วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

6 วิธีดูแลสุขภาพหน้าร้อนในทัศนะแพทย์จีน







1. ไม่ควรดื่ม น้ำแข็ง หรือ ดื่มน้ำเย็นจัด
                ฤดูร้อน อากาศร้อน ต้องหาทางช่วยดับความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนกระทบร่างกายมากเกินไป เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่วิธีการให้ความเย็นแทนที่มากเกินไป เช่น กินน้ำแข็งอยู่ในที่ที่มีความเย็น กินแต่อาหารที่มีความเย็น ฯลฯ นับว่าไม่เหมาะสมโดยทั่วไปเรามักดื่มน้ำเย็นๆ น้ำใส่น้ำแข็ง น้ำชาแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง น้ำอัดลม ผลไม้แช่เย็น เช่นแตงโม สับปะรด ฯลฯ
ของเย็นๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร น้ำเย็นปริมาณมากจะไปเจือจางน้ำย่อย และ มีผลให้เลือดที่มาหล่อเลี้ยงกระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยลดน้อยลงทำให้สมรรถภาพการย่อยอาหารลดลง ก่อให้เกิดโรคกระเพาะลำไส้อักเสบได้ง่าย คนที่เป็นโรคกระเพาะ และเป็นแผลอักเสบอยู่แล้ว ก็จะกำเริบได้ง่าย หรือคนที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
หากดื่มน้ำเย็น ก็จะยิ่งทำให้มีอาการไอ และ หอบมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ก็มีส่วนทำให้เกิดท้องร่วงท้องเสียอีกด้วย
 

2. เครื่องดื่มที่เหมาะสมในหน้าร้อน
                ในฤดูร้อน ที่เรามีการสูญเสียน้ำทางเหงื่อมาก การทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปที่ดี คือ การดื่มน้ำเปล่า (ที่สุกแล้ว) หรือ ถ้าจะเสริมปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เกลือ หรือสมุนไพรอื่นๆ ก็สามารถเลือกได้ตามความชอบและความเหมาะสม เช่นการดื่มชาร้อน น้ำเก๊กฮวย น้ำดอกสายน้ำผึ้ง น้ำใบไผ่ น้ำบ๊วย น้ำถั่ว ช่วยลดความร้อนของหัว ใจ (การไหลเวียนเลือด) ทำให้ตาสว่าง เพิ่มน้ำในร่างกาย บำรุงตับ บำรุงไต เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อย และดูดซึมอาหาร ขับปัสสาวะเสริมพลังร่างกาย

การเติมน้ำตาลและเกลือ (ในปริมาณที่พอเหมาะ) ในเครื่องดื่มต่างๆ จะช่วยเสริมพลังและ ป้องกันการสูญเสียเกลือโซเดียมของร่างกายได้ โดยเฉพาะคนที่ทำงานกลางแจ้ง หรือใช้แรงงานมาก
ตัวอย่าง เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพหน้าร้อน

- ใบบัว สด (บัว หลวง) ๒๐กรัม น้ำ ๑,๐๐๐ ซีซี นำมาต้ม เวลาดื่มเติมน้ำตาลเล็กน้อย จะช่วยขับร้อน ทำให้เย็น สร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย ขับความชื้น ลดไขมันในเลือด

- ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ อย่างละ ๕๐ กรัมต้มใส่น้ำตาล กินทั้งเปลือก มีสรรพคุณขับร้อน ทำให้เย็น ขับความชื้น บำรุงไต เพิ่มพลัง  
- ดอกเก๊กฮวย ๑๐ กรัมชาใบเขียว ๑๐ กรัมต้มใส่น้ำ๕๐๐ ซีซี กินแทนน้ำ ช่วยขับร้อน ทำให้ตาสว่าง เสริมสร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย ลดอักเสบ ขับพิษร้อน

- บ๊วยดำ ๑๐๐ กรัม น้ำ ๑,๐๐๐ ซีซี ต้มใส่น้ำตาลพอประมาณ ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วดื่ม มีสรรพคุณสร้างน้ำในร่างกาย ดับกระหาย หยุดไอ แก้ท้องเสีย

การดื่มน้ำชา หรือ อาหารสมุนไพรที่ร้อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการขับเหงื่อ กระจายความร้อน สังเกตได้ว่าหลังจากกินอาหารดังกล่าว จะทำให้รู้สึกสบาย สรรพคุณของสมุนไพร ก็เพื่อทำให้ภายในร่างกายไม่ร้อนเกินไป และ สร้างน้ำเพื่อไม่ให้เสียเหงื่อมากแต่ไม่ควรดื่มน้ำชาใส่น้ำแข็ง เพราะมีผลเสียมากกว่าผลดี


 3. ไม่ควรนอนให้ลม หรือ ความเย็นโกรก
ความร้อนจากลมแดด ทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เมื่อนอนหลับ ตากลม ในขณะเหงื่อออก จะทำให้อุณหภูมิผิวของร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ แล้วเหงื่อ ไม่สามารถระบายออกได้ จะมีความร้อนสะสมอยู่ข้างใน ทำให้เวียนหัว รู้สึกหนักหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส หรือ อาจทำให้เป็นหวัดได้ การใช้พัดลม หรือ เครื่องปรับอากาศไม่ควรให้กระทบโดยตรง กับร่างกายนานๆ โดยเฉพาะที่บริเวณท้อง หากโดนลมนานๆ จะทำให้ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียได้ หรือ คนที่พลังพร่อง เมื่อโดนลมนานๆ จะทำให้เกิดความเย็น โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้า ทำให้การไหลเวียนเลือดน้อยลง คนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ เวลาออกจากห้อง ต้องระวังการปรับตัวกับอากาศที่ร้อนภายนอก เด็กที่ไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า ต้องระวัง เพราะการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่รวดเร็ว จะทำให้ไม่สบายได้ง่าย
 

