วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โกรธบ่อยโรคเพียบ

เวลาคนเราโกรธ จะแสดงอารมณ์ออกได้ 2 แบบ

1. โกรธแบบแสดงอารมณ์ หน้าตาแดงก่ำ อารมณ์รุนแรง เสียงดัง หายใจแรง เรียกว่า โกรธจัด โกรธแบบนี้ กลไกพลังของตับขึ้นด้านบนอย่างรุนแรง

2. โกรธแบบเก็บกด โกรธแบบไม่แสดงออก หรือเก็บกด โกรธนี้พลังไม่ถูกระบาย ทำให้พลังตับอุดกั้น
ฤดูกาลที่เกี่ยวข้องกับความโกรธ

อุบัติการณ์เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองแตก หัวใจขาดเลือดมักพบในฤดูใบไม้ผลิมาก (ปลายฝนต้นหนาว) เพราะเป็นช่วงที่พลังของธรรมชาติกำลังเกิด เช่นเดียวกับพลังตับ จึงต้องคุมอารมณ์โกรธ เพราะมีแนวโน้มจะถูกผลักดันให้พลังตับแกร่งเกินได้ง่าย คนสูงอายุในช่วงตรุษจีนจึงต้องทำจิตใจให้สบายผ่อนคลายในวันปีใหม่

ผลกระทบของอารมณ์โกรธแบบแสดงออกรุนแรง

1. ภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ (จ้งเฟิง)

อารมณ์โกรธ เกี่ยวข้องกับพลังตับ มีผลทำลายตับ พลังตับปกติก็มีลักษณะขึ้นสู่ด้านบนอยู่แล้ว เมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้พลังยิ่งย้อนขึ้นบนมากขึ้น เลือดก็จะถูกผลักดันสู่ด้านบนมากขึ้น ด้วย ทำให้เวลาโกรธ หน้าจะแดงก่ำ ตาแดง บางทีเกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ (คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง จัดเป็นคนที่ที่มีพลังตับแกร่งลอยอยู่ด้านบนมากอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีอารมณ์โกรธแบบรุนแรง ความดันโลหิตจะสูงขึ้นอีก เลือดจะถูกขับเคลื่อนไปสมองมากขึ้น เกิดหลอดเลือดสมองแตกหมดสติได้ง่าย)

ตับ มีหน้าที่คล้ายแม่ทัพชอบบู๊ ชอบใช้ความรุนแรง ตับห้ามโกรธ เพราะถ้าโกรธก็จะรบราฆ่าฟัน จะมีผลเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ

2. โรคกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือด

อวัยวะตับ เมื่อมีพลังมากเกิน จะมีผลไปข่มยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร ปกติกระเพาะอาหารจะมีกลไกพลังลงล่าง เพื่อส่งผ่านอาหารที่ย่อยแล้วระดับหนึ่งไปย่อยต่อและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ถ้าพลังตับมาก การทำงานของกระเพาะอาหารจะเสียหน้าที่ ทำให้เกิดอาการเรอ สะอึก อาหารไม่ย่อย จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร

รายที่มีโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอยู่แล้ว อาจเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดได

3. กระทบม้าม ทำให้ท้องเสีย

บางครั้งการโกรธมาก ๆ ต่อมาจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้ง่ายต่อการถูกกระตุ้นทางอารมณ์ แพทย์จีนเรียกว่า "พลังตับข่มเกินม้าม"

คนที่ท้องเสียบ่อย ๆ เวลามีอารมณ์โกรธ ต้องควบคุมรักษาทางจิตอารมณ์ด้ว

การโกรธที่มากเกินไป บางครั้งจะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ควบคุมสติไม่ได้ ไม่อยู่กับโลกความเป็นจริง เป็นเพราะตับถูกกระทบกระเทือนมากเกินไป

