหม ง่ายที่สุดคือนำปัสสาวะใส่ภาชนะทิ้ง ไว้ แล้วรอดูว่ามีมดมาขึ้นไหม เพราะมดจมูกไว อย่างที่เรียกกันจมูกมด มดชอบน้ำตาลหวาน หากมีปัสสาวะหวานมดขึ้นแน่นอน แสดงว่ามีน้ำตาลแทรก
อยู่ในน้ำปัสสาวะนั้น หมอไทยว่า น้ำตาลกำเริบ แต่หากมีอ่อนเพลีย มือชาเท้าชา กินมากแต่ผอมลง เป็นฝีบ่อย
เป็นแผลหายยากร่วมด้วยหมอไทยว่า น้ำตาลพิการ



ที่มา:  Komson Dinnakorn Na Ayuddhaya

ท้องอืดเฟ้อ จนเรอเหม็นเปรี้ยว จากน้ำย่อย

อืด,เฟ้อ,เรอ เป็นลักษณะสภาพที่เกิดแต่ลมทั้งสิ้น หมอไทยกล่าวว่าเกิดแต่ลมในไส้,นอกไส้ และลมในไส้,นอกไส้ เกิดแต่กำเดาย่อย (ไอความร้อนที่มาจากขบวนการสันดาปอาหาร) ธรรมชาติของไอร้อนจะ
ลอยตัวสูงขึ้นเสมอ ไอที่ร้อนน้อยกว่าก็จะเข้ามาแทนที่ เกิดเป็นลมพัดขึ้นด้านบนเพราะเป็นลมร้อน
นอกจากขึ้นบนแล้วยังสะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่,ลำไส้เล็ก เปรียบได้กับเราสูบลมเข้าไปในยางในของ
รถจักรยานจนโป่งพอง ลมในใส้ก็เช่นกัน สะสมจนลำไส้พองอืดไม่ต่างจากยางในจักรยาน เรียกอาการนี้ว่า
"ท้องอืด" และเมื่ออืดขึ้นเรื่อยๆก็จะเกิดแรงดันขึ้นบน เรียกอาการนี้ว่า "ท้องเฟ้อ" ซึ่งเมื่อลมเฟ้อดันขึ้นข้างบน
เราเรียกอาการนี้ว่า "เรอ"
นั่นคือธรรมชาติที่เกิดแต่ขบวนการสันดาปอาหาร อืดก่อนแล้วจะเฟ้อจนเรอออกมา ถ้าเรอเหม็นเปรี้ยว
นั่นแสดงว่า ลมเฟ้อไปดันน้ำย่อยซึ่งมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวขึ้นไปพร้อมกันด้วย น้ำย่อยไม่ต่างไปจากน้ำกรด ไอ
ของน้ำกรดเราเรียก ไอกรด ไอของน้ำย่อยเราเรียก ไอน้ำย่อยหรือกำเดาย่อยนั่นเอง ถ้ากำเดาย่อยเกิดขึ้นมาก
เราก็เรียก กำเดาย่อยกำเริบ และเมื่อกำเริบ ก็จะเกิดอาการ ท้องอืดเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยวตามมาในที่สุด
กรดไหลย้อน หรือหมอไทยเรียก เรอเหม็นเปรี้ยว เมื่ิอกรดจะไหลย้อนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก พุ่งขึ้น
บนได้แสดงว่าต้องมีบางสิ่งเข้าไปดัน สิ่งนั้นคือ ลม และลมเป็นต้นเหตุของอาการนี้อย่างเที่ยงแท้แน่นอน ถ้า
เราเข้าใจธรรมชาตินี้ได้เราก็จะรักษาอาการนี้ได้อย่างตรงจุดตรงสมุหฐานที่ตั้งแห่งอาการ อย่างที่ทำกันมาได้
แต่โบราณ
หากมีไอความร้อนเมื่อใดลมเกิดเมื่อนั้น หมอไทยดับลมด้วยการดับไฟ ไม่มีไฟก็ไม่มีลมไปดันน้ำย่อยตีขึ้น
บน ไม่ใช่ไปกินยาลดกรด ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ พอกรดน้อยลงอาหารก็จะไม่ย่อย เมื่ออาหารไม่ย่อย ท้อง
ก็จะอืด อืดแล้วก็เฟ้อ เฟ้อแล้วก็จะดันน้ำย่อยขึ้นไปด้านบน เป็นวงจรอุบาทว์ คนที่กินแต่ยาช่วยย่อยยาลดกรดจึ
ไม่หายจากอาการนี้ได้และตลอดไป เพราะไม่แก้ที่ไฟซึ่งเป็นต้นทางของลม
หมอไทยแก้ที่ไฟมาแต่โบราณ ไฟย่อย/ไฟอุ่นกาย/ไฟร้อนจากตับ คือสามไฟที่หมอไทยไปดับลง ภูมิรู้ของ
หมอไทยยังกล่าวว่า ให้ไปดับไฟจากตับ ไฟย่อยและไฟอุ่นกายจะดับตาม เพราะหากตับร้อนจะทำให้เกิดได้หลายอาการ หนึ่งในนั้นคือเรอเหม็นเปรี้ยว หมอไทยรักษาเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้

