เคยสังเกตเล็บของตนเองบ้างไหมว่
า มีสีอย่างไร หากสังเกตดูดีๆ บางคนมีเล็บขนาดสั้น ลักษณะบานแบบกาบหอย บางคนมีเล็บขนาดยาว ลักษณะเรียวแบบกาบอ้อย แล้วยังมีสีเล็บที่หลากหลายต่างกันไปด้วย บ้างมีสีชมพูอ่อน บ้างก็มีเล็บสีเหลือง และบ้างก็มีเล็บสีขาวซีด อาการเล็บป่วย
เล็บอาจเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้ง่าย เช่น เล็บแตก ขอบเล็บลอก
เล็บเปลี่ยนสี เล็บขบ และการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งที่พบบ่อยคือ เชื้อราที่เล็บ
อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าเริ่มเป็นเชื้อราที่เล็บ คือ ปลายเล็บหนาตัวขึ้นและมีผิวขรุขระ เมื่อมีอาการลามมากขึ้นเรื่อยๆ จะเข้าสู่ในเล็บ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดโรคได้ทุกเล็บ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราจากดิน สัตว์เลี้ยงตามบ้าน เช่น สุนัข แมว หรือไก่ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ควรทำความสะอาดเล็บให้ดี หรือป้องกันโดยการสวมถุงมือ
1. ลักษณะเล็บบอกโรค คือบริเวณเล็บที่รูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม มีหลายลักษณะ ได้แก่
- เล็บที่มีรอยบุ๋ม มักพบในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวาง ผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง
- เล็บเป็นร่อง หรือเป็นสันยาว อาจบอกให้ทราบถึงความผิดปกติของไต การเจริญเติบโตที่ชะงักงัน ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วยได้
- เล็บหนา อาจบ่งชี้ว่าระบบหลอดเลือดในร่างกายอ่อนแอ และโลหิตไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ
- เล็บแบน อาจบอกให้ทราบว่ากำลังเป็นโรคมือเย็นเท้าเย็น เพราะการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นไม่เพียงพอ
- เล็บบาง อาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังที่มีอาการคัน
- เล็บกว้างสีเหลี่ยม แสดงว่ามีความผิดปกติของฮอร์โมน
- เล็บเป็นลอนตามขวาง อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายแรง การขาดสารอาหารหรือฮอร์โมนผิดปกติ-เล็บเป็นเส้น หากมีลักษณะเป็นเส้นแดงตามยาวอาจเกิดโรคสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ หรือความดันโลหิตสูง และถ้าเกิดเส้นขาวตามขวางอาจเกิดจากโรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ โรคหัวใจ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอดจ์กินส์ หรือไตวาย
- เล็บรูปกลม เล็บที่ขึ้นตรงแล้วม้วนรอบปลายนิ้วเป็นสัญญาณของโรคปอด โรคลำไส้ หรือโรคหัวใจ
- ปลายเล็บงอน ส่อถึงอาการของโรคเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือตับ และแม้กระทั่งมะเร็งบางอย่างได้
2. สีเล็บบอกโรค คือ สีที่มีลักษณะผิดไปจากสีปกติของเล็บ อาจบอกให้ทราบถึงโรคที่กำลังป่วย ได้แก่
- เล็บสีเขียวคล้ำ อาจกำลังป่วยเป็นโรคหืดรุนแรง โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบ
- เล็บเหลือง อาจบอกถึงอาการของโรคเกี่ยวกับระบบ
ทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด โรควัณโรค หรือโรคหืด โรคตับ โรคไต
หรือต่อมน้ำเหลือง หรือร่างกายขาดวิตามินอี - เล็บสีน้ำเงิน
หากกดบริเวณเล็บแล้วปล่อย เล็บยังคงเป็นสีน้ำเงินซีด
อาจมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินโลหิต
- เล็บสีเทคนิค หากปลายเล็บเป็นสีน้ำตาลชมพู แต่โคนมีสีขาวอาจบอกอาการของโรคไตเสื่อม
- เล็บสีดำ พบในผู้ป่วยโรคลำไส้ผิดปกติ ซึ่งมีจุดดำๆ ตามเนื้อเยื่อของลำไส้ เยื่อบุปาก ริมฝีปาก
- เล็บสีเทา หรือดำคล้ำ พบในคนที่ได้รับยาบางชนิด เช่น Phenolphthalein ในยาระบายและยารักษาโรคมาลาเรีย
- เล็บสีขาว บ่งชี้ถึงความผิดปกติของตับและไตหรือโลหิตจาง และถ้าเป็นสีขาวซีด ควรระวังโรคตับอักเสบเรื้อรัง
3. อาการผิดปกติของเล็บบอกโรค คือลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของเล็บ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ได้แก่