อารมณ์โกรธแบบเก็บกด

เป็นอารมณ์โกรธ แต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ เพราะหลายเหตุผลทำให้เก็บกดทางอารมณ์ มีผลกระทบแบบสะสมเรื้อรัง ทำให้เลือดและพลังติดขัดไม่ไหลเวียน อวัยวะที่เส้นลมปราณตับไหลเวียนผ่านจะถูกกระทบ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เต้านม และตับ ทำให้เกิดโรคในระยะยาว

ผลกระทบของอารมณ์โกรธแบบเก็บกด

1. โกรธแบบเก็บกดทำให้เกิดมะเร็งตั

ถ้าการไหลเวียนของพลังและเลือดในอวัยวะตับติดขัด จะก่อให้เกิดการสะสมตัวเป็นก้อน เกิดตับแข็ง เกิดก้อนมะเร็ง แพทย์จีนเรียกว่าจื่อเจิ้ง

การเกิดมะเร็งในตับ นอกจากเกิดจากสาเหตุเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือจากภาวะตับแข็งจากพิษของอาหารที่กินเข้าไปสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในทัศนะแพทย์จีน อารมณ์โกรธแบบเก็บกดจะเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

2. มีผลต่อความผิดปกติของประจำเดือ

ระบบสืบพันธุ์ของสตรี จัดว่าเป็นระบบอ่อนแอที่สุดของร่างกาย ถ้ามีปัจจัยก่อโรคต่าง ๆ เช่น ความเย็น ความอ่อนล้า ความเครียด ความเจ็บป่วยเรื้อรัง ฯลฯ จะทำให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน (ประจำเดือนเป็นหน้าต่างสุขภาพของสตรี)

เส้นลมปราณตับติดขัด มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงตามกำหนด ปวดประจำเดือน คัดหน้าอก (เกิดก้อนที่เต้านม) มีก้อนที่มดลูก ถ้าเกิดสะสมพลังอุดกั้นนาน ๆ จะเกิดไฟ ทำให้ประจำเดือนมีเลือดออกมากผิดปกติ

3. ทำให้ไอ หอบหืด

ปกติตับเป็นธาตุไม้ ถูกควบคุมด้วยปอด ซึ่งเป็นธาตุทอง กรณีพลังตับมากเกินไปจนเกิดไฟจะเกิดปรากฏการณ์ตับข่มกลับปอด

พื้นฐานอารมณ์เก็บกดทำให้บางครั้งเวลาเกิดไข้หวัด หรือขณะที่ไฟตับกำเริบอยู่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้ง ไม่มีเสลด ไอ หอบได้ง่าย

แนวทางป้องกัน รักษาอารมณ์โกรธ

1. ใช้อารมณ์ควบคุมอารมณ์ เวลาโกรธพลังย้อนขึ้นบน ต้องทำให้ดีใจ ทำให้หัวเราะ เพราะดีใจทำให้พลังเคลื่อนตัวช้า ต้องหากุศโลบายให้หัวเราะ ทำให้ตกใจกลัว เพราะความกลัวทำให้พลังตกลงด้านล่าง เช่น เวลาคนสะอึก บางคนหลอกให้ตกใจ เพื่อดึงพลังลงล่าง ขณะคนกำลังโกรธ อาจสร้างเหตุการณ์ทำให้เขาตกใจกลัว อาการโกรธจะหายไป

2. กินผัก ผลไม้สีเขียว รสเปรี้ยว สีเขียวเป็นอวัยวะตับ ผักสีเขียว ถั่วงอก ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี ฯลฯ สามารถเข้าอวัยวะตับ รสเปรี้ยวจะดึงรั้งพลังตับไม่ให้มากเกินไป รสขมจะช่วยขับระบายความร้อนในตับได้

3. การตะโกนเสียงดัง ๆ ออกเสียง ชวี จะเป็นการระบายพลังตับออกสู่ภายนอก

"ความโกรธทำลายคนอื่นและทำลายตัวเองเสมอ"

credit : หมอสะกีนะฮฺ แพทย์แผนตะวันออก ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น