รุ1 รุลมในไส้-นอกไส้ รุ2 รุระบบทางเดินอาหารให้สะอาด
ล้อม1 ล้อมไฟอุ่นกาย ล้อม2 ล้อมไฟย่อย
รักษา1 รักษาตับให้เย็นลง รักษา2 รักษาอารมณ์ให้เย็นใจ
บำรุง1 บำรุงศอ/อุระ/คูถเสลดที่เสียหายจากน้ำย่อย บำรุง2 บำรุงตับให้บริบูรณ์

ถ้าเป็นแล้วไปพบแพทย์ แต่หากจำเป็นต้องกินยาลดกรด และยาช่วยย่อยก่อนไปพบแพทย์ไม่ต้อง ไปซื้อ ทำเองก็ได้แบบคนสมัยก่อนดังนี้
น้ำกระสายยาลดเรอเหม็นเปรี้ยว
ส่วนประกอบ น้ำด่างทำขนม,น้ำปูนใส,น้ำฝางเสน,น้ำซาวข้าว,เกลือ
วิธีทำน้ำด่าง ด่างทำขนมจ้าง(ซื้อตามร้านยาจีน) 3 รำหัด ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว
วิธีทำน้ำปูน ปูนแดง(กินกับหมาก) กึ่งช้อนชา ละลายในน้ำอุ่น 1 แก้ว
วิธีทำน้ำฝาง ฝางเสนไปต้มในน้ำเดือดแล้วกรอง แบ่งออกมา 1 แก้ว
วิธีทำน้ำซาวข้าว นำข้าวสารเจ้าไปซาวแล้วรินเอาแต่น้ำให้ได้ 1 แก้ว
นำน้ำทั้งสี่อย่างละแก้ว มาผสมรวมกัน เกลือ 3 รำหัดลงละลาย
วิธีใช้ ใช้ดื่มครั้งละแก้วเมื่อมีอาการ
น้ำกระสายยาช่วยย่อยขับลม
ส่วนประกอบ ขิงแก่/ข่าแก่/ตะไคร้แกง/ใบสะระแหน่/น้ำมะกรูด/น้ำมะนาว/น้ำคั้นเตยหอม/น้ำเชืี่อม
วิธีทำ ต้มขิง,ข่า,ตะไคร้,ใบสะระแหน่ แล้วกรอง พักไว้ให้เย็นจึงเติม น้ำมะกรูด,น้ำมะนาว,
น้ำคั้นเตยหอม,น้ำเชื่อม ให้ได้รสเปรี้ยวนำหวานตาม
วิธีใช้ ดื่ม 1 แก้วหลังจบอาหารทันที

