วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สุขภาพในช่องปาก

เหงือกที่มีสุขภาพดี – เหงือกที่แข็งแรงจะมีความกระชับ และไม่มีเลือดออก
เหงือกอักเสบ – เหงือกมีอาการติดเชื้ออ่อนๆ เหงือกจะมีสีแดง บวม และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน
เยื่อหุ้มฟันอักเสบ - เหงือกเริ่มร่น และไม่แนบกับฟัน ซึ่งทำให้คราบพลัคสามารถลุกลามไปยังรากฟัน เอ็นปริทันต์ และกระดูก
เมื่ออ่านแล้วเริ่มเช็คเหงือกของท่านดูนะคะ ถ้าปล่อยไว้ในส่วนนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจที่เดียว

โรคเหงือกมีกี่ระยะ?
     โรคเหงือกเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อของเหงือก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระดูก และเนื่อเยื่อปริทันต์รอบๆที่ช่วยพยุงฟัน โรคเหงือกนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากคราบพลัค (แผ่นคราบจุลินทรีซึ่งมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มเหนียวไร้สีที่ค่อยๆเกาะรวมตัวกันบนผิวฟัน) ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถขจัดคราบพลัคออกได้หมด คราบพลัคจะเริ่มก่อตัวขึ้น และสร้างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อเหงือก และกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการฟันโยก ฟันหลุด หรือถูกถอนฟันออกในที่สุด

โรคเหงือก มีอาการ 3 ระยะด้วยกัน
ระยะเหงือกอักเสบ:
      จัดว่าเป็นโรคเหงือกระยะเริ่มต้น การอักเสบนี้เกิดมาจากคราบพลัคที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถทำความสะอาดคราบพลัคนี้ออกไปได้ การสะสมของคราบพลัคนี้จะทำให้มีสารพิษซึ่งก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อเหงือกเกิดขึ้น และทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการที่สังเกตได้ง่ายก็คือการมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ในระยะแรกเริ่มนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังสามารถที่จะทำให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์เหมือนเดิมได้ เนื่องจากกระดูก และเนื้อเยื่อโดยรอบที่ช่วยพยุงและโอบรัดฟันยังไม่ได้รับผลกระทบ
 

ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ:
     ในระยะนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่ช่วยพยุงฟันได้ถูกทำลายจนไม่สามารถรักษาให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แล้ว เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดโพรงขึ้นใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบพลัค และมีเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างถูกวิธี ประกอบกับการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกมากไปกว่านี้
 

ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย:
     โรคเหงือกระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อพยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการฟันเคลื่อนหรือฟันโยกได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการเคี้ยวที่บกพร่อง หากการรักษาอย่างเข้มข้น ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทันตแพทย์ก็จำเป็นที่จะต้องถอนฟันออก

สัญญาณของโรคเหงือก
โรคเหงือกสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย แต่จะเกิดมากในวัยผู้ใหญ่ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็จะสมารถรักษาให้เหงือกกลับมาแข็งแรงดังเดิมได้ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบทันตแพทย์โดยด่วน

  • เหงือกแดง บวม และเปื่อย
  • อาการเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
  • ฟันดูมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเหงือกร่อนลงมา
  • เหงือกที่แยกออกมาไม่แนบสนิทกับฟันจนทำให้เกิดเป็นโพรง
  • ขึ้นมาเมื่อเคี้ยวอาหารแล้วฟันไม่สบฟันกันเหมือนเดิม
  • มีหนองไหลออกมาจากบริเวณฟันและเหงือก
  • มีกลิ่นปาก และมีรสชาติแย่ ในปากอยู่ตลอดเวลา


โรคเหงือกสามารถรักษาได้อย่างไร?
      • โรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้โดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้มีคราบพลัาคเกิดขึ้น


      • การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือโดยทันตแพทย์เป็นวิธีการเดียวที่จะสมารถกำจัดคราบพลัคที่แข็งตัวเป็นหินปูนได้ ทันตพทย์จะทำความสะอาด หรือขัดหินปูนในบริเวณด้านบนและด้านล่างของรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ถ้าอาการหนักมาก อาจจะต้องมีการวางแผนรักษารากฟัน แผนรักษารากฟันนี้จะลดการเกิดความระคายเคืองต่อรากฟันซึ่งจะทำให้คราบพลัคก่อตัวในบริเวณรากฟันได้ยากขึ้น การหมั่นตรวจเช็คสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถรักษาโรคเหงือกได้ ก่อนที่อาการจะลุกลามจนใหญ่โต ถ้าคุณมีอาการของโรคเหงือกที่รุนแรง ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากทันตแพทย์
 

ที่มา:Ayurvedic Association of Thailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น