วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีบำรุงและดูแลตับ




พัทธะปิตตะ หรือระบบตับ หมอไทยกล่าวว่า ตับมีหน้าที่ รุ/ ล้าง/ สร้าง/ เสริม/เก็บ หลายสิ่งหลายอย่างเพื่อให้ชีวิตดำเนินอยู่ได้โดยปกติ
       หากกำเริบ(มากไป) หย่อน(น้อยไป) พิการ(ป่วย) ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะสันนิบาต คือเข้าใกล้ถึงชีวิตได้ 

       ตับร้อน/ตับแลบ/ตับติดเชื้อ/
ตับอ่อน/ตับแข็ง/มะเร็งตับ/ไขมันพอกตับ หากดูแลให้ดีก็จะไม่เกิด สามารถทำได้เองดังนี้

               1. ตับชอบของขม เช่น พืชผักรสขม เอามาทำเป็นอาหาร หรือยาขมที่มีขายตามร้านยาทั่วไ
ป ใช้ทานเมื่อรู้สึกร้อนภายใน หรือทานสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เป็นยาหรืออาหารก็ได้ 
                2. ผ่อนร้อนให้ตับบ้าง หมอไทยใช้ยาเขียว หรือ สมุนไพรฟ้าทะลายโจรก็ได้ หรือ น้ำสมุนไพรสีเขียวเช่น น้ำใบบัวบก/น้ำหญ้านาง เป็นต้น แต่ให้ทานเมื่อภายในร้อน หากเย็นแล้วให้หยุด มิฉะนั้นจะส่งผลเสียต่อตับทันที
 
                 3. ไม่กินมัน/ไม่กินทอด/ไม่กินอาหารขยะ กินอาหารไทยที่ผ่านกรรมวิธี ต้ม/ยำ/ตำ/แกง เท่านั้น ตับผลิตน้ำมันอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเพิ่มให้อีก มากเกินไปน้ำมันจะเข้าไปพอกตับ
 
                 4. ทำน้ำกระสายยากล่อมตับดังนี้ 
ส่วนประกอบ 
     
  •   นมผักกระเฉด(ที่เราทิ้งกัน)
  •   ใบบัวบก(แห้ง,สดก็ได้)
  •   รากบัวไทย
  •   ลูกใต้ใบ(มีขายตามห้างทั่วไป)
  •   ใบหญ้านาง
  •  ลูกสมอไทย/ลูกสมอพิเภก/ลูกมะขามป้อม(ตรีผลา)ซึ่งมีขายตามห้าง  
      สัดส่วนมากน้อยแล้วแต่หาได้
วิธีทำ 
         ใส่น้ำมากน้อยแล้วแต่ส่วนประกอบ นำตั้งไฟให้เดือด แล้วลดไฟลง ใส่ส่วนผสมทั้งหมด ต้มต่ออีก30นาที เอากรองแล้วขึ้นไฟใหม่เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน เมื่อเย็นเติมน้ำใบเตยสดคั้น และน้ำมะนาว ได้น้ำกระสายยาเขียวหอม รสเปรี้ยวหวานอร่อย
 
วิธีดื่ม 
         ทานอุ่นวันละ2แก้ว 1 สัปดาห์ แล้วหยุด 1 สัปดาห์ จึงดื่มต่อได้ สลับกันไป
 
             5. เข้ายาม 2 ค่ำ เริ่มสี่ทุ่ม-ตีสอง ตับเริ่มจ่ายกำเดาความร้อนออกมาทำให้เลือดไม่เย็นหนืด จึงเป็นเวลาที่เราควรนอนไม่ใช่ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่เช่นนั้นเราจะหิวแทน ตับก็ต้องส่งน้ำดีออกมาย่อยอาหารอีก ระบบย่อยทำงาน และส่งกลับไขมันไปพอกตับต่อ

             6. เหล้า ยาเคมี ศัตรูตัวร้ายของตับ ทำให้ตับทำงานหนัก กินเมื่อจำเป็น ผ่อนงานตับบ้าง
ตับดูแลได้โดยเจ้าของตับ ไม่ใช่ไปให้คนอื่นล้างตับให้ แล้วล้า
งได้จริงหรือ?
ที่มา: Komson Dinnakorn Na Ayuddhaya

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น