แนะนำเพิ่มเติมว่า ให้หายาขมหรือยาเขียวมาทานตามยามดังนี้
สี่โมงเช้า/เที่ยงแต่ต้องก่อนอาหาร/บ่ายสองโมงเย็น
เมื่อภายในเย็นก็ไม่เกิดลม เมื่อไม่เกิดลม ก็ไม่มีสิ่งใดไปดันน้ำย่อย

โบราณมียารักษาพร้อม ทั้งยาเรอเหม็นเปรี้ยว,ยาอากาศบริรักษ์,ยาเขียวประสระ,ยากล่อมตับและ
น้ำกระสายยาผ่อนน้ำย่อย เพราะคนโบราณก็เป็น แต่เรียก "เรอเหม็นเปรี้ยว" คนเดี๋ยวนี้ลืมไปหมด หันไป
กินกันแต่ยาลดกรด แถมเปลี่ยนชื่อโรคใหม่เป็น "กรดไหลย้อน" กลับไปหาภูมิปัญญาเดิมกันเถอะ เพราะ
เขาเป็นมาก่อนเราหลายร้อยปี เขาหาย แต่เราไม่หาย ถ้าอยากหายก็ขอให้เชื่อคนที่เขาเกิดก่อนเราและเป็น มาก่อนเรา และสุดท้าย เขาหายมาก่อนเรา
 

