งานวิจัยล่าสุดจากศูนย์มะเร็งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด พบว่า"น้ำ้คั้นของมะระขี้นก (bitter melon) มีผลยับยั้งความสามารถในการใช้กลูโคสของเซลล์มะเร็งตับอ่อน ซึ่งนั่นทำให้เซลล์ถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานและตายไปในที่สุด" งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์สัปดาห์นี้ในวารสาร Carcinogenesis
"เมื่อสามปีก่อนมะระขี้นกได้พิสูจน์ว่าสามารถการฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนในจานเพาะเลี้ยงเท่านั้น แต่ตอนนี้งานได้ก้าวไกลไปกว่านั้นมาก พวกเราใช้นำ้คั้น ซึ่งเราทราบว่าในเอเชียใช้กันมาก พวกเราได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีผลต่อการใช้กลูโคสของเซลล์ ส่งผลให้จำกัดการได้รับพลังงานและฆ่าเซลล์เหล่านั้นในที่สุด" ดอกเตอร์ราเชจ อัครวาล (Rajesh Agrawal, PhD) หัวหน้าทีมร่วมของศูนย์ป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโด และอาจารย์ภาควิชาเภสัชศาสตร์ (Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences) กล่าว
ที่มาของงานวิจัยนี้มาจากการที่ด็อกเตอร์อัครวาล ความสนใจในความเกี่ยวข้องที่ว่าคนเป็นเบาหวานมักมีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งตับอ่อน และจากข้อสังเกตที่ว่ามะระขี้นกมีผลรักษาโรคเบาหวาน เห็นได้จากที่คนจีนและอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน เขาและทีมก็เลยได้ความคิดว่าจะเป็นยังไงถ้าตัดเจ้าโรคเบาหวานที่เป็นตัวเชื่อมกลางออกไปแล้ววิจัยเหตุและผลที่มะระขี้นกและมะเร็งไปเลยทีเดียว
มะระขี้นกสามารถควบคุมการปล่อยสารอินซูลินในเบต้าเซลล์ของตับอ่อน การทดลองโดยให้หนูที่เป็นมะเร็งตับอ่อนกินนำ้คั้นจากมะระขี้นก ผลพบว่าลดการพัฒนาของมะเร็งไปกว่า 60 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับตัวที่ไม่ได้กิน
"เป็นการค้นพบที่่น่าตื่นเต้นมาก" ดอกเตอร์อัครวาลกล่าว "ตอนนี้มีนักวิจัยมากมายที่กำลังออกแบบสังเคราะห์ตัวยาใหม่ๆเพื่อจะฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่นี่เรามีสารจากธรรมชาติที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม"
ทีมวิจัยของดอกเตอร์อัครวาลกำลังขอทุนเพื่อจะทำการศึกษาต่อไปในระดับการป้องกันทางเคมี (chemoprevention) ในโมเดลหนูทดลองสำหรับมะเร็งตับอ่อนต่อไป
ที่มา : oknation.net/by สาระแห่งสุขภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น