- เล็บเป็นดอกขาว หากมีขึ้นติดต่อกันเป็นแนวตามขวางอาจส่อถึงอันตรายของโรคตับ ร่างกายขาดธาตุสังกะสี หรืออาการถูกสารพิษ เช่น สารหนู
- เล็บล่อน อาจบอกให้รู้ถึงอาการของโรคต่อมไทรอยด์ โรคเรื้อนกวาง หรือการอักเสบจากเชื้อรา
- เล็บขาวซีด อ่อน แบน และบุ๋มเหมือนช้อน มักพบในคนที่เป็นโรคโลหิตจางซึ่งอาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก
- เล็บหนากว้าง โค้งมนตามลักษณะของปลายนิ้วที่โตขึ้น และสีออกม่วงคล้ำ พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับ และโรคท้องเสียเรื้อรัง
- เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก
พบในผู้ป่วยลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ
โรคลักปิดลักเปิด
- โคนเล็บเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีแดง อาจชี้ให้ทราบว่ามีปัญหาของหัวใจ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ (pale blue) อาจได้รับพิษจากสารเงิน หรือมีปัญหาที่ปอด
- เล็บที่ขึ้นหลุดจากฐานเล็บ พร้อมกับมีจุดขาวปลายเล็บ บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพองหรือหลอดลมอักเสบ
4. เล็บบอกอาการขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารอาจแสดงออกมาให้เห็นจากเล็บ ได้แก่
- เล็บมีสีซีด บางลง เปราะ เป็นสัน ทำให้ฉีกขาดและบิ่นง่าย คืออาการของคนที่ขาดธาตุเหล็ก
- เล็บสีซีดขาว อาจขาดโปรตีนอย่างรุนแรง
- เล็บฉีกลอกเป็นสะเก็ด คือ อาการของคนที่ขาดกรดไลโนลิอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น
วิธีการรักษาเล็บ
เมื่อเล็บมีประโยชน์ต่อเราดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การดูแลรักษาเล็บจึงสำคัญมาก เพราะเป็นการทำให้เล็บมีสุขภาพดี มองดูสวยงามเป็นที่เจริญหูเจริญตาแก่เราเองและผู้พบเห็น
- ตัดเล็บให้มีขนาดสั้นพอประมาณ เพราะการไว้เล็บยาวเกินไปอาจทำให้เล็บเกิดฉีกขาดและเกิดความเจ็บปวด
ควรตัดเล็บทุก 2-3 สัปดาห์ ส่วนจมูกเล็บอาจมีเนื้อแข็ง
ถ้ารำคาญอาจขลิบออกได้บ้าง แต่ถ้าขลิบแล้วเจ็บต้องงดทำ
เพราะจะเกิดเลือดออกและมีการติดเชื้อ
- กรรไกรตัดเล็บควรอยู่ในสภาพที่สะอาด เช็ดแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราวเพื่อฆ่าเชื้อโรคก็จะเป็นการดี ห้ามใช้กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้เป็นโรคติดเชื้อของเล็บ เช่นเชื้อราเล็บ เพราะจะเป็นการกระจายโรคมาสู่เล็บของเรา
- การทำความสะอาดเล็บควรใช้สบู่ทำความสะอาดชนิดเดียวกับที่เราล้างมือ นั่นคือล้างมือก็ล้างเล็บไปด้วย ส่วนซอกเล็บโดยเฉพาะเล็บเท้าอาจมีฝุ่นละอองเข้าไปอัดแน่น จึงควรทำความสะอาดเพิ่มเติมโดยใช้แปรงนิ่มถูเบาๆ ตรงซอกเล็บเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกไป ไม่ควรใช้ตะไบแซกลงในซอกเล็บอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้เล็บแยกออกจากผิวรอบขอบเล็บ และเป็นบ่อเกิดของการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อรากรณีเช่นนี้จะพบในคนที่นิยมทำเล็บตามร้านเสริมสวย และใช้ตะไบเล็บอันเดียวกันในลูกค้าหลายคนโดยไม่ทำความสะอาดตะไบอย่างถูกต้อง ทำให้เชื้อราจากบุคคลหนึ่งติดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ
เล็บของผู้มีสุขภาพแข็งแรง จะผิวเรียบ สีชมพูเล็กน้อยและไม่มีสีสันสะดุดตา บางคนจะนิยมทาเล็บ เพื่อความสวยงาม สีเคลือบเล็บที่ทำให้เกิดความสวยงามแก่เล็บนั้น มีข้อดีคือทำให้เล็บสวยขึ้นเมื่อทาสักระยะหนึ่งก็จะหลุดออก แต่หลุดออกไม่หมด ต้องใช้น้ำยาล้างสีเหล่านั้นออกไป แล้วจึงทาใหม่ สีเคลือบเล็บและน้ำยาล้างเล็บ อาจทำให้เล็บมีสีเหลือง หรือเล็บลอกตามตัวออกจากฐานเล็บ ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรหยุดทาเล็บ อาการต่างๆ จะหายไปใน 3-6 เดือน เมื่อทาอีกก็จะเกิดอาการดังกล่าวอีกครั้งและอาจรุนแรงกว่าเดิม เพราะอาการแพ้ยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูล : healththai.com / นิตยสารใกล้หมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น