ที่มา: คมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

ยาหอมไทยแต่ดั้งเดิมมา

ยา-หอม แสดงว่ายานั้นต้องหอม โบราณตรงไปตรงมาแบบนี้เสมอ แล้วยานั้นหอมได้อย่างไร หอมแบบไหน
ทำอย่างไร และใช้อย่างไร
ตำรับยาต้องประกอบด้วยสมุนไพรสองชนิดขึ้นไปเสมอ ยาหอมจึงเป็นยาไทยที่ปรุงจากของหอมหลากหลาย ชนิดมาจากพืชบ้างสัตว์บ้างและแร่ธาตุต่างๆบ้าง มาทั้งจากต่างประเทศ เรียกเครื่องหอมเทศ และมาจากถิ่นที่ของตนในที่นี้ขอเรียก เครื่องหอมไทย นำมาผสมผสานกัน ได้เครื่องหอมเป็นยา ซึ่งความหอมที่ได้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
สรรพคุณรักษาด้วย หมอไทยจึงทำยานั้นให้หอม เป็นการรักษาทางกลิ่นสัมผัส ในแผนไทยเรากำหนดสรรพคุณ
ของสมุนไพรด้วยรสของสมุนไพรนั้น โดยแบ่งเป็น ๙ รส จะขอกล่าวเพียง ๒ รส คือ รสหอมร้อน และ รสหอมเย็น
เมื่อนำมาทำเป็นยาหอมจะได้ยาหอม ๒ รส คือ ยาหอม ออกทางร้อน และยาหอมที่ไม่ร้อนไม่เย็น เรียก ยาหอม ออกทางสุขุม ใช้รักษาอาการทางลมที่แตกต่างกันเป็น ๒ กอง คือกองลมในไส้,นอกไส้ ใช้ยาหอม ออกทางร้อน และกองลมตีขึ้นเบื้องบน ใช้ยาหอม ออกทางสุขุม แต่ถ้าจะกล่าวโดยละเอียด ยาหอมสุขุม ยังแบ่งออกเป็น ยา
หอมสุขุมร้อน และยาหอมสุขุมเย็นอีก ที่หมอไทยแบ่งออกโดยละเอียดด้วยเหตุที่ลมร้อนนั้นร้อนต่างกัน ลมจึงไป
ก่ออาการได้หลายตำแหน่งในร่างกาย ตามธรรมชาติของความร้อนไอร้อนที่ลอยขึ้นบนเสมอ
ยาหอม รสร้อน ทำจากสมุนไพรรสหอมร้อนเป็นหลักเพื่อเข้าไปสร้างลมเพื่อผลักลมในช่องท้องให้ออกมา
อาการท้องอืดเฟ้อเรอ จุกเสียดแน่นในท้องจะลดลง ส่วนใหญ่ที่วางขายในท้องตลาดจะเป็นยาหอมรสนี้เป็นส่วนมาก
ยาหอม รสสุขุมร้อน ทำจากสมุนไพรรสหอมร้อนมากกว่ารสหอมเย็น โดยสมุนไพรรสหอมเย็นต้องผ่านกรร
วิธีอบกระแจะหอมเสียก่อน แล้วนำมาผสมเข้ากัน ปรุงด้วยเครื่องหอมอีกครั้ง ไม่ใช่แค่นำมาบดแล้วผสม ใช้แก้กองลมที่ตีเข้าอกเรียก "ลมแน่นเข้าอก" ทำให้แน่นเสียดในอก ขึ้นถึงคอเรียก"ลมจุกคอ" กลืนไม่เข้า คายไม่ออก
ยาหอม รสสุขุมเย็น ทำโดยนำกระแจะหอมมาผสมกับน้ำกระสายยาที่มีรสหอมเย็นเพื่อให้หอมเย็นมากยิ่งขึ้น
ถึงจะนำไปผสมกับสมุนไพรรสหอมร้อน ใช้แก้กองลมร้อนตีขึ้นเบื้องสูง มึนหัว เวียนหัว หน้ามืดตาลาย คล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ผะผืดผะอม ทรงตัวไม่อยู่โคลงเคลงไปมา ปวดลมปะกัง(ไมเกรนชนิดหนึ่ง) ลมปะกังออกตา(ปวดเบ้าตา
ตาร้อนผ่าว ตาแดง ตาแห้ง ความดันออกตา)
ยาหอมรสร้อนทำเพียงบดผสมเข้ากัน แล้วปรุงพิมเสนเพิ่มเท่านั้น แต่ยาหอมสุขุมร้อน และเย็นต้องผ่านวิธีทำกระแจะหอมเสียก่อน ถึงจะนำไปผสมกับเครื่องหอมอีกขนานอันประกอบไปด้วย ชมดเช็ด/ชมดเชียง/อำพันทอง/
อำพันขี้ปลา/พิมเสนในปล้องไม้ไผ่/หญ้าฝรั่น เป็นต้น ยาหอมรสร้อนจึงใช้เพียงแก้ลมท้องอืด ควรใช้ยาหอมแก้
ให้ถูกกับกองลมที่เกิดอาการจึงได้ผลดีกว่า
ขอแยกอาการตามกองลมที่เกิด และการใช้ยาหอมตามรสของยาดังนี้
๑ กองลมในไส้-นอกไส้ ท้องอืดเฟ้อเรอแน่นจุกเสียดในท้อง ยาหอมรสร้อน
๒ กองลมตีขึ้นบนแค่อกคอ แน่นหน้าอก จุกคอกลืนไม่เข้าไม่ออก ยาหอมสุขุมร้อน
๓ กองลมตีขึ้นถึงศีรษะ เวียน/มึน/หนักๆในหัว,ปวดหัว,เป็นลม ยาหอมสุขุมเย็น
ยาหอมเป็นยาสามัญประจำบ้านมาแต่โบราณ ใช้บรรเทามิได้รักษา และเมื่อบรรเทาแล้วต้องพบแพทย์เพื่อ
รักษาต่อไป ขอยกตัวอย่างยาหอมในบัญชียาหลักแห่งชาติและวิธีการวางยาให้ถูกต้องดังนี้

