วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลมปะกัง(ไมเกรน)

ปวดหัว,มึนหัว,หนักๆในหัว,ปวดหัวข้างเดียว,หน้ามืด,เวียนหัว,เป็นลมหมดสติ,คลื่นไส้ผะอืดผะอม
ทรงตัวไม่อยู่ อาการเหล่านี้หมอไทยว่าไว้ เป็นอาการลมตีขึ้นเบื้องสูงหมายศีรษะ บันทึกไว้ในคัมภีร์ชื่อ
" สมุหฐานวินิจฉัย " จะเข้าใจอาการเหล่านี้ได้ต้องเข้าใจธรรมชาติของไอร้อน(กำเดา)และลมร้อนเสียก่อน
เพราะเป็นสมุหฐานเหตุตามกล่าวไว้ในคัมภีร์
ไอร้อน เกิดแต่ อากาศร้อนภายนอก/การทำงานของตับ/หัวใจ/การสันดาปอาหาร/ป่วยเป็นไข้ทำให้
ตัวร้อน/การเคลื่อนไหวร่างกาย/การเสียดสีของอวัยวะภายในกาย ฯลฯ
ลมร้อน เกิดแต่ไอร้อนที่เคลื่อนตัวสูงขึ้น ไอที่ร้อนน้อยกว่าเข้ามาแทนที่แล้วเคลื่อนขึ้นบน เกิดเป็นลม
ร้อนตีขึ้นเบื้องสูงหมายศีรษะ
และเมื่อลมร้อนขึ้นถึงศีรษะก็จะหาทางออก โดยออกได้หลายช่องทางทำให้เกิดอาการมากมายดังนี้
1. ออกหู ทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหู 2. ออกตา ทำให้ตาร้อนผ่าวๆ ตาแดง เกิดบ่อยจะเป็นต้อลม 3. ออก
คอ ทำให้คอร้อนผ่าวๆไอแห้งๆ 4. ออกจมูก ทำให้จมูกแห้ง หายใจร้อนเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าได้ง่ายๆ
5. ออกปาก ลิ้นแห้ง ช่องปากแห้ง และเป็นฝ้าขาวบนลิ้น
แต่ถ้าไม่ออกหรือออกได้น้อย ก็จะเกิดแรงดันในศีรษะ ทำให้ปวดหัว มึนหัว หนักหัว หน้ามืด ตาลาย
วิงเวียน คลื่นไส้ผะอืดผะอม ถ้าลมร้อนเทไปด้านใดด้านหนึ่งจะเกิดเป็น "ลมปะกัง" หรือไมเกรนนั่นเอง
ลมปะกังจะเกิดมาก ในช่วงวัยที่ปิตตะกำเดากำเริบได้ง่าย เรียกมัชฌิมวัย อายุเข้า17-32 ปี และ
ในช่วงปัจฉิมวัยต้อนต้น อายุ 32-37 ปี โดยประมาณ ด้วยเป็นวัยที่ไอกำเดากำเริบได้ง่ายมาก จาก
อายุ/อาชีพ/อริยาบท/การใช้ชีวิต/ความกลัดกลุ้ม ไฟเกิดลมเกิด ลมเทไปข้างเดียว เป็นลมปะกัง นอกจากนั้น
เข้าช่วงหมดประจำเดือน จะเกิดกำเดาระส่ำระส่าย นี่ก็เป็นเหตุให้เกิดลมปะกังได้เช่นกัน วิตกกังวล/อ่อนเพลีย
เรื้อรัง/ความโกรธ/ความอิจฉาริษยา/ความอยากได้อยากมี/ความไม่เคยพอ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดกำเดา
เกิดลมร้อน เกิดลมปะกังในที่สุด
และเมื่อเกิดก็ต้องรักษาที่เหตุ ไม่ใช่ไปกินยาขยายหลอดเลือดในศีรษะ ไปกินยาลดเครียด ยานอนหลับ
ยาลดไมเกรน เพราะมันเป็นปลายเหตุทั้งสิ้น หมอไทยจะหาเหตุที่ทำให้เกิด เพราะเหตุต่างกันแต่มีอาการปลายเหตุเดียวกันการรักษาก็ต่างกันไ
การรักษาลมปะกังโดยพื้นฐาน ซึ่งหมอจะต้องไปหาเหตุที่ต่างกันเสียก่อน ไม่ใช่ทำตามวิธีนี้ทั้งหมด
1. รุ รุกำเดาอุ่นกาย/รุความร้อนของตับ/รุลมในไส้นอกไส้/รุอารมณ์
2. ล้อม ล้อมลมสูงให้ลงล่าง/ล้อมลมกองหทัยวาตะ/ล้อมกำเดาอุ่นกายต่อจากรุ
3. รักษา รักษากองลมให้เสถียร/บำรุงตับให้บริบรูณ์/รักษาอารมณ์ หากจะแค่บรรเทาลมปะกัง แนะนำให้กินยาเขียว/ยาขม/ยาหอมลมกองละเอียด หรือทำน้ำกระสายยา
กินเองก็ได้ดังนี้

น้ำกระสายยาลมปะกัง
ส่วนประกอบ ใบบัวบก/เกสรบัวหลวง/ดอกแค/ดอกขจร/ใบและดอกขี้เหล็ก/บวบเหลี่ยม/กานพลู/ผักเสี้ยนผี
ก้านสะเดา/ใบหญ้านาง
วิธีทำ นำลงต้มห้ามเคี่ยว แล้วกรอง
วิธีใช้ ครั้งละ 1 แก้ว ให้เติมน้ำมะนาวจนเปรี้ยวจี๊ด เกลือเล็กน้อยพอ ใช้ดื่มยาม 2 หัว/กลาง/ท้าย
10.00/13.00/15.00 น

น้ำกระสายยาผ่อนลม
ส่วนประกอบ ขิง/ข่า/ตะไคร้/กานพลู/ลูกจันทน์/ดอกจันทน์/ลูกกระวาน
วิธีทำ นำลงต้มห้ามเคี่ยว แล้วกรอง
วิธีใช้ ครั้งละ 1 แก้ว ใช้ดื่มเข้ายาม3 หัว/กลาง/ท้าย 14.00/16.00/18.00 น.

น้ำกระสายยาที่ให้ไม่ใช่เพียงแค่บรรเทาอาการลมปะกังเท่านั้น ยังช่วยบรรเทาอาการลมตีขึ้นเบื้องบน
ทั้งหมดได้อีกด้วย แต่แค่เพียงบรรเทาเท่านั้น ถ้าเป็นแล้วต้องรักษา รักษาหายแล้วดื่มน้ำกระสายไม่ให้เป็นอีก
 

สำหรับการรักษา โบราณมียาพร้อมเพราะเป็นโรคโบราณ ตัวอย่างเช่น
ยารุกำเดาอุ่นกาย ชื่อยาเขียว/ยาขม ยารุความร้อนตับ ชื่อยากล่อมนางนอน ยารุลมในไส้นอกไส้ ชื่อยา
อากาศบริรักษ์ ยารุอารมณ์ ชื่อยาหอมกล่อมอารมณ์
 

ยาล้อมลมสูงให้ลงล่าง ชื่อยาหอมเทพจิตรารมย์ ยาล้อมกองหทัยวาตะ ชื่อยาหอมมหาสีสว่าง
ยารักษากองลม ชื่อยาฤทธิกาศ ยารักษากองลมเส้นประสาท ชื่อยาหอมอดุลสำราญ เป็นต้น
 

ที่มา:คมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น