4. การนอน การพักผ่อน
โดยธรรมชาติของฤดูร้อน กลางวันจะยาว กลางคืนจะสั้น (คนทั่ว ไปที่ไม่ได้นอนในห้องปรับอากาศที่ปรับอุณหภูมิ) กว่าอากาศจะเย็นสบาย ให้นอนหลับได้ก็มักจะดึก แล้วตอนเช้าตรู่ท้องฟ้าก็สว่างเร็ว ทำให้ต้องตื่นเช้ากว่าที่เคยเป็น หน้าร้อนเราจะนอนได้น้อยกว่าปกติ ขณะเดียวกันอุณหภูมิในตอนกลางวัน จะทำให้เสียเหงื่อ เสียพลัง เหนื่อยง่าย(เพราะมีเลือดไหลเวียนมาที่ผิวกายมากกว่าปกติ แต่ไปเลี้ยงสมองหรือไป ที่ระบบการย่อยอาหารน้อยกว่าปกติ) ทำให้ไม่ค่อยสดชื่น สมองไม่ปลอดโปร่ง รู้สึกง่วงตลอด ในภาวะเช่นนี้ หลายคนที่อยู่ในห้องปรับอากาศ อาจจะไม่ค่อยรู้สึกกับการเปลี่ยนของอากาศมากนัก
แต่สำหรับคนทั่ว ไป (โดยเฉพาะคนในชนบทหรือคนที่ต้องทำงานในที่กลางแจ้ง) การได้พักผ่อนนอนหลับ ในช่วงกลางวันบ้าง จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพไม่น้อยเลย ผู้ที่ทำงานในที่ทำงาน จะนอนหลบกลางวันไม่สะดวก อาจใช้วิธีนั่ง พิงพนักตัวตรง หลบตา สงบนิ่งๆ ในช่วงกลางวันก็เป็นการพักผ่อนที่ดีแต่สำหรับผู้ที่สถานทีอำนวยที่จะนอนหลับ ช่วงกลางวันนั้น ท่าที่นอนควร เป็นท่านอนราบ หรือนอนตะแคง ห้ามนอนคว่ำ หรือ นอนฟุบบนโต๊ะทำงาน เพราะจะกดท้อง กดทรวงอก กระทบการหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อไม่คลายตัว จึงผ่อนคลายไม่เต็มที่


5. บุคคล ๓ ประเภทที่ต้องระวัง ให้มาก

5.1 คนสูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอ (คนสูงอายุมักมีระบบย่อยไม่ดี และความร้อนในร่างกาย จะถดถอย เนื่องจากไตเสื่อมตามสภาพ),

5.2 คนที่มีสภาพของม้ามพร่อง (มีอาการการย่อยอาหาร และการดูดซึมไม่ดี ท้องอืดง่าย),

5.3 คนที่มีสภาพของไตหยางพร่อง (มีอาการขี้หนาว แขนขาเย็น ลิ้นบวม และสีซีดขาว) ผู้ที่มีลักษณะทั้ ๓ อย่างดังกล่าว เมื่อได้รับความร้อนจากแดดร้อน ถ้าดื่มน้ำเย็นหรือกนิ อาหารที่มีความเย็นมากเกนิ ไป จะทำให้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ผิดปกติได้ และเกิดความชื้นสะสมในร่างกาย อาการที่แสดงออก คือ ท้องเสีย ติดเชื้อง่าย ขี้หนาว ปวดหัว ตัว
ร้อนแต่ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ปวดข้อ และปวดตามกล้ามเนื้อ มักตรวจ พบว่า มี ฝ้าสีขาวบนลิ้น คิดว่า ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ คงทำให้ทุกคนผ่านพ้นหน้าร้อนปีนี้และทุกๆ ปีไปอย่างสุขกาย สุขใจ ไร้ปัญหานะค่ะ
 

6. ลักษณะธรรมชาติของความร้อน (ร้อนแดด)

๑. มีลักษณะเป็นปัจจัยด้านหยาง (กระตุ้นการทำงานของร่างกาย) ดังนั้น เมื่อกระทบร่างกายจะแสดงออกไปทางด้านที่แกร่ง เช่น หัวใจเต้นแรงเร็ว หน้าแดง ร้อนหงุดหงิด

๒. มีลักษณะกระจายตัวขึ้นส่วนบนของร่าง กาย ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกาย เช่น ทำให้รูขุมขนเปิด มีการระบายเหงื่อ (ช่วยระบายความร้อน = แพทย์แผนตะวันตก) จึงทำให้คอแห้งกระหายน้ำ ปัสสาวะเข้ม ปริมาณน้อย การสูญเสียสารน้ำ จะทำให้สูญเสียพลังไปด้วยเพราะฉะนั้น ในคนที่ร่างกายอ่อนแอ (พลังพร่อง) อาจทำให้เป็นลมหมดสติได้

๓. มีลักษณะอมความชื้น บางครั้งในฤดูร้อน อาจจะมีฝนตกร่วมด้วย (โดยเฉพาะตอนปลายฤดูร้อนเข้าต้นฤดูฝน) ซึ่งความชื้นนี้ จะทำให้รู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณท้อง และทรวงอกเพราะไปกระทบระบบการย่อย และดูดซึมสารอาหารของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น