วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (ไฮโปไกลซีเมีย)

          โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่ว่านี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตแบบผิด ๆ โดยเรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า Chronic fatigue syndrome (CFS) หรืออาจจะเรียกว่า โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ไร้เรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน

              การบริโภคอาหารจำพวกแป้งขัดขาว น้ำตาล อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม พิซซ่า หรือขนมหวานมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทีนี้ ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลง พอระดับน้ำตาลลดลงไม่เท่าไหร่ เราเกิดรับประทานอาหารจำพวกนี้เข้าไปอีก น้ำตาลในเลือดก็สูงขึ้นมาอีกแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาลดน้ำตาลอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแล้วลงต่ำสลับกันไปตลอดเวลา ซึ่งเท่ากับว่า ตับอ่อนก็ต้องทำงานตลอดเวลา

               นอกจากนั้นแล้ว ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมอันเป็นพิษ ความเครียด ความรีบเร่ง ความยุ่งเหยิงในการดำเนินชีวิตที่ต้อง แข่งขันกับเวลา นอนดึก ก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เหนื่อยได้ง่าย ๆ และยิ่งใครทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ยิ่งซ้ำเติมให้เจ็บป่วยหนักขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

อาการอะไรบ่งบอกว่าเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

         1.กลุ่มความผิดปกติทางร่างกาย คือ
              -อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
              -ปวดหัว-เวียนศีรษะ
              -นอนไม่หลับ
              -เหงื่อแตกบ่อย ๆ
              -มือสั่น
              -ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
              -เป็นตะคริวบ่อย
              -เกิดการชักกระตุก
              -คันตามผิวหนัง
              -หน้าร้อนผ่าวบ่อย ๆ
              -มีอาการภูมิแพ้
              -มือเท้าเย็น
              -เนื้อตัวชาบางครั้ง
              -การทรงตัวไม่ดี

       2.กลุ่มความผิดปกติของระบบต่าง ๆ คือ
              -ท้องอืด ท้องเฟ้อ
              -ปากแห้งคอแห้ง
              -เบื่ออาหาร
              -อยากกินของหวาน ๆ
              -หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลากินอาหาร
              -ถ่ายอุจจาระผิดปกติ
              -ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
              -หายใจไม่ค่อยออก
              -ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลก ๆ
              -หัวใจเต้นผิดปกติ
              -เป็นลมบ่อย ๆ
              -อ้วน/น้ำหนักเกิน
              -กามตายด้าน

        3.กลุ่มความผิดปกติทางจิตใจ และระบบประสาท
             -รู้สึกเบื่อหน่าย
             -ฟุ้งซ่านขาดสมาธิ
             -วิตกกังวลโดยง่าย
             -ลังเลตัดสินใจไม่ได้
             -รู้สึกสับสนปั่นป่วน
             -ทนเสียงอึกทึก และแสงจ้า ๆ ไม่ได้
             -เบื่อการพบปะเพื่อนฝูง ไม่ชอบเข้าสังคม
             -การประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเลวลง
             -โมโหง่าย
             -ฝันร้ายบ่อย
             -ความจำเสื่อม
             -มีอาการทางประสาท
             -อยากฆ่าตัวตาย

            อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยต้องมีอาการเหล่านี้พร้อม ๆ กัน บางอาการอาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก โดยมีอาการหลัก ๆ คือ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง ทั้งที่นอนมาหลายชั่วโมงแล้ว แต่กลับไม่รู้สึกสดชื่นเลย อยากนอนตลอดเวลา บางคนนั่งทำงานไปได้ถึงตอนบ่าย ๆ เกิดรู้สึกง่วงเพลียจนอยากหลับเลยทีเดียว

ข้อแนะนำ

          1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยงดเติมน้ำตาลในอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด

          2.ปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมา มาก จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ความเครียด ยังนำไปสู่โรคต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งยังทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลงอีกต่างหาก

          3.ก่อนนอนไม่ควรทานอาหารหนัก ๆ รวมทั้งดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนผสม เพราะจะทำให้หลับยาก ยิ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้

          4.อย่าเปิดไฟเวลานอน และพยายามอย่าให้มีแสงเล็ดลอดเข้าไปในห้องนอน เพราะจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ

          5.ฝึกหายใจ หรือนั่งเงียบ ๆ สัก 5 นาที ก่อนนอน เพื่อผ่อนคลายความเครียด

          6.ออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับใครที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ควรออกกำลังแต่พอควร อย่าหนักมากเกินไป เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ร่างกายทรุดลงไปอีก

          7.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ซึมเศร้า และไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป

          8.ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียด

          9.หากมีอาการเครียดบ่อย ๆ ให้ฝึกทำสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้สงบ

        10.พยายามเข้านอนแต่หัวค่ำ อย่าออกไปเที่ยวกลางคืนบ่อยนัก

        11.ในรายที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาแพทย์ และอาจรับประทานวิตามินบีเสริมเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้า


ที่มา : health.kapook.com/by สาระแห่งสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น