ยาหอมรสร้อน-สุขุม (ยาหอมนวโกฏ)
สรรพคุณ แก้ลมอันเกิดแต่กำเดา(ไอแห่งความร้อน) ที่ทำให้ท้องเต็มไปด้วยลม อืด/เฟ้อ/เรอบ่อย ลดอาการผะอืด
ผะอม เพิ่มลมเบ่งอุจจาระสำหรับอาการท้องผูกจากลมเบ่งหย่อน
ยาหอมรสสุขุม-ร้อน (ยาหอมทิพโอสถ)
สรรพคุณ แก้กองลมแน่นเข้าอก จุกเสียดในอก แก้กองลมจุกเข้าคอ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ยาหอมรสสุขุม-เย็น (ยาหอมเทพจิตร)
สรรพคุณ แก้กองลมเสียดราวข้าง แก้กองลมที่ตีขึ้นเบื้องบนทำให้ หน้ามืดตาลาย วิงเวียน ตามัวตาพร่าตาฝ้า
ลมออกตา ลมปะกัง หนักๆมึนๆในศีรษะ

ใช้ยาหอม ภูมิปัญญาแห่งบรรพชนสยามให้ถูกต้องไม่ใช่เป็นลมหน้ามืดแต่ไปใช้ยาหอมรสร้อน สุขุมร้อน
หรือท้องอืดเฟ้อ แต่ไปใช้ยาหอมสุขุม แล้วบอกว่าไม่ดีไม่เห็นหาย ก็ใช้ผิดจะไปหายได้อย่างไร แต่เมื่อรู้แล้วใช้ให้
ถูกต้องแล้วบอกผู้อื่นเป็นความรู้ต่อไป มีข้อเพิ่มเติมอีกนิดว่า ถ้ามีอาการลมขึ้นบนบ่อยๆให้ทานยาเขียว/ยาขม
ร่วมด้วยจะทุเลาหายเร็วขึ้น เพราะยาเขียว/ยาขมเป็นยาเย็น ผ่อนร้อนภายใน ไฟหายลมสงบ
แต่หากจะรักษากองลมไม่ให้มากไป-น้อยไป โบราณใช้น้ำกระสายยาช่วยลดบรรเทาดังนี้
น้ำกระสายยาลดความร้อนภายใน(เย็น)
ส่วนประกอบ ดอกไม้หอม(แล้วแต่หาได้)เช่น มะลิ,กระดังงา,กุหลาบ เป็นต้น คำฝอย,คำแสด,คำไทย
มีขายในรูปแบบชาชง ชาเขียว,ใบบัวบก ผลไม้เย็นเช่น สตอเบอรี่,มังคุด,เงาะ เป็นต้น
วิธีทำ นำทั้งหมดลงต้ม ยกเว้นดอกไม้ใส่ภายหลัง แล้วกรองปล่อยให้เย็น เติมน้ำเตยคั้น ปรุงรส
เปรี้ยวหวาน
วิธีใช้ กินอุณหภูมิปกติ ดื่มแทนน้ำได้ ช่วยผ่อนร้อนให้เย็นแบบสุขุมนุ่มนวล
น้ำกระสายยาลดลมภายใน(ร้อน)
ส่วนประกอบ ขิง/ใบสะระแหน่/ตะไคร้แกง/ลำไยแห้ง/
วิธีทำ นำทั้งหมดลงต้ม แล้วกรอง ปรุงรสหวานนิดเปรี้ยวหน่อยพออร่อย
วิธีใช้ กินอุณหภูมิปกติ ดื่มแทนน้ำ หลังอาหารยิ่งดี ช่วยย่อยขับลม ลดอืดเฟ้อแต่ไม่เรอ

ลมมากินอาหารรสร้อนพร้อมน้ำกระสายยาร้อนต่างน้ำ ร้อนมากินอาหารรสเย็นพร้อมน้ำกระสายยา
รสเย็นต่างน้ำ โบราณใช้รักษาลมไม่ให้เป็นลม ไม่เกิดลมสวิงสวายทำให้กระสับกระส่าย นี่แหละภูมิปัญญา
จากคนโบราณสำหรับคนเดี๋ยวนี้ ทำเองทำได้ไม่ป่วย

ที่มา: คมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

ลมปะกัง(ไมเกรน)

ปวดหัว,มึนหัว,หนักๆในหัว,ปวดหัวข้างเดียว,หน้ามืด,เวียนหัว,เป็นลมหมดสติ,คลื่นไส้ผะอืดผะอม
ทรงตัวไม่อยู่ อาการเหล่านี้หมอไทยว่าไว้ เป็นอาการลมตีขึ้นเบื้องสูงหมายศีรษะ บันทึกไว้ในคัมภีร์ชื่อ
" สมุหฐานวินิจฉัย " จะเข้าใจอาการเหล่านี้ได้ต้องเข้าใจธรรมชาติของไอร้อน(กำเดา)และลมร้อนเสียก่อน
เพราะเป็นสมุหฐานเหตุตามกล่าวไว้ในคัมภีร์
ไอร้อน เกิดแต่ อากาศร้อนภายนอก/การทำงานของตับ/หัวใจ/การสันดาปอาหาร/ป่วยเป็นไข้ทำให้
ตัวร้อน/การเคลื่อนไหวร่างกาย/การเสียดสีของอวัยวะภายในกาย ฯลฯ
ลมร้อน เกิดแต่ไอร้อนที่เคลื่อนตัวสูงขึ้น ไอที่ร้อนน้อยกว่าเข้ามาแทนที่แล้วเคลื่อนขึ้นบน เกิดเป็นลม
ร้อนตีขึ้นเบื้องสูงหมายศีรษะ
และเมื่อลมร้อนขึ้นถึงศีรษะก็จะหาทางออก โดยออกได้หลายช่องทางทำให้เกิดอาการมากมายดังนี้
1. ออกหู ทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหู 2. ออกตา ทำให้ตาร้อนผ่าวๆ ตาแดง เกิดบ่อยจะเป็นต้อลม 3. ออก
คอ ทำให้คอร้อนผ่าวๆไอแห้งๆ 4. ออกจมูก ทำให้จมูกแห้ง หายใจร้อนเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าได้ง่ายๆ
5. ออกปาก ลิ้นแห้ง ช่องปากแห้ง และเป็นฝ้าขาวบนลิ้น
แต่ถ้าไม่ออกหรือออกได้น้อย ก็จะเกิดแรงดันในศีรษะ ทำให้ปวดหัว มึนหัว หนักหัว หน้ามืด ตาลาย
วิงเวียน คลื่นไส้ผะอืดผะอม ถ้าลมร้อนเทไปด้านใดด้านหนึ่งจะเกิดเป็น "ลมปะกัง" หรือไมเกรนนั่นเอง
ลมปะกังจะเกิดมาก ในช่วงวัยที่ปิตตะกำเดากำเริบได้ง่าย เรียกมัชฌิมวัย อายุเข้า17-32 ปี และ
ในช่วงปัจฉิมวัยต้อนต้น อายุ 32-37 ปี โดยประมาณ ด้วยเป็นวัยที่ไอกำเดากำเริบได้ง่ายมาก จาก
อายุ/อาชีพ/อริยาบท/การใช้ชีวิต/ความกลัดกลุ้ม ไฟเกิดลมเกิด ลมเทไปข้างเดียว เป็นลมปะกัง นอกจากนั้น
เข้าช่วงหมดประจำเดือน จะเกิดกำเดาระส่ำระส่าย นี่ก็เป็นเหตุให้เกิดลมปะกังได้เช่นกัน วิตกกังวล/อ่อนเพลีย
เรื้อรัง/ความโกรธ/ความอิจฉาริษยา/ความอยากได้อยากมี/ความไม่เคยพอ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดกำเดา
เกิดลมร้อน เกิดลมปะกังในที่สุด
และเมื่อเกิดก็ต้องรักษาที่เหตุ ไม่ใช่ไปกินยาขยายหลอดเลือดในศีรษะ ไปกินยาลดเครียด ยานอนหลับ
ยาลดไมเกรน เพราะมันเป็นปลายเหตุทั้งสิ้น หมอไทยจะหาเหตุที่ทำให้เกิด เพราะเหตุต่างกันแต่มีอาการปลายเหตุเดียวกันการรักษาก็ต่างกันไ
การรักษาลมปะกังโดยพื้นฐาน ซึ่งหมอจะต้องไปหาเหตุที่ต่างกันเสียก่อน ไม่ใช่ทำตามวิธีนี้ทั้งหมด
1. รุ รุกำเดาอุ่นกาย/รุความร้อนของตับ/รุลมในไส้นอกไส้/รุอารมณ์
2. ล้อม ล้อมลมสูงให้ลงล่าง/ล้อมลมกองหทัยวาตะ/ล้อมกำเดาอุ่นกายต่อจากรุ
3. รักษา รักษากองลมให้เสถียร/บำรุงตับให้บริบรูณ์/รักษาอารมณ์ หากจะแค่บรรเทาลมปะกัง แนะนำให้กินยาเขียว/ยาขม/ยาหอมลมกองละเอียด หรือทำน้ำกระสายยา
กินเองก็ได้ดังนี้

น้ำกระสายยาลมปะกัง
ส่วนประกอบ ใบบัวบก/เกสรบัวหลวง/ดอกแค/ดอกขจร/ใบและดอกขี้เหล็ก/บวบเหลี่ยม/กานพลู/ผักเสี้ยนผี
ก้านสะเดา/ใบหญ้านาง
วิธีทำ นำลงต้มห้ามเคี่ยว แล้วกรอง
วิธีใช้ ครั้งละ 1 แก้ว ให้เติมน้ำมะนาวจนเปรี้ยวจี๊ด เกลือเล็กน้อยพอ ใช้ดื่มยาม 2 หัว/กลาง/ท้าย
10.00/13.00/15.00 น

น้ำกระสายยาผ่อนลม
ส่วนประกอบ ขิง/ข่า/ตะไคร้/กานพลู/ลูกจันทน์/ดอกจันทน์/ลูกกระวาน
วิธีทำ นำลงต้มห้ามเคี่ยว แล้วกรอง
วิธีใช้ ครั้งละ 1 แก้ว ใช้ดื่มเข้ายาม3 หัว/กลาง/ท้าย 14.00/16.00/18.00 น.

น้ำกระสายยาที่ให้ไม่ใช่เพียงแค่บรรเทาอาการลมปะกังเท่านั้น ยังช่วยบรรเทาอาการลมตีขึ้นเบื้องบน
ทั้งหมดได้อีกด้วย แต่แค่เพียงบรรเทาเท่านั้น ถ้าเป็นแล้วต้องรักษา รักษาหายแล้วดื่มน้ำกระสายไม่ให้เป็นอีก
 

สำหรับการรักษา โบราณมียาพร้อมเพราะเป็นโรคโบราณ ตัวอย่างเช่น
ยารุกำเดาอุ่นกาย ชื่อยาเขียว/ยาขม ยารุความร้อนตับ ชื่อยากล่อมนางนอน ยารุลมในไส้นอกไส้ ชื่อยา
อากาศบริรักษ์ ยารุอารมณ์ ชื่อยาหอมกล่อมอารมณ์
 

ยาล้อมลมสูงให้ลงล่าง ชื่อยาหอมเทพจิตรารมย์ ยาล้อมกองหทัยวาตะ ชื่อยาหอมมหาสีสว่าง
ยารักษากองลม ชื่อยาฤทธิกาศ ยารักษากองลมเส้นประสาท ชื่อยาหอมอดุลสำราญ เป็นต้น
 

ที่มา:คมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)